ผู้บริหาร พอช.ดูต้นแบบความร่วมมือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์โควิด-19 ที่ชุมชนคลองเตย


เพิ่มเพื่อน    

อาสาสมัครมูลนิธิดวงประทีปนำอาหารไปแจกผู้ที่กักตัวและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  

 

อาหารแห้งและสิ่งของต่างๆ ที่มีผู้นำมาบริจาคให้แก่วัดสะพานเพื่อช่วยเหลือชาวชุมชนคลองเตย

 

          วันนี้ (20 พฤษภาคม) ระหว่างเวลา 10.00-12.00 น.  นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร  ได้เดินทางมาที่ชุมชนคลองเตย  เขตคลองเตย  กรุงเทพฯ  เพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการช่วยเหลือชาวชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มูลนิธิดวงประทีปและวัดสะพาน   

          ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ชุมชนคลองเตยซึ่งมีชุมชนต่างๆ ตั้งอยู่โดยรอบ  ประมาณ 40 ชุมชน  มีประชากรรวมกันไม่ต่ำกว่า 80,000 คน  มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดรวดเร็วมาก แต่ด้วยประสบการณ์ในการรับมือและช่วยเหลือกันของชาวชุมชนและมูลนิธิดวงประทีปตั้งแต่โควิดรอบแรกในปี 2563  รวมทั้งการเข้ามาช่วยเหลือชุมชนของหน่วยงานต่างๆ ในขณะนี้จึงทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดลดความรุนแรงลง

          นางประทีป  อึ้งทรงธรรม  ฮาตะ  ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป  กล่าวว่า  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในชุมชนคลองเตยในช่วงแรกเมื่อประมาณ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา  มีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วมาก  จากเริ่มต้นมีผู้ติดเชื้อไม่กี่คน  กลายเป็นหลักสิบ  และหลักร้อย  และตัวเลขทางการในขณะนี้มีผู้ที่ติดเชื้อประมาณ 1,400 คน  

          แต่อย่างไรก็ตาม  สถานการณ์ในช่วงนี้เริ่มดีขึ้น  โดยเมื่อ 3-4 วันที่ผ่านมา  บางชุมชนแทบจะไม่มีผู้ที่ติดเชื้อเลย  แต่ที่น่ากังวลคือ  ตลาดสด  ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่คลองเตย  แต่เป็นตลาดสดทั่วไป  หลายแห่ง  เพราะเป็นแหล่งจับจ่ายใช้สอย  มีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย  โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติในตลาดที่ไม่ได้รับการดูแล  อยู่อาศัยในห้องเช่าเล็กๆ  ไม่มีการตรวจหาเชื้อ  ไม่ได้ฉีดวัคซีน  หรือมีก็น้อยมาก  รวมทั้งแรงงานก่อสร้างด้วย

 

ครูประทีป (ยืนกลาง) และคณะผู้บริหาร พอช.

 

          ดังนั้นการดูแลเรื่องสุขภาพควรจะดูแลทุกคน  ไม่เฉพาะคนไทย  คนทุกคนที่อยู่ในเมืองไทยจะต้องได้รับการดูแลในเรื่องสุขภาพให้เสมอกัน   เพราะอยู่ในสังคมเดียวกัน  เพราะหากไม่ได้รับการดูแล  โอกาสที่เชื้อมันจะแพร่กระจายไปได้ง่าย  โดยหน่วยงานต่างๆ จะต้องมาร่วมมือกันทำงานด้วยความรวดเร็ว

          “ในกรุงเทพฯ มีงบประมาณของ สปสช. (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ประมาณ 1,800 ล้านบาท  ดังนั้นควรจะเอาเงินจำนวนนี้มาขับเคลื่อน  เพื่อช่วยเหลือชาวชุมชนที่เดือดร้อน  เช่น  คนที่ป่วย  คนที่ได้รับผลกระทบ  คนตกงาน ซึ่งมีมากมาย  ดังนั้นการดูแลเรื่องสุขภาพ  ควรจะครอบคลุมคนเหล่านี้ด้วย  เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  และควรจะมีการปรึกษาหารือกันระหว่าง พอช.  สปสช.  กทม. และสภาองค์กรชุมชน   เพราะ พอช.มีเครือข่ายสภาฯ อยู่ทั่วประเทศ  โดยให้ 4 หน่วยงานนี้มาดูแลประชาชนเพื่อให้มีประสิทธิภาพ”  นางประทีปกล่าว

          พระพิศาลธรรมานุสิฐ เจ้าอาวาสวัดสะพาน  ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนคลองเตย  กล่าวว่า  ตอนแรกคนในชุมชนคลองเตยเริ่มติดเชื้อโควิดกันมากขึ้น  บางคนต้องนอนรออยู่ในรถยนต์เพราะไม่รู้ว่าจะไปหาหมอที่ไหน  อาตมาจึงคิดเรื่องการจัดทำสถานที่พักคอยก่อนส่งผู้ป่วยไปรักษา  โดยใช้อาคารของสำนักงาน ป.ป.ส.ที่ตั้งอยู่ภายในวัดเป็นสถานที่พักคอย  และทำเรื่องขออนุญาตไปทาง กทม.และกรมควบคุมโรคเพื่อขออนุญาตอย่างถูกต้อง  

 

เจ้าอาวาสวัดสะพาน

 

          นอกจากนี้ยังมีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนต่างๆ  ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนเขตคลองเตยกับทางวัด  เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกัน  เช่น  เมื่อชาวบ้านไปตรวจหาเชื้อ  หากพบว่ามีผู้ติดเชื้ออยู่ในชุมชนใดให้ประธานชุมชนแจ้งข้อมูลผู้ที่ติดเชื้อไปที่สำนักงานเขตและทางวัด  จากนั้นทางวัดจะนำรถยนต์ไปรับผู้ที่ติดเชื้อเข้ามาพักที่สถานพักคอยในวัด (ใช้อาคารสำนักงาน ป.ป.ส.)  โดยทางวัดได้จัดเตรียมที่พักและอาหารเอาไว้ให้ 

          หลังจากนั้นทางสำนักงานเขตจะมาตรวจสอบว่าผู้ติดเชื้ออยู่ในขั้นไหน  เช่น  หากติดเชื้อรุนแรง  หรือมีสถานะสีแดง จะรีบส่งตัวไปที่โรงพยาบาลที่มีเตียงว่าง  ติดเชื้อระดับปานกลางหรือสีเหลืองอาจส่งไปที่โรงพยาบาลสนาม  หรือติดเชื้อแต่ยังไม่รุนแรงก็อาจส่งไปโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีบัตรทองเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น

 

สถานที่พักคอย  ใช้อาคารของสำนักงาน ป.ป.ส.ที่ตั้งอยู่ในวัดสะพาน

 

          เจ้าอาวาสวัดสะพานกล่าวด้วยว่า  ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้ออยู่ในสถานที่พักคอยประมาณ 20 ราย  ลดจากเดิมที่เคยมีจำนวนสูงสุดถึง 80 ราย  นอกจากนี้วัดยังทำอาหารแจกจ่ายให้ประชาชนในชุมชนประมาณวันละ 4,000-5,000 กล่อง  โดยมีทั้งอาสาสมัครชาวชุมชนและพระมาช่วยกันทำ  เน้นแจกให้กับผู้ป่วย  ผู้ที่ต้องกักตัวสังเกตอาการ  คนตกงาน  ฯลฯ  โดยมีผู้มาบริจาคข้าวสารและอาหารสดต่างๆ  และวัดใช้งบประมาณทำอาหารอีกประมาณวันละ 20,000 บาท  รวมทั้งสภาองค์กรชุมชนเขตคลองเตยได้นำเงินจากโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ พอช.มาบริจาคให้แก่วัดและชุมชนจำนวน 80,000 บาทด้วย

          นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผอ.พอช.   กล่าวว่า  วันนี้มาดูเพื่อเรียนรู้การจัดระบบดูแลโควิด-19 ของวัดสะพาน  ซึ่งเริ่มแรกมาจากบทบาทของชุมชน  เพื่อดูแลช่วยเหลือกัน  เพราะชุมชนจะรู้ดีว่าใครเป็นใคร  เมื่อรู้ว่าใครติดเชื้อผู้นำชุมชนก็จะประสานงานมายังวัดสะพานเพื่อส่งตัวผู้ที่ติดเชื้อมารอดูอาการ  มีอาหารให้ผู้ที่พักคอย 

          “บทบาทที่สำคัญคือวัดเข้ามามีบทบาทวางระบบการทำงานร่วมกันกับชุมชนและเครือข่ายต่างๆ ในเขตคลองเตย  เพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงสถานการณ์โควิด  และ พอช.จะแนะนำให้ชุมชนและสภาองค์กรชุมชนในพื้นที่ต่างๆ มาศึกษาดูงานที่นี่  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์โควิดที่อาจจะรุนแรงขึ้น”  นายสมชาติกล่าว

          นายสมชาติกล่าวด้วยว่า  ขณะนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยนายจุติ  ไกรฤกษ์  รมว.พม. มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ของ พม. เข้าถึงกลุ่มเปราะบางให้เร็วที่สุด  โดยขณะนี้มีโครงการ ‘เรามีเรา’ เพื่อช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางในกรุงเทพฯ  50 เขต โดยการแจกถุงยังชีพให้แก่ประชาชน  ซึ่งเริ่มจัดกิจกรรม Kick off ไปแล้วเมื่อวานนี้ (19 พ.ค.)  รวม 8 เขต  และจะเริ่มต่อไปจนครบ 50 เขตในเร็วๆนี้   และนอกจากจะดูแลผู้ได้รับผลกระทบแล้วจะต้องมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวง พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหนุนเสริมชุมชน  เช่น  ที่ชุมชนคลองเตย ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการช่วยเหลือชุมชนและกลุ่มเปราะบางได้เร็วขึ้น 

 

กิจกรรม ‘เรามีเรา’ ที่ชุมชนในเขตวังทองหลาง  กรุงเทพฯ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"