กกต.เรียกพรรคใหม่ ติวเข้มแนวทางดำเนินกิจกรรมการเมืองโดยไม่ขัดกฎหมาย


เพิ่มเพื่อน    

2 พ.ย.61 - ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายแสวง บุญมี รองเลขาธิการกกต. ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมให้แก่พรรคการเมืองจัดตั้งใหม่ แบ่งเป็นช่วงเช้าพรรคสยามพัฒนา พรรคพรรคพลังไทยรักไทย พรรคพลังชาติไทย และพรรคประชาชาติ และช่วงบ่าย พรรคไทยธรรม พรรคเพื่อคนไทย พรรคพลังปวงชนไทย พรรคพลังรวมประชาชาติไทย

นายแสวง กล่าวว่า เมื่อท่านได้รับการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองแล้ว ให้รับสมัครสมาชิกได้ทันที โดยผู้ร่วมจัดตั้งพรรค 500 คน จะถือว่ามีสมาชิกภาพเป็นสมาชิกพรรค เรื่องหาสมาชิก 100 คน ขอแนะนำให้แต่ละพรรคเผื่อจำนวน ป้องกันกรณีสมาชิกซ้ำซ้อนกับพรรคอื่น ซึ่งจะมีผลให้เสียทั้ง 2 พรรค จะถูกตีความว่าหาสมาชิกชอบหรือไม่   กรณีกองทุนเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในปีงบประมาณ 62 วันที่1 ม.ค.-31 ธค. 62 ซึ่งกกต.ได้จัดสรรรูปแบบใหม่ จะได้เท่าไรขึ้นอยู่กับเกณฑ์ตามกฎหมาย โดยกกต.ได้รับงบประมาณ 130 ล้านบาท สามารถจัดสรรให้พรรคการเมืองได้ 117. ล้านบาท คาดว่าจะโอนเงินอุดหนุนให้พรรคการเมืองได้ในช่วงต้นปี 62. แต่ขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาคำนวณเงินอุดหนุน หากมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ. 62 อาจนำข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย.61 หรือ 31 ธ.ค.61  แต่หากใช้ข้อมูลวันที่ 31 ธ.ค.61 อาจมีความล่าช่าในการส่งเงินอุดหนุนได้ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้จ่ายเงินอุดหนุนเพื่อสมทบกับเงินค่าบำรุงที่แต่ละพรรคเก็บได้ และจำนวนสาขาพรรค เมื่อได้รับเงินไปแล้วสามารถนำใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ซึ่งกฎหมายค่อนข้างกว้างสามารถนำไปใช้ในการหาเสียงได้ โดยต้องทำเอกสารรายงาน กกต. ส่วนพรรคการเมืองเก่าจะมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนที่มาจากเงินบริจาคจากภาษีด้วย

“ขณะนี้คำสั่งคสช.ฉบับที่ 13 ยังมีผลบังคับใช้ ก่อนที่พรรคจะดำเนินกิจการใดๆต้องแจ้งกกต.ก่อนดำเนินกิจกรรม 5 วัน เช่น การประชุมเลือกกรรมการบริหารพรรคจะต้องมาจากที่ประชุมใหญ่ หลายพรรคกรรมการบริหารลาออก หรือมีการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับพรรค อย่างไรก็ตาม เมื่อเป็นพรรคการเมืองแล้วต้องดำเนินกิจการทางการเมืองตาม ม.23 ของพรรคการเมือง อย่างน้อยปีละ 1 อย่าง ในส่วนของกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องประกอบด้วย กรรมการบริหาร 7 คน สมาชิกพรรค 4 คน รวม 11 คน เนื่องจากเจตนา คสช. มองว่า หลังปลดล็อค พรรคการเมืองอาจตั้งสาขาไม่ทัน จึงเขียนกฎหมายให้รับฟังจากตัวบุคคล เช่น ผู้แทนสาขา ตัวแทนหรือสมาชิกพรรคการเมืองประจำจังหวัด. คำสั่งคสช.ที่ 13 จึงเป็นไพรมารี่แบบย่อ หรือมินิไพรมารี่ ความหมายคือต้องตั้งตัวแทนหรือสาขาพรรคเพื่อฟังความเห็น ซึ่งกฎหมายของเก่าพรรคจะต้องจัดประชุม แต่กฎหมายใหม่ไม่ต้องประชุมแค่รับฟังเท่านั้น”นายแสวงกล่าว

นายแสวง กล่าวอีกว่า การตั้งสาขาพรรค ต้องมีสมาชิกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบไม่น้อยกว่า 500 คนขึ้นไป และบุคคลนั้นต้องมีภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร ส่วนตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด จะต้องอยู่ในพื้นที่และต้องมีจำนวน 101 คนขึ้นไป ทั้งนี้ กฎหมายมีความสลับซับซ้อน แนะนำให้พรรคมีนิติกรอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ประสานกับกกต. เพราะกฎหมายหลาย 10 มาตรา มีโทษตั้งแต่ใบแดงถึงใบดำ เปลี่ยนค่าปรับทางปกครอง เป็นค่าปรับทางอาญา

รองเลขาธิการกกต.กล่าวต่อว่า กรณีการรับบริจาค กฎหมายกำหนดห้ามบริจาคเกิน 10 ล้านบาทต่อรายต่อปี ขณะนี้รับบริจาคได้เฉพาะกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น เงินของพรรคการเมืองก่อนการปลดล็อกจะมาจากทุนประเดิม กองทุนพัฒนาพรรคการเมืองหรือค่าสมาชิกเท่านั้น. หากต้องการรับบริจาคจากบุคคลภายนอก สามารถใช้คำสั่งคสช.ที่ 53 ข้อ 4 ขออนุญาตได้ เช่น ขายสินค้าที่ระลึกระดมทุน ส่วนการระดมทุนในรูปแบบจัดทอล์คโชว์ ขายโต๊ะ ยังทำไม่ได้เพราะอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยซึ่งจะขัดคำสั่งคสช.อีก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"