ปูดไขก๊อกหนีแจงบัญชี!


เพิ่มเพื่อน    


     ป.ป.ช.เอฟเฟ็กต์ สมชัยโวยป่วนระบบการศึกษาของรัฐแน่ หลังให้นายกสภาและกรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน เชื่อมี กก.สภามหา’ลัยเกินครึ่งยื่นออกก่อนสิ้นเดือนนี้แน่ เหตุรำคาญ ทั้งที่ปวารณาตัวเสียสละ เผยมีสถาบันเกินครึ่งร้อยที่ต้องแจ้ง ไม่นับรวมบิ๊กทหาร-ตำรวจอีกหลายเก้าอี้ 
     นายสมชัย ศรีสุทธิยากร รักษาการแทนคณบดี  สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ได้ออกประกาศและระเบียบจำนวน 6 ฉบับ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2561 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธ.ค. ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่ง ภริยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ในหัวข้อ “ความวุ่นวายที่กำลังจะเกิดกับสถาบันการศึกษาของรัฐ”
     โดยนายสมชัยระบุว่า ประกาศ ป.ป.ช.เรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางตำแหน่งต้องแจ้งทรัพย์สินแก่ ป.ป.ช.ที่ออกมา ได้ครอบคลุมตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยด้วย นอกจากตำแหน่งอธิการบดีและตำแหน่งรองอธิการบดีที่เคยต้องแจ้งมาในอดีต จนเป็นเหตุให้รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรัฐบางแห่งประกาศลาออกยกทีม จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีอะไรไม่โปร่งใสหรือไรจึงต้องลาออก ทั้งๆ ที่เหตุผลที่แท้คือ รำคาญที่ทำงานเสียสละให้มหาวิทยาลัยแล้วยังต้องมาแจ้งทรัพย์สิน ประกาศต่อสาธารณะ แจ้งไม่ครบหรือเผอเรอยังอาจเจอคดีอาญา       
     นายสมชัยโพสต์ต่อมาว่า ประกาศคราวนี้ครอบคลุมกว้างไปถึงนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งในเชิงนโยบาย กำกับการทำงานของอธิการบดีอีกทีหนึ่ง ความเหมาะสมของเรื่องดังกล่าว คือ สามารถไปบอกชาวโลกได้ว่าประเทศเราโปร่งใส แม้ตำแหน่งที่ไม่ใช่บริหารแค่กำกับนโยบาย เรายังบังคับให้แจ้งทรัพย์สิน ดูดีที่จะไปสื่อสารกับชาวโลก แต่รู้ไหมว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งคือผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นเลยจากการทำงานประจำ บางท่านสูงอายุ แต่ยังมากด้วยประสบการณ์ และปรารถนาช่วยเหลือสร้างความเจริญให้แก่มหาวิทยาลัย จึงปวารณาตัวเข้ามาเป็นกรรมการสภาด้วยเบี้ยประชุมไม่กี่พันบาท ไม่มีสิทธิพิเศษอะไร ไม่มีทีมงาน ไม่มีเลขาฯ ส่วนตัวที่จะมานั่งกรอกรายการบัญชีทรัพย์สินไม่ว่าจะมากหรือจะน้อย แถมยังต้องประกาศต่อสาธารณะว่ามีทรัพย์สินเท่าไร ไม่ว่าจะน้อยหรือจะมาก ก็คงไม่อยากประกาศให้โลกรู้ หากแจ้งไม่ครบ เช่น ยืมเพื่อนมาแต่มาโชว์ให้คนอื่นเห็น ก็เป็นเรื่องเป็นราวต้องแก้ตัวกันพัลวันเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยแก่สังคม หรือหากตกหล่นจริงอีก ก็กลายเป็นความคดีอาญาถึงขั้นติดคุกติดตารางได้
     “มีเวลา 30 วันหลังจากประกาศ ป.ป.ช. หากไม่ยื่นก็ต้องลาออก ผมเชื่อว่าวันนี้ใบลาออกของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกินกว่าครึ่งของกรรมการสภาทุกมหาวิทยาลัยคงพิมพ์เสร็จแล้ว เพื่อรอยื่นก่อนสิ้นเดือนนี้ เป็นการลาออกที่มิใช่หนีการตรวจสอบ แต่เพราะรำคาญกับระบบที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่จำเป็น มหาวิทยาลัยรัฐทุกแห่งจะมีกรรมการสภาเหลือไม่ถึงครึ่ง จะประชุมได้หรือไม่ วาระต่างๆ จะคั่งค้างไปอีกกี่เดือนกว่าจะสรรหาคนใหม่มา เรื่องสำคัญต่างๆ ของมหาวิทยาลัยที่ต้องตัดสินใจโดยสภาจะถูกชะลอออกไปอีกถึงเมื่อใด” นายสมชัยกล่าว
    ทั้งนี้ ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช.เรื่องกำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 ได้กำหนดไว้ในหัวข้อ 7.8.7 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ตั้งแต่นายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัย และอธิการบดี ประกอบด้วย 1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 3.มหามกุฏราชวิทยาลัย 4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 6.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7.มหาวิทยาลัยทักษิณ 8.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 9.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 10.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 11.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 12.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 14.มหาวิทยาลัยบูรพา 15.มหาวิทยาลัยพะเยา 16.มหาวิทยาลัยมหิดล 17.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 18.มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 19.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 20.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 21.มหาวิทยาลัยศิลปากร 22.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 23.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 24.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 25.สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย และ 26.สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
     นอกจากนั้น ในข้อ 7.10.6 ยังกำหนดนายกสภาและกรรมการสภาในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐดังต่อไปนี้ ต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินด้วย คือ 1.มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2.มหาวิทยาลัยนครพนม 3.มหาวิทยาลัยนเรศวร 4.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 5.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6.มหาวิทยาลัย รามคำแหง 7.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 8.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 9.มหาวิทยาลัยราชภัฏตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ 10.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 11.สถาบันการพลศึกษา 12.สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 13.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ 14.สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
     ทั้งนี้ ในประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกำหนดตำแหน่งของเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 พ.ศ.2561 ยังได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของรัฐและในกำกับของรัฐในระดับรองอธิการบดี รองเลขาธิการ และตำแหน่งเทียบเท่าที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วยสำหรับประกาศของ ป.ป.ช.ดังกล่าว นอกจากกระทบสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแล้ว ยังมีส่วนของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์การมหาชนด้วย ซึ่งประกาศ ป.ป.ช.ได้กำหนดให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ (บอร์ด) ขององค์การนั้นๆ รวมทั้งผู้อำนวยการ, ผู้จัดการ และเลขาธิการ ซึ่งมีมากถึง 55 องค์การ
     ส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐเองในระดับกระทรวงต่างๆ ก็ต้องยื่นเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของกระทรวงกลาโหม และกองทัพต่างๆ นั้น นอกจากระดับผู้นำสูงสุดที่ต้องยื่นแล้วยังกำหนดให้ระดับรองๆ ลงมายื่นด้วย โดยมีถึง 78 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นข้าราชการทหารที่มียศระดับ พล.ต., พล.ร.ต. และ พล.อ.ต.ขึ้นไป ยกเว้นแต่ตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย), รองผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก, ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา และผู้อำนวยการการท่าเรือพาณิชย์สัตหีบที่ไม่กำหนดชั้นยศ ขณะที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เอง นอกจากตำแหน่ง ผบ.ตร.แล้ว ยังมีอีก 65 ตำแหน่งที่ต้องยื่นบัญชีตั้งแต่จเรจำรวจแห่งชาติจนถึงระดับผู้บังคับการด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"