11.11 มหกรรมลดราคา


เพิ่มเพื่อน    

     กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปซะแล้ว สำหรับเทศกาลคนโสด 11.11 ที่บรรดาผู้ให้บริการร้านค้าออนไลน์ หรืออี-คอมเมิร์ซ เกือบทุกเจ้าจะต้องแย่งกันทำเทศกาลช็อปแห่งปี ด้วยการทำโปรโมชั่นที่ลดราคาแรงสุด เพื่อเรียกนักช็อปให้หันมาซื้อของผ่านออนไลน์กัน

                แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นวันที่ลดราคาหั่นแหลก แต่หลายคนยังไม่รู้ที่มาของเทศกาลนี้ จากข้อมูลที่ปรากฏมา พบว่าเทศกาลนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 2009 จากความคิดของ Alibaba ที่จะหากิจกรรมในการส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านช่องทางร้านค้าออนไลน์ Tmall หลัง โดยเริ่มต้นจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าอย่างถล่มทลายตั้งแต่เที่ยงคืนเมื่อเข้าสู่วันที่ 11 พ.ย. กินเวลา 24 ชั่วโมง ในปีแรกมีร้านค้าที่เข้าร่วมเทศกาลเพียง 27 ราย และมีสินค้าเพียงไม่กี่รายการเท่านั้น ก่อนที่เทศกาลนี้จะได้รับความนิยมขึ้น และทำให้จำนวนร้านค้าและยอดขายจะเติบโตแบบก้าวกระโดดในปีถัดๆ มา

                โดยเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา เทศกาลช็อปออนไลน์ 11.11 Alibaba สามารถสร้างยอดขายได้สูงถึง 168,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 39% จากปีก่อนที่ขายได้ 120,700 ล้านหยวน และมีมูลค่าสูงเป็น 2 เท่าของเทศกาลขายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐ ทั้ง Black Friday และ Cyber Monday รวมกันในปีที่ผ่านมา

                และในปัจจุบันไม่ใช่มีเพียง Alibaba และบริษัทในเครือ เท่านั้นที่จัดโปรโมชั่น 11.11 แต่อี-คอมเมิร์ซรายใหญ่เจ้าอื่น ก็ยึดธรรมเนียมในวันนี้ด้วยเช่นกัน อย่างในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นลาซาด้า (Lazada) ช้อปปี้ (Shopee) หรือเจดี เซ็นทรัล ก็ยึดเอาวันนี้เป็นวันจัดมหกรรมลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ด้วยเช่นกัน

                สำหรับสถิติปีที่แล้ว เทศกาล 11.11 ของลาซาด้า มีผู้เข้าชมผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของลาซาด้ามากกว่า 10 ล้านครั้งใน 24 ชั่วโมงแรกของมหกรรม มีจำนวนการสั่งซื้อสินค้ามากกว่าช่วงที่ไม่มีแคมเปญสูงถึง 10 เท่า ขณะที่ช้อปปี้เองก็สร้างปรากฏการณ์ทุบสถิติด้วยจำนวนออเดอร์สูงถึง 2.5 ล้านครั้งภายใน 24 ชั่วโมง

                แน่นอนเมื่อผู้ประกอบการทุกเจ้า มุ่งมั่นจัดกิจกรรมโปรโมชั่นคึกคักขนาดนี้ ก็เชื่อว่าเป็นการสร้างดีมานด์ให้กับตลาดอี-คอมเมิร์ซไทยได้ไม่ใช่น้อย และเชื่อว่าจะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจค้าขายออนไลน์ในประเทศอย่างแน่นอน

                เรื่องนี้สอดรับกับข้อมูลของนายไซม่อน แบ๊บติส นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และการเมืองระดับโลกของอีไอยู หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจนิตยสาร เดอะ อีโคโมมิสต์ เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทยยังคงมีการขยายตัวในทิศทางที่ดีต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยให้ความสนใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชันกันมากขึ้น หลังจากประชากรส่วนใหญ่คิดเป็น 50 ล้านคนจากประชากรทั้งหมดของไทยกว่า 70 ล้านคน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

                นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐยังมีนโยบายให้การสนับสนุนผ่านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การออกนโยบายสนับสนุนการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ การออกนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และการเปิดใช้โครงข่ายโทรคมนาคม 5 จี เป็นต้น

                ด้าน นายเจมส์ ตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า จากจำนวนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ความสนใจซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นจากปีก่อนมีสัดส่วนเพียง 10% ปัจจุบันได้ปรับเพิ่มขึ้นมาเป็น 25% ทำให้บริษัทมั่นใจว่าในอีก 2 ปีนับจากนี้สัดส่วนมูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซของไทยต้องเติบโตเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีอยู่ 2% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งหมดอย่างแน่นอน

                จากนี้คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า กระแส 11.11 ปีนี้จะคึกคักแค่ไหน แต่เชื่อว่านักช็อปคนไทยคงตั้งหน้า ตั้งตารอเทศกาลนี้ และรอกดดีล และรับโปรราคาพิเศษกันเพียบแน่นอน.

               ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

               


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"