ธุรกิจหลังปรับค่าแรง


เพิ่มเพื่อน    

    หลังจากภาครัฐประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการเอกชนต้องหาแนวทางรับมือกับต้นทุนของงบจ้างพนักงานมากขึ้น โดยภาคของอุตสาหกรรมค้าปลีก มีเสียงจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย บอกว่า ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น และยังทำให้เกิดปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน โดยประเมินคราวๆ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอาจขาดเงินสดหมุนเวียนเพิ่มขึ้นถึง 18% ต่อปีอีกด้วย
    ทั้งนี้ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าวอาจมีความแตกต่างกันไปตามพื้นฐานของแต่ละบริษัท โดยธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่สามารถจ่ายค่าจ้างแรงงานเกินอัตราขั้นต่ำที่กำหนดไว้ อาจยังไม่ได้รับผลกระทบในระยะแรก เนื่องจากสามารถบริหารต้นทุนได้ แม้ว่าค่าจ้างแรงงานจะมีการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ประมาณ 2% ก็ตาม
    มาดูกันว่าความเปลี่ยนแปลงหลังจากปรับขึ้นค่าแรงแล้วธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างไร จากเดิมอัตราค่าจ้างแรงงานพื้นฐานของธุรกิจค่าปลีกเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ  6-9% ต่อยอดขาย แต่ตามข้อกำหนดใหม่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกมีค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอีก 2% บวกกับเงินสมทบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น 10.0% และเงินกองทุนทดแทนที่เพิ่มขึ้นอีก 1.83% รวมอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 11.83% ซึ่งจะส่งผลให้อัตราค่าจ้างพนักงานพื้นฐานใหม่กลายเป็น 7.09%-10.64% ต่อยอดขาย หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 1.68%-2.25% ของยอดขาย
    จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นผู้ประกอบการต้องมียอดขายเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 8.61%-13.33% เพื่อที่จะมีกำไรไปจ่ายค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น ยังไม่นับรวมถึงจำนวนพนักงานปัจจุบัน  พนักงานพาร์ตไทม์ พนักงานเอาต์ซอร์ส แม่บ้าน พนักงานรักษาความปลอดภัย และพนักงานซับคอนแทรคอื่นๆ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10%-15% ของพนักงานประจำทั้งหมด มองว่าพนักงานกลุ่มนี้ก็มีแนวโน้มที่จะทำเรื่องเจรจาขอปรับเพิ่มค่าแรงด้วยเช่นกัน
    ด้านผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว มีความเห็นว่า การปรับขึ้นค่าแรงอาจไม่ได้กระทบกับบริษัทมากนัก แต่ก็มีบ้างที่ไกด์มีพูดว่าต้องการเพิ่ม ต้องรอดูสักพัก ถ้ามีคนโหมกระแสเรียกร้องก็คงมีผล ส่วนพนักงานประจำไม่มีปัญหา จะมีก็แต่พวก freelance หรือกึ่ง freelance ที่ทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มต่อธุรกิจ ส่งผลให้ของขายแพงขึ้น ถ้าตลาดรับไม่ได้ ก็ต้องกลับมาที่ดุลยภาพเดิมด้วยการตัดต้นทุนบางอย่าง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพทัวร์ เพราะโดยทั่วไปตลาดยังหาแต่ของถูก ถ้าเพิ่มต้นทุน บางธุรกิจอาจต้องลดต้นทุนอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งราคาที่ขายได้ แต่บริษัทอาจทำไม่ได้ เพราะเรามีมาตรฐานค้ำคออยู่
    หลักๆ ก็คงเป็นเรื่องต้นทุนคนเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทำทัวร์ต้องปรับกลยุทธ์ต้นทุนใหม่ ซึ่งความจริงส่วนตัวเห็นว่า รัฐยังไม่ควรขึ้นตอนนี้ เพราะว่าตลาดยังไม่พร้อม เห็นได้จากจีดีพีที่ผ่านมา หลักๆ มาจาก Export & Tourism ยังไม่ไปลงพวก Construction ที่ใช้แรงงานรายวันมากๆ เลย  ทำให้เห็นว่ายังไม่มีความเติบโต ดังนั้น ผู้บริโภคก็ไม่พร้อมที่จะจ่ายแพงขึ้น ผู้ประกอบการก็ต้องบริหารต้นทุนใหม่ให้สอดคล้องกับตลาด ไปๆ มาๆ สภาพตลาดและราคามันก็กลับมาสู่ดุลยภาพ พวกค่าจ้างสูง คนว่างงานมาก คนก็ลดค่าตัวเอง
    แต่หากถามว่าต้นทุนการจ้างพนักงานคิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของการดำเนินธุรกิจ ก็คงขึ้นอยู่กับขนาดเล็กหรือใหญ่ไม่เท่ากัน บริษัทอาจสูงกว่าเพราะคนเยอะและแยกเป็นหลายฝ่าย ส่วนเล็กๆ ทำในครอบครัว มีคนช่วยบ้าง ก็จ้างคนน้อย แต่ทำทุกอย่างก็คงได้ เพราะสนใจแค่ขายของได้ไหม  ซึ่งช่วงนี้ราคาขายต้องต่ำ เขาก็จะไปกดตรงอื่น ตามหลักที่ดีคือขึ้นค่าแรง ธุรกิจขึ้นราคาขาย ผู้บริโภคพร้อมซื้อของที่แพงขึ้น แต่ตอนนี้เศรษฐกิจยังกระจุกตัว ค่าแรงขึ้น ราคาขายขึ้นไม่ได้ มีแต่ลง ลูกค้าหาแต่ของถูกก็ลำบาก สุดท้ายมันจะไปกระทบคุณภาพ อีกอย่างแรงงานที่ค่าแรงขึ้น ไม่ใช่เพราะมี skill มากขึ้น ยังมีเท่าเดิม ผู้ประกอบการก็จะหนีจากตลาดแรงงานใช้คนน้อยลง
    ส่วนธุรกิจร้านอาหาร ผู้บริหารซานตาเฟ่ สเต๊ก บอกว่า ค่าแรงพนักงานคิดเป็น 23% ของการดำเนินธุรกิจ วัตถุดิบ 40% ค่าเช่าพื้นที่กว่า 20% และอื่นๆ อีก 5% เมื่อมีการปรับขึ้นค่าแรงก็ต้องปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้อง โดยปกติมีพนักงานรวมกันทั้งของบริษัทและแฟรนไชส์ประมาณ 3,000 คน ค่าใช้จ่าย 20 ล้านบาทต่อเดือน การปรับขึ้นค่าแรงมีผลกระทบต่อต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก 5% หรือคิดเป็น 1 ล้านบาทต่อเดือนที่ต้องจ่ายเพิ่ม
    ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ผู้บริหารมองว่า เอสเอ็มอีจะสามารถปรับตัวได้ในเรื่องต้นทุนค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะเท่าที่ได้สัมผัสส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัว และมีระบบเครือข่าย ซื้อวัตถุดิบจากเกษตรกรหรือมีแหล่งวัตถุดิบโดยตรง จึงคาดว่าผลกระทบต่อเอสเอ็มอีไม่มากนัก ขณะเดียวกันภาครัฐก็มีมาตรการลดหย่อนภาษีช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อไม่ต้องแบกรับต้นทุนที่สูงเกินไป.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"