เชื่อม3สนามบินเชื่อมอีอีซี


เพิ่มเพื่อน    

    รัฐบาลเร่งผลักดันอีอีซี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและการก้าวพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ดังนั้นเพื่อให้เกิดการจูงใจลงทุนของภาคเอกชนนอกจากในด้านสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจการลงทุนแล้วในด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ก็ต้องมีความพร้อมเพื่อรองรับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟ และการคมนาคม ซึ่งขณะนี้นอกจากการพัฒนาโครงข่ายถนนให้มีการเชื่อมโยงกันแล้ว สิ่งที่ต้องเร่งรัดคือคือการพัฒนาระบบราง โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อูตะเภา แบบไร้รอยต่อ รวมมูลค่าโครงการกว่า 237,700 ล้านบาท 
    ซึ่งหลังจากเปิดโครงการมาได้รับความสนใจจากเอกชนทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก อาทิ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส กรุ๊ป ซึ่งดำเนินธุรกิจระบบขนส่งมวลชนทางรางอยู่ในปัจจุบัน
    บมจ.ช.การช่าง ซึ่งเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่ในวงการธุรกิจก่อสร้าง ซึ่งก็สนใจเข้าร่วมประมูล โดยอาจจะร่วมกับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM บริษัทลูกที่มีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง ดึงพันธมิตรอย่างโตคิว คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญอสังหาริมทรัพย์และคอมเพล็กซ์เข้าร่วม
    บมจ.ปตท. เองก็ให้ความสนใจ เพราะมีเงินลงทุนพร้อม และด้วยเหตุผลที่ว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อมถึง 3 สนามบิน และมีบางซื่อเป็นศูนย์กลาง โดยมีกระแสข่าวว่าอาจร่วมกับพันธมิตรนักลงทุนญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างและพัฒนาที่ดิน เพื่อต่อยอดกับโครงการสมาร์ทซิตี้ที่บางซื่อ 
     เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี กรุ๊ป ก็จะร่วมกับบริษัท ซิติก คอนสตรัคชั่น จำกัด จากฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป จำกัด ที่เชี่ยวชาญงานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และรถไฟ ซึ่งได้ศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยองมาแล้ว
    รวมถึงกลุ่มทุนจากญี่ปุ่นก็พยายามจะเปิดตลาดรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย หลังจากที่จีนได้สายกรุงเทพฯ-โคราช ซึ่งภาคตะวันออกเป็นฐานธุรกิจของญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว จึงอยากรักษาฐานที่มั่นไว้ หากสำเร็จมีแนวโน้มจะขยายไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีคนญี่ปุ่นอาศัยอยู่จำนวนมาก
    นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทุนจากเยอรมนีและเกาหลีที่ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงด้วยเช่นกัน 
    แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากเปิดขายซองทีโออาร์ พบว่ามีภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศถึง 31 ราย ในจำนวนนี้เป็นเอกชนจากประเทศไทย 14 ราย อาทิ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS), บมจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD), บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)
    บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH), บมจ.ทีพีไอ โพลีน, บมจ.เทอดดำริ, บมจ.เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง, บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา และบริษัท แอล เอ็ม ที สโตน จำกัด นอกจากนี้ยังมีเอกชนจากจีน, มาเลเซีย, ฝรั่งเศส, อิตาลี และเกาหลีใต้ที่ซื้อซอง
    ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดรับซองประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ระยอง วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท วันที่ 12 พ.ย.นี้ พบมีเพียง 2 กลุ่มที่ยื่นซอง ประกอบด้วย กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง BTS, บริษัท (STEC) และบริษัท RATCH ยืนประมูลโครงการก่อสร้าง 
    และกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร กับเครือซีพี ได้แก่ China Railway Construction Corporation Limited, BEM, ITD, CK, Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development, CITIC Group Corporation (จากจีน), China Resources (Holdings) Company Limited, Siemen (จากเยอรมนี) Hyundai (จากเกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (จากอิตาลี) CRRC-Sifang (จากจีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) (จากญี่ปุ่น) เป็นต้น
    เห็นแค่ผู้ร่วมกลุ่มทั้ง 2 กลุ่มก็วางใจเพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญกันทั้งนั้น และคงต้องลุ้นกันต่อไปในช่วงกลางเดือน ม.ค.ปี 2562 ว่าใครจะเป็นผู้ชนะและจะได้ใช้บริการกันเมื่อไหร่.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"