แผนแม่บทเพื่อช่วยเหลือ


เพิ่มเพื่อน    


    การคมนาคมเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เศรษฐกิจประเทศที่เร่งการพัฒนาเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากคำที่เคยมีคนกล่าวว่า เมื่อถนนตัดผ่านแถวไหน แถวนั้นจะเจริญ แต่ปัจจุบันสิ่งที่มาแรงแซงถนนคงหนีไม่พ้นแนวรถไฟฟ้า ที่ไม่ว่าจะวางแผนทำทางผ่านบริเวณไหนของเมือง ย่านนั้นก็จะได้รับการพัฒนาโดยรอบ แต่ถามว่าถนนยังมีความต้องการใช้งานอยู่ไหน คงได้คำตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ถนนคงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการคมนาคมประเทศ
    จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ทำให้ยานพาหนะเป็นส่วนผสมหนึ่งที่ตอบสนองความเจริญที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของบ้านเมือง และเหมือนจะได้รับการตอบรับที่ดีเสมอมา ดูได้จากสถานการณ์รถติด ที่จากเดิมนั้นมีแค่ในกรุงเทพมหานคร แต่พักหลังมานี้หัวเมืองใหญ่ๆ ต่างจังหวัดก็ประสบปัญหารถติดไม่ต่างจากกรุงเทพฯ แล้ว เพราะความต้องการใช้รถของคนเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในไม่กี่ปี 
    แต่ด้วยความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ผนวกกับการพัฒนาที่รวดเร็วจนทำให้บางอย่างก้าวตามไม่ทัน ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มยานพาหนะด้วย ที่ต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา พูดอีกนัยหนึ่งก็คืออุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ที่ถือว่าเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และสำคัญของประเทศ อาจจะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของเทคโนโลยีอนาคต จึงจะต้องมีการพัฒนาให้เข้ากับการหมุนเวียนของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป ก้าวให้ทันทุกสถานการณ์เพื่อไม่ให้เกิดการบดบังจากด้านอื่นๆ เข้ามาทำให้ส่งผลกระทบ
    อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศไทย ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีของประเทศถึง 5% ดังนั้นจึงต้องพัฒนาอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง รองรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในปัจจุบันเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนมาก ซึ่งสามารถทำให้อุตสาหกรรมที่สำคัญระดับโลกอย่างยานยนต์ได้รับผลกระทบตามๆ กันมาด้วย
    อย่างเช่นในปีนี้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ในยุโรปในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2561 ลดลงกว่า 10% และยอดขายรถยนต์ของจีนลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันตั้งแต่เดือน ส.ค.2561 จากที่ขยายตัวมาโดยตลอด 30 ปี ประเทศไทยเองที่ยังมองเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมหลักของไทยในภาวะที่เศรษฐกิจโลกไม่มั่นคงแบบนี้ 
    และเมื่อล่าสุดเห็นว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ร่วมกับสถาบันยานยนต์จัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2562-2566) เพื่อดูแลและให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย โดยเป็นการวางรากฐานให้กับยานยนต์สามารถปรับตัวเข้าสู่โลกแห่งอนาคตได้
    “สำหรับแผนแม่บทฉบับดังกล่าวจะมีการกำหนดทิศทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์ว่าจะไปทิศทางไหน มีแนวทางไปสู่เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างไร วางจุดยืนทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต และวางแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไม่ตกเทรนด์เหมือนกับอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่ปรับตัวไม่ทันกับเทคโนโลยีจอภาพแบบใหม่ จนทำให้อุตสาหกรรมนี้หายไปจากไทยและไปเติบโตในประเทศเพื่อนบ้าน” นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการ สศอ.กล่าว
    ซึ่งแผนดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อนำไปเสนอหน่วยงานรัฐนำไปใช้ประกอบวางแผนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อไป โดยทาง สศอ.คาดว่าแผนดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 และคงจะกำหนดใช้ได้เลยทันทีหลังจากแผนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    นายณัฐพลกล่าวว่า จากการค้าโลกมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง แต่ละประเทศต่างออกมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ต่างก็ออกมาปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศ เช่น ประเทศเวียดนามออกมาตรการกีดกันการนำเข้ารถยนต์จากไทย โดยใน 9 เดือนของปี 2561 ยอดส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามลดลงถึง 27% เมื่อเทียบกับปีก่อน
    โดยในส่วนของหน่วยงานรัฐก็คงมองว่าการออกแบบแผนแม่บท ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีในการดึงดูดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตเข้ามาในไทย เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีมาตรการดึงดูดในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าสูงมาก ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการวิจัยพัฒนาผลิตชิ้นส่วน และรถยนต์ใหม่ๆ และลดต้นทุนการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อีกมาก
    แต่ในส่วนของผู้บริโภคอย่างเราๆ เอง ผลกระทบจากการกระทำหรือโดนกระทำก็อาจจะไม่ส่งผลมาก เพราะปัจจุบันทุกคนมองเพียงแต่ต้องการรถยนต์มาใช้งานเพื่อประโยชน์ของตัวเองเพิ่มขึ้น และหากในอนาคตแผนแม่บทสามารถทำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จริงๆ ก็อดคิดไม่ได้ว่าจะส่งผลให้ราคารถยนต์จะลดลงจากปัจจุบันบ้าง แต่ก็ต้องไม่สร้างปัญหาการจราจรอย่างที่ทุกวันนี้เกิดขึ้นด้วย.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"