รองประธานาธิบดีสหรัฐไล่เบี้ย 'ซูจี' กรณีโรฮีนจา


เพิ่มเพื่อน    

รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ แห่งสหรัฐ ผสมโรงกดดันนางอองซาน ซูจี ระบุขณะพบกันนอกรอบที่สิงคโปร์เมื่อวันพุธว่า ความรุนแรงที่กองทัพเมียนมากระทำต่อชาวโรฮีนจานั้น  "ไม่มีข้อแก้ตัว" และสหรัฐอยากเห็นความคืบหน้าในการลงโทษผู้กระทำผิด

รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ จับมือนางอองซาน ซูจี ระหว่างการประชุมทวิภาคีนอกรอบการประชุมอาเซียนซัมมิตที่สิงคโปร์ เมื่อวันพุธ / AFP

    วันก่อนหน้านี้ นางอองซาน ซูจี มนตรีแห่งรัฐซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลพลเรือนเมียนมาโดยพฤตินัย เพิ่งโดนองค์กรแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลประกาศริบรางวัล "ทูตแห่งมโนธรรมสำนึก" ที่เป็นรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดขององค์กรนี้ โดยอ้างเหตุผลที่นางเพิกเฉยต่อชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮีนจา แล้วจากนั้นนางยังโดนนายกฯ มหาเธร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย วิจารณ์ว่านางซูจีกำลังพยายามปกป้องสิ่งที่ไม่สามารถแก้ต่างได้

    เอเอฟพีรายงานว่า รองประธานาธิบดีเพนซ์และนางซูจีได้พบปะทวิภาคีนอกรอบการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-แปซิฟิกที่สิงคโปร์เมื่อวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2561 ทันทีที่นั่งลงสนทนากัน เพนซ์ได้กล่าวต่อหน้านางซูจี ประณาม "ความรุนแรงและการประหัตประหาร" ชาวโรฮีนจาว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีข้อแก้ตัว จากนั้นเพนซ์ได้ท้าทายผู้นำเมียนมาวัย 73 ปีว่า เขาร้อนใจอยากได้ยินความคืบหน้าเกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำผิด

    สถานการณ์รุนแรงในรัฐยะไข่เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วผลักดันชาวมุสลิมโรฮีนจากกว่า 700,000  คนอพยพข้ามชายแดนเข้าไปลี้ภัยในบังกลาเทศ พร้อมกับคำบอกเล่าถึงการกระทำทารุณโหดร้ายโดยกองทัพเมียนมา ทั้งการเข่นฆ่า ข่มขืน รุมโทรม และวางเพลิงทำลายหมู่บ้านชาวโรฮีนจา

    วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายนนี้ หลังจากล่าช้ามานานและถูกวิจารณ์อย่างหนัก กระบวนการส่งตัวชาวโรฮีนจากลับคืนถิ่นตามข้อตกลงที่เมียนมาลงนามกับบังกลาเทศเมื่อปีที่แล้ว จะเริ่มเดินหน้าด้วยการส่งตัวกลับชุดแรกราว 2,000 คน ถึงแม้จะมีคำเตือนเรื่องความปลอดภัยของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้หากพวกเขาถูกบังคับให้กลับเมียนมา

นายกฯ มหาเธร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย ยืนข้างนางอองซาน ซูจี ระหว่างการถ่ายภาพหมู่ผู้นำก่อนการประชุมอาเซียน-จีนซัมมิตที่สิงคโปร์ เมื่อวันพุธ / AFP

    นอกจากประเด็นโรฮีนจา เพนซ์ยังได้กล่าวถึงกรณีนักข่าวรอยเตอร์ 2 คนที่โดนตัดสินจำคุก 7 ปีฐานทำผิดกฎหมายความลับทางราชการ หลังจากพวกเขาทำรายงานขุดคุ้ยการฆ่าหมู่ชายชาวโรฮีนจา 10 คนระหว่างปฏิบัติการปราบปรามของกองทัพที่รัฐยะไข่เมื่อปีที่แล้ว เพนซ์กล่าวว่าคดีของนักข่าวสร้างความไม่สบายใจอย่างยิ่ง และสหรัฐให้ความสำคัญกับเสรีภาพและอิสรภาพของสื่อเป็นลำดับสูงสุด

    ด้านนางซูจีปฏิเสธเสียงวิจารณ์ของรองประธานาธิบดีสหรัฐ โดยกล่าวว่าแน่นอนว่าแต่ละคนต่างมีมุมมองที่แตกต่างกันไป แต่ประเด็นก็คือควรมีการแลกเปลี่ยนทัศนะกันและพยายามเข้าใจอีกฝ่ายให้มากขึ้น แง่หนึ่งนั้นพวกตนย่อมมีความเข้าใจประเทศของเราดีกว่าคนชาติอื่น และตนมั่นใจว่าเพนซ์ก็จะพูดในแบบเดียวกันว่าเขาเข้าใจประเทศของเขาดีกว่าคนชาติอื่น

    ส่วนกรณีนักข่าวรอยเตอร์ซึ่งรัฐบาลเมียนมามีอำนาจที่จะถอนฟ้อง ซูจีเคยกล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรงเพียงครั้งเดียวเมื่อเดือนกันยายนว่า ทั้งคู่โดนจำคุกตามกระบวนการทางกฎหมายที่ยุติธรรม พวกเขาไม่ได้โดนจำคุกเพราะเป็นนักข่าว แต่เพราะศาลตัดสินว่าพวกเขาทำผิดกฎหมายความลับทางราชการ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"