ธนาคารชุมชมต้องเกิด


เพิ่มเพื่อน    

      เคยได้ยินบ่อยๆ ที่ระบุว่า หากชุมชนมีความเข้มแข็ง ประเทศก็จะมีความเข้มแข็งตามไปด้วย ดังนั้นการสร้างความมั่นคงในชีวิต ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ ปากท้อง ความปลอดภัย สาธารณสุข นั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องใส่ใจและดำเนินการดูแล

        เพราะชุมชมคือฐานรากของประเทศ หากทำได้ดี ประชาชนมีความสุข มีรายได้พอใช้ ไม่มีหนี้สิน และสุขภาพร่างกายแข็งแรง ประเทศก็จะได้ประโยชน์ โดยเฉพาะการยกระดับผลิตผลมวลรวมของประเทศ

        ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ก็เห็นนโยบายที่น่าสนใจของรัฐบาล นั้นการคือการผลักดัน 'พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน' ให้ออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ ซึ่งเรื่องนี้มีการพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะเรื่องของ "ธนาคารชุมชน" ที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายนี้แบบตรงๆ

        ที่ผ่านมาก็มีการนำร่องกันไปบ้าง เป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบบ้าง เป็นธนาคารชุมชมเฉพาะกิจบ้าง แต่การดำเนินการก็ยังมีหลายประการที่ยังติดขัด ดังนั้นการที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เร่งผลักดันออกมาน่าจะเป็นเรื่องดี  โดยล่าสุด นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรี ก็ยืนยันว่า จะเร่งนำร่างกฎหมาย พ.ร.บ.สถาบันการเงินประชาชน กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติ (สนช.) คาดว่าขั้นตอนทั้งหมดจะใช้เวลา 1-2 เดือน และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในรัฐบาลชุดหน้า

        สำหรับเป้าหมายของการออก พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อต้องการให้กองทุนหมู่บ้าน 8 หมื่นแห่ง และกองทุนออมทรัพย์ ต่างๆ อีก 3 หมื่นแห่ง มีเงินออมรวมกันไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท ยกระดับขึ้นจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เบื้องต้นต้องการให้มีสถาบันการเงินชุมชนอย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง ใน 7-8 พันตำบลที่มีอยู่ทั่วประเทศ

        ส่วนกลไกในการกำกับดูแล จะต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการ แต่ตอนนี้ทางธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็เป็นพี่เลี้ยงที่ดูแลอย่างดี ซึ่งก็มีรายงานว่าตอนนี้ทั้งสองธนาคารมีสถาบันการเงินชุมชนรวมกันได้แล้วไม่น้อยกว่า 2 พันแห่ง มีเงินออมรวมกันไม่น้อยกว่า 6 หมื่นล้านบาท คาดว่าภายใน 5 ปีจะสามารถยกระดับสถาบันการเงินชุมชนในพื้นที่เป้าหมายที่สำคัญๆ ได้หมดทั่วประเทศ

        นายกอบศักดิ์ระบุว่า "กฎหมายนี้จะเป็นกฎหมายเปลี่ยนประเทศ เพราะต่อไปชาวบ้านจะสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินชุมชนได้เลยแบบไม่จำกัด ขึ้นอยู่ที่ดุลยพินิจของกรรมการ เพราะรู้จักพื้นฐานคนกู้ดี ต่างจากพิโกไฟแนนซ์ ที่ปล่อยกู้แค่รายละ 1 แสนบาท และคนให้กู้ก็ไม่รู้จักลูกหนี้เท่าที่ควร เท่ากับกฎหมายนี้จะออกมาเพื่อแก้เรื่องหนี้นอกระบบได้อย่างมีประ สิทธิภาพ" 

        มีหลายชุมชนพิสูจน์แล้วว่า การมีธนาคารชุมชนของตัวเองนั้นสร้างความมั่นคง เข้มแข็งให้กับชุมชมของตัวเองมาก เพราะตัดนายทุน คนกลาง คิดดอกเบี้ยโหดออกไป และที่สำคัญการเกิดหนี้เสียก็น้อยมาก เพราะเนื่องด้วยคนที่มากู้ยืมเงินก็เป็นคนในชุมชน ซึ่งรู้จักกันหมด การทวงหนี้ก็ง่าย และคนกู้ยืมก็ไม่อยากเสียเครดิตในท้องที่ที่ตัวเองอยู่อาศัย มันคือ ระบบที่ค่อนข้างที่จะมีความปลอดภัยมากทีเดียว

        แว่วๆ ว่าชุมชมไหนที่สนใจจะยกระดับกองทุนหมู่บ้านของตัวเอง เป็นสถาบันการเงินชุมชน ทางภาครัฐก็จะมีแรงจูงใจให้ยกระดับ เช่น การให้ซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลการฝากเงิน การให้สินเชื่อได้แบบรายวัน โดยจะให้ออมสินกับ ธ.ก.ส.คอยกำกับเพื่อสร้างความโปร่งใส รวมถึงการปล่อยสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ด้วย หน้าที่ของสถาบันการเงินชุมชนจะทำหน้าที่เหมือนเป็นแบงกิ้งเอเยนต์ให้กับธนาคาร แถมยังรับทำธุรกรรม รับเงินฝาก ปล่อยกู้ รับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ โอนเงิน ได้ทุกอย่าง ไม่พอยังอาจจะได้รับสนับสนุนสินเชื่อ เช่น สินเชื่อองค์การการเงินชุมชน ในการทำโครงการของท้องถิ่นด้วย

        ถ้ากฎหมายนี้ออกมาสำเร็จ ก็จะเห็นโฉมใหม่ของประเทศไทยเลยก็ว่าได้.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"