ลุ้นโค้งสุดท้ายขึ้นค่ารถเมล์


เพิ่มเพื่อน    

     มาทวงคำสัญญาจากกรณีเมื่อวันจันทร์ที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางร่วมบริการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) พร้อมสมาชิกประมาณ 200 คน จะเดินทางไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อขอทราบความคืบหน้าการปรับอัตราค่าโดยสารรถร่วมฯ ขสมก. ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการเคยเข้าพบและยื่นหนังสือต่อ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมแล้ว และได้รับปากที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาแต่อย่างใด

    สำหรับข้อเสนอขอปรับค่าโดยสารรถธรรมดาจาก 9 บาท เป็น 12 บาทตลอดสาย, รถปรับอากาศเริ่มต้นที่15 บาท และเพิ่มระยะละ 2 บาท ส่วนรถโดยสารใหม่ที่เข้าสู่การปฏิรูป จัดเก็บค่าโดยสาร 2 ระยะ คือ อัตราที่ 4 กม.แรก เก็บที่ 20 บาท เกินจากนั้นเก็บที่ 25 บาท ซึ่งตามผลการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับสถาบันทีดีอาร์ไอ พบต้นทุนค่าโดยสารเกือบ 28 บาท
    โดยทางด้านตัวแทนผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางและสมาคมพัฒนาธุรกิจรถร่วมเอกชน รวมถึงบรรดาผู้ประกอบการที่ร่วมเดินรถประจำทางกับ ขสมก. ได้รับความเดือดร้อนจากค่าโดยสารที่ไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยเมื่อวันที่ 10 ก.พ.58 ได้พิจารณาปรับค่าโดยสารรถร้อนจาก 8 บาท เป็น 9 บาท รถปรับอากาศปรับขึ้นระยะละ 1 บาทนั้น เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นเฉพาะค่า NGV ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง 
    ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแม้ว่ากระทรวงคมนาคมสั่งให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ศึกษาต้นทุนของรถโดยสาร แต่ถึงขณะนี้ไม่มีความคืบหน้า ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนอย่างต่อเนื่อง และนอกจากค่าโดยสารไม่สะท้อนต้นทุนแท้จริงแล้ว ผู้ประกอบการต้องพบกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเครื่องยนต์จากดีเซลเป็น NGV ตามนโยบายรัฐบาลจากการสิ้นเปลืองอะไหล่, ต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำปรับ 2 ครั้ง อยู่ที่ 325 บาทต่อวัน, ปัญหาการจราจรติดขัด ทำเที่ยววิ่งไม่ได้กระทบรายได้ลดลง, ค่าเช่าอู่ และพื้นที่จอดเพิ่มขึ้น, ค่าใช้จ่ายด้านอุบัติเหตุ ค่าชดเชย ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจ
    นอกจากนี้แล้ว ยังมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 ก.ย.59 เห็นชอบมติ ครม.เมื่อ 11 ม.ค.26 ที่ให้ ขสมก.เป็นผู้ประกอบการเดินรถเพียงรายเดียว ส่งผลให้รถร่วมฯ ขสมก.ต้องไปขึ้นตรงต่อ ขบ.จนถึงวันนี้ ขบ.ยังไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการได้ นโยบายทุกอย่างขาดความชัดเจน กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ส่งผลให้สภาพรถทรุดโทรมเพราผู้ประกอบการขาดรายได้ที่เพียงพอในการปรับปรุงคุณภาพ 
    ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ด้วยเพื่อขอความช่วยเหลือแก้ปัญหาขาดทุนเรื้อรัง ขอเรียกร้องให้เร่งปฏิรูปและกำหนดค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนให้ชัดเจนเพื่อร่วมมือกันยกระดับมาตรฐานบริการรถโดยสารสาธารณะอย่างแท้จริง    
    ส่วนกรณีเรื่องของการบริการประชาชนนั้น ทางผู้ประกอบการได้ชี้แจงว่าทุกวันนี้ต้องขอโทษประชาชน การให้บริการไม่ดี เพราะผู้ประกอบการมีปัญหามากมาย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยินดีให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการปรับปรุงรถใหม่ หากได้รับการอนุมัติปรับค่าโดยสารเร็วเท่าไหร่ก็จะสามารถลงทุนได้เร็วขึ้น
    จะเห็นได้ว่าการบริการสาธารณะบ้านเรามักจะมีปัญหาระหว่างผู้ประกอบการและหน่ายงานของรัฐอันเนื่องจากด้วยข้อสัญญาต่างๆ ที่สุดแล้วผลกระทบทั้งหลายทั้งปวงก็ตกมาที่ประชาชน วันดีคืนดีมีการออกมาประกาศจะหยุดให้บริการ ถือเอาผู้โดยสารเป็นตัวประกัน แบบนี้น้อยนักที่ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาไม่ทำกัน
    โค้งสุดท้ายต้องมาลุ้นกันว่าหลังปีใหม่ประชาชนจะต้องใช้บริการค่าโดยสารราคาใหม่หรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่มีใครตอบได้ หลังจากที่กระทรวงคมนาคมได้อนุมัติในหลักการ แต่ส่งไม้ต่อให้คณะกรรมการขนส่งทางบกกลางไปดูรายละเอียดต้นทุนที่แท้จริงอีกครั้ง ก่อนจะสรุปในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ แต่ที่สุดแล้วจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ คงต้องรอคำสั่งจากผู้ใหญ่ในรัฐบาล ว่าการขอปรับขึ้นค่าโดยสารครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ เพราะถือเป็นจุดอ่อนในช่วงที่มีกระแสข่าวการเลือกตั้ง 
    ในที่สุดหากมีการอนุมัติปรับขึ้นราคาค่าโดยสาร แน่นอนว่าประชาชนส่วนใหญ่คงไม่มีใครเห็นด้วย ครั้งนี้ถือเป็นงานใหญ่ของรัฐบาลว่าที่สุดแล้วจะเอาใจใครระหว่างผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะทุกระบบ หรือประชาชนคนรากหญ้าที่ต้องใช้บริการรถสาธารณะ งานนี้ต้องวัดใจกัน.
 

: กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"