ขนมหวานน้อย-อ่อนนิ่มเคี้ยวง่าย เติมความกระปรี้กระเปร่าผู้สูงวัย


เพิ่มเพื่อน    

(“กล้วยตาก” ขนมหวานไร้น้ำตาลจากรุ่นสู่รุ่นที่ผู้สูงอายุสามารถรับประทานได้)

    เป็นคำถามที่ลูกหลานหลายคนอยากรู้ว่า ผู้สูงวัยสามารถบริโภคขนมได้เหมือนกับคนทั่วไปหรือไม่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน หรือโรคอ้วนลงพุง เพราะอย่าลืมว่าอาหารหวานนั้นถือเป็นแหล่งสร้างพลังงานที่ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แต่กินมากไปก็อาจจะกระตุ้นภาวะของโรคให้เป็นมากยิ่งขึ้น พี่เตี่ยง-มณทิพา กานต์วรัญญู พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.โพธาราม จ.ราชบุรี มาให้ข้อมูลในการเลือกรับประทานเมนูของหวานที่เหมาะกับสุขภาพของคุณตาคุณยาย

(มณทิพา กานต์วรัญญู)

    พยาบาลมณทิพา ให้ข้อมูลว่า “อันที่จริงแล้วผู้สูงอายุสามารถรับประทานขนมได้ ไม่ได้มีข้อห้าม เพียงแต่ว่าข้อจำกัดบางอย่างของคุณตาคุณยายอย่างการใส่ฟันปลอม ดังนั้นขนมที่รับประทานต้องมีลักษณะอ่อนนุ่ม เคี้ยวได้ง่าย ที่สำคัญเลยจะต้องเลี่ยงขนมที่มีความหวานจัดและมันจัดจากกะทิ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีปัญหาโรคหวาน ความดันโลหิตสูง กระทั่งโรคอ้วน ต้องเลี่ยงปัจจัยดังกล่าว ดังนั้นของหวานเมนูไทยๆ ที่คุ้นเคยกันดีและเป็นขนมที่ผู้สูงวัยรับประทานกันมาแต่โบราณ ขอแนะนำ ได้แก่ “กล้วยบวชชีหวานน้อย” หรือ “ถั่วปั่น 5 สี” ที่ประกอบด้วย ถั่วเขียว ถั่วแดง และถั่วเหลือง ฯลฯ จากนั้นใส่น้ำผึ้งเพื่อให้ความหวานเล็กน้อย เหมาะกับผู้สูงวัยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมนูนี้จะคล้ายน้ำปั่น คือมีความเหลวจึงรับประทานง่าย และการบริโภคธัญพืชก็จะช่วยเสริมโปรตีนในร่างกาย ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่เหมาะ ในการให้พลังงานกับคุณตาคุณยายที่เคลื่อนไหวน้อยลง และยังช่วยทำให้การย่อยและขับถ่ายดีขึ้น

(“เมล็ดทานตะวันคั่ว” และ “เกาลัดอบ” ของกินเล่นที่เหมาะกับคนหลัก 5 หลัก 6 เนื่องจากไม่ใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก)

    รองลงมาขอแนะนำเป็นเมนูที่เกี่ยวกับฟักทอง เช่น “ฟักทองนึ่ง” และ “ฟักทองแกงบวด” ซึ่งต้องปรุงให้หวานน้อยเช่นเดียวกัน เพราะฟักทองมีสารเบตาแคโรทีนที่ช่วยบำรุงสายตา และยังช่วยชะลอวัยได้อีกด้วย หรือจะเป็นของหวานแบบไทยอย่างง่ายที่สามารถหาได้ทั่วไปอย่าง “กล้วยตาก” ซึ่งก็ดีต่อสุขภาพคุณตาคุณยาย เพราะมีความหวานจากธรรมชาติ รวมถึง “เมล็ดทานตะวันคั่ว” ก็ดีต่อสุขภาพเช่นกัน เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่สร้างพลังงานให้ร่างกายของคนหลัก 5 หลัก 6 ที่สำคัญยังเป็นของกินเล่นที่อบหรือคั่ว นั่นแปลว่าไม่ใส่น้ำมันและไม่ได้ทอด จึงดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ “เมล็ดเกาลัดอบบรรจุแพ็ก” ก็สามารถรับประทานเป็นของหวานได้เช่นกัน เพราะมีความนิ่มและไม่ใช้น้ำมันในการปรุง ในส่วนของผลไม้อบแห้งที่หวานน้อยอย่าง ลูกเกดอบแห้ง, สับปะรดอบแห้งที่ไม่มีแกน, สตรอว์เบอร์รีอบแห้ง ก็ยังสามารถรับประทานได้เช่นกัน

    สำหรับขนมหวานที่ผู้สูงอายุควรเลี่ยง ได้แก่ เมนู “ข้าวเหนียวแดง” เพราะส่วนใหญ่จะมีรสชาติหวานจัดและแข็งอาจทำให้เคี้ยวไม่ละเอียด ซึ่งจะมีผลต่อการย่อย รวมไปถึง “กะละแม” ที่มีทั้งความหวานและความเหนียวเช่นกัน เมื่อผู้สูงวัยรับประทานอาจติดคอและกระตุ้นโรคเบาหวานได้เช่นกัน รวมไปถึงขนมทอดที่ใช้น้ำมันเยอะอย่าง กล้วยทอด, มันทอด, ไข่นกกระทาทอด ซึ่งไม่เพียงทำให้ภาวะไขมันในร่างกายสูงหากผู้สูงวัยเป็นโรคอ้วนลงพุงอยู่ก่อนแล้ว แต่อาหารหรือของหวานที่มีไขมันสูง จะทำให้ย่อยยากขับถ่ายลำบาก ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะท้องอืดได้ จึงควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด”

(ผู้สูงอายุควรเลี่ยงการบริโภคขนมรสหวานจัด และมีลักษณะเหนียวแข็ง เพราะจะทำให้โรคเบาหวานกำเริบ และทำให้ย่อยยาก เกิดภาวะท้องอืดท้องเฟ้อ)

    ไม่ยากเกินไปใช่ไหมค่ะสำหรับเมนูขนมหวานของผู้สูงวัยที่เน้นหวานน้อย มันน้อย ที่สำคัญเพื่อสุขภาพไม่ควรบริโภคในปริมาณที่เยอะจนเกินไป หรือแค่พอลิ้มรส งานนี้รับรองดีต่อกายและใจของปู่ย่าตายาย...จริงไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"