กยศ.จูงใจชำระหนี้


เพิ่มเพื่อน    


    ยังมีมาตรการออกมากระตุ้นให้ “รุ่นพี่” ที่เป็นผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ออกมาชำระหนี้ เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษารุ่นน้องได้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด กยศ.เองได้มีมาตรการจูงใจให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ ซึ่งมาตรการนี้เป็นแนวคิดที่คณะกรรมการ กยศ.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบมาระยะหนึ่งแล้ว โดย กยศ.เองก็หวังว่ามาตรการจูงใจนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันตัดสินใจชำระปิดบัญชี เพื่อปลดภาระหนี้ของตัวเองได้เร็วขึ้น ซึ่งทาง กยศ.คาดว่าจะมีผู้กู้ยืมที่มาเข้าร่วมมาตรการจูงใจดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 1 แสนราย
    สำหรับมาตรการจูงใจให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้นั้น คือระเบียบที่ทางคณะกรรมการของกองทุนได้พิจารณาออกมา เพื่อให้สิทธิสำหรับกลุ่มผู้กู้ยืมปกติที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นผู้กู้ยืมชั้นดี หรือผู้กู้ยืมที่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ โดยหากมาชำระหนี้ปิดบัญชีก่อนกำหนด จะได้รับการลดหย่อนเงินต้น 3% ณ วันที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป โดยการดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุน กยศ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน ลดหย่อนหนี้ หรือระงับการเรียกให้ชำระหนี้ พ.ศ.2561 ซึ่งระบบจะทำการลดหนี้ให้โดยอัตโนมัติ เมื่อผู้กู้ยืมติดต่อชำระหนี้ปิดบัญชีที่หน้าเคาน์เตอร์ของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์
    ไม่เพียงเท่านี้ คณะกรรมการกองทุน กยศ.ยังได้มีมติอนุมัติมาตรการจูงใจให้ผู้กู้ยืมมาชำระหนี้ปิดบัญชีเพิ่มเติม สำหรับผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ทุกราย โดยจะลดเบี้ยปรับให้ถึง 85% ของเบี้ยปรับ ณ วันที่ชำระหนี้ปิดบัญชี มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 ธ.ค.2561-31 พ.ค.2562 เท่านั้น
    “ชัยณรงค์ กัจฉปานันท์” ผู้จัดการกองทุน กยศ. ระบุว่า มาตรการจูงใจสำหรับผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ทุกราย โดยการละเบี้ยปรับให้ 85% นั้น เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันมีผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจำนวนไม่น้อยมีความต้องการจะปลดภาระหนี้ของตัวเอง แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เนื่องจากมีเบี้ยปรับที่เกิดจากการค้างชำระจำนวนมาก
    ไม่เพียงมาตรการจูงใจต่างๆ ที่ทาง กยศ.ได้ออกมาเพื่อกระตุ้นและจูงใจให้ผู้กู้ยืมตื่นตัวที่จะชำระหนี้เท่านั้น แต่ที่ผ่านมากองทุน กยศ.ได้พยายามเพิ่มช่องทางในการชำระหนี้ เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็วให้กับผู้กู้อีกด้วย โดยได้มีการเปิดบริการรับชำระหนี้ด้วยรหัสการชำระเงิน (บาร์โค้ด) โดยผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ สามารถพิมพ์รหัสบาร์โค้ดได้ที่หน้าเว็บไซต์ของกองทุน กยศ.เลือกเมนูตรวจสอบยอดหนี้ และนำไปชำระเงินผ่านช่องทาง ที่กำหนด ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ไปรษณีย์ไทย, ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ. ธนาคารทหารไทย, บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.), บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ
    นอกจากนี้ กยศ.ยังได้เดินหน้าโครงการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำของข้าราชการและลูกจ้างประจำที่กู้ยืมเงินจาก กยศ. โดยในส่วนนี้มีกว่า 1.6 แสนราย ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นการประสานความร่วมมือกันในการกำหนดแนวทางปฏิบัติและพัฒนาระบบจ่ายตรงเงินเดือน โดยให้มีการหักเงินเดือนและจ่ายให้แต่ละคนอย่างถูกต้องกับ “กรมบัญชีกลาง” โดย กยศ.คาดว่าการหักเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำของข้าราชการและลูกจ้างประจำที่กู้ยืมเงินจาก กยศ. กว่า 1.6 แสนรายนั้น จะช่วยให้กองทุนมียอดชำระเงินคืนเข้ามาไม่ต่ำกว่าเดือนละหลายร้อยล้านบาท เพราะปัจจุบันกลุ่มข้าราชการมีการรับจ่ายเงินเดือนผ่านบัญชีตรง ถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีวงเงินการกู้ยืมกับ กยศ. รวมมากกว่า 1.6 แสนล้านบาท
    ส่วนกลุ่มลูกหนี้เป้าหมายที่จะหักบัญชีเงินเดือนเพื่อชำระหนี้กลุ่มต่อไปนั้น จะเป็นข้าราชการที่ไม่ได้รับเงินเดือนผ่านบัญชีโดยตรง รวมถึงกลุ่มลูกจ้างของบริษัทเอกชนรายใหญ่ กลุ่มรัฐวิสาหกิจชั้นนำ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีลูกหนี้ กยศ.นับล้านรายให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว และคาดว่าจะเริ่มนำร่องหักเงินเดือนลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวได้ภายในเดือน ก.พ.2562.

ครองขวัญ รอดหมวน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"