'นักวิชาการอีสาน'ยกไทวานรก้าวเดินประกาศทวงคืนสิทธิชุมชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์


เพิ่มเพื่อน    

16 ธ.ค.61- น.ส.กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎสกลนคร กล่าวถึงกิจกรรมไทวานรก้าวเดินของชาวบ้านเครือข่ายรักษ์วานรนิวาส จ.สกลนคร ที่จัดกิจกรรมกิจกรรมไทวานรก้าวเดิน (Wanon Walk) จากวานรนิวาสสู่สกลนคร"เดินเพื่อพูด เดินเพื่อธรรมชาติ เดินเพื่อสกลนคร"เพื่อเรียกร้องให้ยุติโครงการเหมืองแร่โปแตชของบริษัท ไชน่า หมิงต๋า โปแตช คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ว่า ถือเป็นสิทธิชุมชนบนท้องถนนจากวานรนิวาสสู่สกลนคร โดยชาวบ้านที่ยืนหยัดคัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตช และอีกหลายจังหวัดที่ได้เข้ามาร่วมซึ่งได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐ เหตุผลสำคัญในการเดินครั้งนี้ถือเป็นการเดินเพื่อประกาศทวงคืนสิทธิชุมชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ท้องถิ่น 

น.ส.กิติมา ระบุต่อว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเกลือและแร่โปแตช เป็นสิ่งที่รัฐบาลทุกยุคสมัยตลอดระยะเวลา20ปีทีผ่านมา ต่างผลักดันมาอย่างต่อเนื่องและนโยบายดังกล่าวละเมิดสิทธิชุมชนอย่างหนักตลอดจนสร้างความเหลื่อมล้ำและผลิตซ้ำความไม่เสมอทางสังคม ชาวบ้านไทวานรไปไกลเกินกว่านักปกป้องสิทธิ์เพราะไม่ได้พูดถึงใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นชุมชนผู้ปกป้องสิทธิ์ คือกลุ่มก้อนทีเหนียวแน่น ใช้ความเป็นเครือญาติพีน้อง คนบ้านเดียวกัน  ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 นับตั้งแต่มีการสำรวจแร่โปแตช ก็เริ่มก่อตัวชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาดังกล่าวได้รวมตัวกัน ประกอบด้วยกลุ่มคนที่หลากหลายในชุมชน นับเป็นการผนวกรวมกันครั้งยิ่งใหญ่ของคนวานร การคัดค้านดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันกิจกรรมมีหลากหลายเช่น  รณรงค์ เดิน จัดเวทีวิชาการ การยื่นหนังสือ และปิดล้อมพื้นที่ขุดเจาะซึ่งแลกมาด้วยการที่ชาวบ้านในพื้นที่ถูกดำเนินคดีรวมกว่า11 คน 9 คนยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดีข้อหาข่มขืนใจ ในระหว่างการขัดขวางการขุดเจาะสำรวจ มีการเรียกร้องค่าเสียหาย 3.6 ล้านบาท

นักวิชาการ ม.ราชภัฎสกลนคร ระบุด้วยว่า ชาวบ้านออกมาต่อต้านโครงการทั้งที่เป็นโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะความกลัว และไม่ใช่แบบคิดไปเอง หรือกลัวแบบวิตกจริต แต่วางอยู่บนประสบการณ์ที่เห็นด้วยตาและผนวกรวมกับงานศึกษาวิชาการ ซึ่งทั้งบ้านกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส บ้านหนองกวั่ง อ.บ้านม่วง จ. สกลนครเป็นแหล่งผลิตนาเกลือ สูบน้ำใต้ดินมาต้มเกลือกว่า 300 บ่อ และตากนาเกลือ พื้นที่นาเกลือกว่า2พันไร่  สิ่งที่เกิดขึ้น คือหลุมยุบ การไหลซึมของน้ำเค็มลงนาข้าว แม่น้ำ แม้ที่ผ่านมารับมือได้เพราะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ผู้ประกอบการและผู้ผลิตส่วนใหญ่ เป็นคนในท้องถิ่น ทำให้ต่อรอง พูดคุยกันได้ 


“การสำรวจแร่โปแตชพื้นทีกว่า  120,000ไร่  ปริมาณสำรองแร่ 1พันล้านล้านตัน เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งอุตสาหกรรมขนาดนี้มันหลุดลอยออกจากอำนาจการต่อรองของชุมชน  ขณะเดียวกันชาวบ้านที่วานร ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารโปแตชทั่วโลกผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียส์ ประสบการณ์การทำเหมืองแร่จากที่ต่างๆทั่วโลกถูกนำมาวิเคราะห์ร่วมกับงานวิจัยไทบ้าน ที่ชาวบ้านทำอยู่ มันสะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเกิดเหมืองระบบนิเวศที่หลากหลาย ละเอียดอ่อนของภาคอีสานจะอยู่ในสภาวะความเสี่ยง พังทลาย นำมาสู่ความเสี่ยงในการดำรงชีพของคนวานร  เสี่ยงทั้งด้านสิ่งแวดล้อม มีความกังวล เกิดหลุมยุบ แพร่กระจายความเค็ม พื้นที่เกษตร แม่น้ำ กองเกลือมหึมา ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงภัยอื่นๆตามมาเช่น สุขภาพ สังคมวัฒนธรรม ตลอดจนเศรษฐกิจ การสูญเสียความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยเฉพาะป่าโคก ป่าทาม แม่น้ำลำห้วย หลายสิบสาย”

เธอระบุด้วยว่า  ชาวบ้านประเมินว่าค่าภาคหลวงที่จะนำมาสู่ท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้พัฒนาชุมชน หรือกระทั่งโฆษณา ปุ๋ยราคาถูก พวกเขามองเห็นว่าไม่คุ้มค่าเสี่ยงโอกาสที่จะได้ ซึ่งใครจะได้รับประโยชน์จากการแบกรับความเสี่ยงของไทวานรนิวาส ความยุติธรรมสำหรับชาวบ้านไม่ได้เป็นอะไรที่มากไปกว่าการได้รับ หรือการถูกปฎิบัติอย่างเป็นธรรมจากภาครัฐ แต่เมื่อไหร่ที่เจอการเลือกปฎิบัติ เลือกทีรักมักที่ชัง นั้นสะท้อนให้เห็นว่า ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคในสังคมมันเกิดขึ้นและเป็นสิ่งทีเกิดขึ้นภายใต้การผลักดันโครงการสำรวจเหมืองแร่โปแตช ที่อำเภอวานรนิวาส พัวพันจนแยกไม่ออกกับการละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่น อันเป็นมูลผลักสำคัญให้ไทวานรต้องออกมาก้าวเดิน ความเหลื่อมล้ำในที่นี้ สะท้อนกลับมาคือความรู้สึกสองมาตรฐานจากการปฎิบัติของอำนาจรัฐ เกิดขึ้นภายใต้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่ากันระหว่าง ชาวบ้านและทุน  ซึ่งสะท้อนผ่านการใช้อำนาจรัฐของในการเอื้ออำนวยสนับสนุน กลุ่มทุน เพราะรัฐต้องการให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการลงทุน


เธอระบุต่อว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมความไม่เสมอภาค ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ในกรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช วัฒนธรรมความไม่เสมอภาคถูกสร้างขึ้น จากการปฎิบัติไม่เป็นธรรมของรัฐ ระหว่างทุนและชาวบ้านโดยการปฎิบัติ  งดเว้นการปฎิบติ ได้แก่ 1. ความเหลื่อมล่้ำในอำนาจ ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่โปร่งใสและรอบด้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าว่าจะดำเนินการแบบไหน พื้นที่จุดไหนที่จะดำเนินการขุดเจาะ ผลกระทบนอกจากด้านบวกแล้ว มีประเด็นไหนที่ชุมชนจะต้องเตรียมรับมือ เป็นเวลามากกว่าหนึ่งปีที่ชาวบ้านรักษ์วานรนิวาส ทำหนังสือขอเอกสารแนบท้ายอาชญาบัตร แผนที่ขุดเจาะสำรวจแร่ และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงอุตสาหกรรม จากสำนักงานอุตสาหกรรมสกลนคร แต่ประวิงเวลาหรือระบุว่า ไม่มีสิทธิ์ให้เพราะจะส่งผล กระทบต่อบริษัท เป็นการ ปฎิเสธไม่ให้ข้อมูลจึงเป็นการจงใจไม่อำนวยความสะดวกแม้ท้ายที่สุด  อุตสาหกรรมจังหวัดจะให้ข้อมูลแต่ชาวบ้านได้มาด้วยการใช้ อำนาจ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่ายๆ


เธอระบุต่อว่า 2. ตลอดระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ชาวบ้าน โดนชาวบ้าน ฟ้องร้องจากรัฐ และทุน จำนวนมากกว่า11คดี มี4คนที่ จนท.ตร.ในพื้นที่เป็นผู้แจ้งความ ในพรบ.ชุมนุม อีก7 คน บริษัทแจ้งความในข้อหาข่มขืนใจฯ ขัดขวางการสำรวจระหว่างวันที่ 9 ถึง 15 พ.ค.61  ขณะที่ทางบริษัทได้ระบุว่า ได้รับอาชญาบัตรมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ความร่วมมือไทยและจีน ที่ผ่านมาการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายมาโดยตลอด การที่ชาวบ้านขัดขวางจนทำให้ไม่สามารถขุดเจาะได้จึงต้องดำเนินคดีทางกฎหมาย ในกรณีนี้ อำนาจและความยุติธรรมทางกฎหมายรับใช้ใคร

นักวิชาการผู้นี้ระบุด้วยว่า 3.ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิในการจัดการทรัพยากร นอกเหนือจากการใช้อำนาจทาง พรบ.แร่เพื่ออ้างสิทธิ์ในการใช้ทรัพยากรเหนือชุมชนท้องถิ่นแล้ว กรณี ครม.ร่างกฎกระทรวงทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยโทงเป็น ทางน้ำชลประทานที่เรียกจัดเก็บค่าน้ำได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนระหว่างการยื่นเสนอให้มีการพิจารณา โดยให้เหตุผลว่าทีผ่านมามีการใช้ประโยชน์จากเขื่อนห้วยโทง ในกิจการอื่นที่มิใช่การเกษตรอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และรองรับการขอใช้น้ำจากภาคอุตสาหกรรม การประปา ธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สมควรให้มีการเรียกเก็บค่าน้ำที่มิใช่จากการเกษตร พรบ.ฉบับนี้บังคับใช้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์อย่างเต็มทีทั้งที่เป็นผู้เสียสละที่ดิน เพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโทง คนที่มีรายได้น้อย ได้ใช้ประโยชน์จากเขื่อน เกษตร หาปลา จะได้รับผลกระทบมากที่สุด และที่สำคัญการออกพรบ.ฉบับนี้ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม พรบ.ฉบับนี้ถ้าเกิดขึ้น ชุมชนมีมีโอกาสสูญเสียแหล่งพึ่งพิงทั้งด้านเกษตรและอาหาร

“ นี้คือความเชื่อมโยง ภายใต้การพัฒนายุทธศาสตร์พัฒนาอีสานให้กลายเป็นศูนย์กลาง การผลิตหินเกลือและเหมืองแร่โปแตช ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและผลิตซ้ำความไม่เสมอภาคมากมาย แต่ลึกไปกว่านั้นคือ ภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวคือการแปรรูปทรัพยากรไปเป็นสินค้า ลดทอนคุณค่า ความหมายของผืนดินบ้านเรือน  ที่นาสวน ป่า แหล่งน้ำ กลายเป็นสินค้าในรูปสินค้าในรูปโปแตช เพื่อเอาไปป้อนขายในระบบอุตสาหกรรม พร้อมๆกับการ กำหนดว่าธรรมชาตินั้นเป็นของใคร และใครเป็นผู้มีอำนาจใช้ประโยชน์เหนือทรัพยากรนั้นได้”

เธอระบุด้วยว่า จาก พรบ.แร่ ถ่ายโอนอำนาจให้เป็นเอกชน ในรูปแบบสัมปทาน ทำให้เอกชนเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรได้ อย่างเต็มที่ สินค้า ปุ๋ย อุตสหกรรม ปัญหาคือชาวบ้าน คนในท้องถิ่น จะถูกกันออกและไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้นได้เหมือนเดิม ภายใต้ระบบดังกล่าว คนในท้องถิ่นจะถูกเอาเปรียบ สูญเสียรายได้จากทรัพยากรที่เคยเป็นของตนเอง จากรายได้ที่ไม่มั่นคงในการดำรงชีพจะยิ่งส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำขยายกว้างขึ้น


" สังคมไทยเหลื่อมล้ำสูงมาก แทรงหน้าเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าย้อนกลับมามองในพื้นที่อำเภอวานรนิวาส ประชากรพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ หลากหลายระบบนิเวศ คนที่มีฐานะต่างกัน พ้น ยากจน ใต้เส้นยากจนคือมีทรัพยากรให้พึ่งพิง แหล่งป่าโคก แม่น้ำ แต่หากโครงการพัฒนาที่แย่งชิงทรัพยากรแน่นอนว่า ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำจะยิ่งถ่างกว้างขึ้นเพราะแหล่งอาหาร ระบบนิเวศ นา โคก ป่าทาม ห้วยจะถูกเปลี่ยนสภาพ" 

 


นักวิชาการอีสานผู้นี้ทิ้งท้ายว่า เมื่อชุมชนออกมาปกป้องชีวิตไม่ให้ตกอยู่ในความเสี่ยง ทำไมถึงถูกฟ้องร้อง คุกคาม ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงจุดยืน นั้นเพราะเราดำรงอยู่ในสังคมที่ไม่มีบรรยากาศเป็นประชาธิปไตย การพัฒนาแบบเผด็จการไม่เคยเอื้อความอยู่ดีมีสุขแก่ประชาชน การแสวงหาความเป็นธรรม ยุติธรรมเกิดขึ้นอย่างยากลำบาก กิจกรรมครั้งนี้จึงมองเห็น การประกาศทวงคืนสิทธิชุมชนที่หายไป ด้วยสองเท้าของสามัญชนคนธรรมดาที่อยากยืนหยัดปกป้องถิ่นฐานบ้านเกิด  ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งมั่นคงทางอาหารและชีวิต คือการประกาศศักดิ์ศรีความเป็นพลเมือง ความเป็นมนุษย์ และทวงคืนสิทธิชุมชนท้องถิ่นแก่คนวานรนิวาส.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"