ศึกชิงนาง


เพิ่มเพื่อน    


    อุตสาหกรรมเอทานอลประเทศไทยได้สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืชอ้อยและมันสำปะหลังที่มีมูลค่าสูงขึ้นมากกว่าแค่พืชเกษตร และส่งเสริมอาชีพให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน ซึ่งข้อมูลจากสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย มีสถิติว่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-ต.ค.2561 โครงการใช้เอทานอลที่ภาครัฐให้การสนับสนุนได้สร้างเม็ดเงินไปสู่เกษตรกรชาวไร่อ้อยรวมกว่า 66,000 ล้านบาท ผ่านการใช้กากน้ำตาลกว่า 27.5 ล้านตันเป็นวัตถุดิบ และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังประมาณ 38,000 ล้านบาท
    โดยคิดเป็นการใช้มันสำปะหลังกว่า 16.3 ล้านตันเพื่อผลิตเอทานอล อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร และช่วยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากมูลค่าของกากน้ำตาลจากปีละ 1,000 ล้านบาทในช่วงก่อนมีโครงการเอทานอลเป็นปีละ 9,600 ล้านบาท
    และปัจจุบันประเทศไทยเองก็ยังส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ หรือไบโออีโคโนมีอีกด้วย ยิ่งทำให้เห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญของประเทศจริง ซึ่งภาครัฐได้ส่งเสริมการนำอ้อยมาเพิ่มมูลค่าตั้งแต่การผลิตเอทานอลที่เป็นเชื้อเพลิง การต่อยอดสู่พลาสติกชีวภาพ เคมีภัณฑ์ต่างๆ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางพลังงาน และตั้งแต่ปี 2549-ต.ค.2561 ประเทศไทยใช้เอทานอลแทนการนำเข้าน้ำมันมากถึง 9,750 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 160,000 ล้านบาท
    แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือกฎหมายในประเทศไทยที่มีการเขียนขึ้นมาในช่วงที่ยังไม่เข้าใจถึงการจะพัฒนาเศรษฐกิจ ก็ทำให้เกิดปัญหากับการเดินหน้าอุตสาหกรรมในปัจจุบันและอนาคต จึงต้องมีการปรับแก้ไขกันทุกยุคทุกสมัย  ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตาม หนึ่งในนั้นคือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อ้อยและน้ำตาลทราย ที่จำกัดความคำว่าอ้อยและน้ำตาลในรูปแบเดิมๆ เนื่องจากยังไม่เข้าถึงการพัฒนาไปในรูปแบบใหม่ได้ ทำให้การเดินหน้าของเอกชนที่ทำธุรกิจดังกล่าว ติดขัดอยู่ตลอดเวลา
    ทั้งนี้ การแก้ไข พ.ร.บ.จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งนายเจษฎา ว่องวัฒนะสิน อุปนายก รักษาการนายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย ได้กล่าวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ให้สามารถนำน้ำอ้อยมาผลิตเป็นเอทานอลได้ จะส่งผลดีกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเอทานอล เนื่องจากจะมีวัตถุดิบในการผลิต รองรับความต้องการใช้มากขึ้น ส่วนเกษตรกรจะมีรายได้สูขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิต ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบันอุตสาหกรรมเอทานอล สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและมันสำปะหลังแล้วกว่า 100,000 ล้านบาท
    ซึ่งจากข้อมูลปัจจุบันมีโรงงานเอทานอลรวม 26 โรง ผลิตเอทานอลได้ 5.8 ล้านลิตรต่อวัน แต่มีความต้องการใช้เพียง 4 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นหากในอนาคตนโยบายการส่งเสริมให้ใช้เอทานอลของรัฐบาลชัดเจน ผู้ประกอบการก็มีศักยภาพเพียงพอในการผลิตรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นแน่นอน โดยคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 20% ต่อปี หรือ 1 ล้านลิตรต่อวัน ดังนั้นมั่นใจว่าเอทานอลยังคงมีความต้องการใช้อย่างต่อเนื่อง แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับนโยบายจากภาครัฐเป็นสำคัญ
    แต่ทั้งนี้เรื่องของอ้อยและน้ำตาลที่ปัจจุบันถูกแปรรูปกลายมาเป็นเอทานอลแล้วนั้น จึงไม่ได้เกี่ยวข้องแค่ภาคการเกษตรเท่านั้น ยังเกี่ยวข้องกับภาคพลังงานของประเทศไทยอีกด้วย เนื่องจากเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปแปรรูปและผสมอยู่ในขั้นตอนการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องถูกจับตาและเก็บข้อมูลในส่วนนี้ไว้ด้วย
    ทั้งนี้ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานทางเลือก (เออีดีพี) ได้กำหนดไว้ว่าในปี 2579 จะส่งเสริมการใช้เอทานอลไว้ที่ 11.3 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซลไว้ที่ 14 ล้านลิตรต่อวัน โดยในปี 2561 (ม.ค.-ส.ค.61) มีการใช้เอทานอลอยู่ที่ 4.15 ล้านลิตรต่อวัน ขยายตัวอยู่ที่ 5% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันการใช้เอทานอลมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
    ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าอ้อยนั้นเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ที่ต้องดูแลและเอาใจใส่อย่างมาก ซึ่งก็ต้องรอดูนโยบายจากภาครัฐว่าจะมีทิศทางส่งเสริมอุตสาหกรรมเอทานอลไปในทิศทางใด หากมีการส่งเสริมได้อย่างดี ก็อาจจะเพิ่มช่องทางการแข่งขันของผู้ประกอบการในส่วนนี้ได้ แถมยังสามารถพัฒนาให้เป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของประเทศไทยอีกหนึ่งตัว แต่...ถ้าการส่งเสริมมาอย่างขาดๆ หายๆ ข้อกำหนดหรือกฎหมายล่าช้า  เราก็อาจจะเสียสิทธิ์ในการแย่งชิงพืชเศรษฐกิจนี้มา เพราะอย่าลืมว่าไม่ใช่ประเทศไทยแห่งเดียวที่สามารถปลูกอ้อยได้.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"