รอการเมืองรุ่นใหม่สู้โกง


เพิ่มเพื่อน    

    องค์การต่อต้านคอร์รัปชันและภาคีภาคประชาชนคลอด “โพลก่อนเลือกตั้ง 62” พบเศรษฐกิจยังเป็นปัญหาอันดับ 1 จี้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลสำคัญผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยกปัญหาทุจริตในระบบราชการบ่อนทำลายการทำงานของรัฐบาล ฝากความหวังกับนักการเมืองรุ่นใหม่ต้านคอร์รัปชัน
    ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 20 ธันวาคม องค์การต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, มูลนิธิเพื่อคนไทย และภาคีภาคประชาชน 17 องค์กร จัดแถลงข่าว “ผลโพลต้านโกง รับเลือกตั้ง 2562” จากโครงการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองและนักการเมืองไทยในการเลือกตั้ง 2562 เพื่อให้พรรคการเมืองนำข้อเสนอของประชาชนจากผลโพลไปพัฒนาเป็นนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน โดยมีนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), นายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย, นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, นายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโส มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมแถลงข่าว
    นางเสาวณีย์กล่าวว่า เราทำการสำรวจภายใต้หัวข้อ “ความเห็นของประชาชนต่อนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมือง” จากประชาชนทั่วประเทศ ทั้งเขตเมืองใหญ่และเขตชนบท ในทุกระดับการศึกษา ทั้งกลุ่มที่เคยมีประสบการณ์การเลือกตั้ง และกำลังจะเลือกตั้งครั้งแรก จากทั้งหมด 3054 กลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ
    1.นโยบายของพรรคการเมืองควรจะเป็นอย่างไร 28% ต้องการอยากให้เป็นนโยบายที่ตรวจสอบได้, 26% ใช้งบให้คุ้มค่า, 23% ควรปฏิบัติได้จริง, 23% ขอให้เกิดเป็นรูปธรรม
    2.พรรคการเมืองควรประกาศนโยบายแบบไหน พบว่า 42% ต้องการนโยบายที่มีรายละเอียด, 33% ต้องการนโยบายที่สามารถตรวจสอบได้จริง, 24% ต้องการนโยบายกว้างๆ
    3.ปัญหาสำคัญของประเทศที่ต้องแก้ไขมากที่สุด พบว่า 19% ระบุว่าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ, 17% ระบุว่าเป็นเรื่องการศึกษา และ 16% ระบุว่าเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน
    4.ปัญหา "คอร์รัปชัน” 3 ลำดับแรกที่ส่งผลเสียและต้องการให้รัฐบาลเร่งจัดการปัญหาคอร์รัปชัน พบว่า 21% ระบุว่าปัญหาทุจริตในระบบราชการ, 17% ระบุว่าปัญหากระบวนการยุติธรรม, 13% ระบุว่าเงินบริจาคในสถาบันศาสนา
    5.ปัญหา “คอร์รัปชัน” 3 อันดับแรกที่รัฐบาลต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน พบว่า 19% ระบุว่าเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ส่งผลกระทบกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์, 16% ระบุว่ากำหนดกระบวนการป้องกันทุจริตเชิงรุกในหน่วยงาน, 15% ระบุว่าควบคุม จัดการ สมาชิกรัฐบาลและสมาชิกพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต
    6.พรรคการเมืองควรมีข้อกำหนดหรือแนวปฏิบัติอะไรเพื่อสนับสนุนให้เกิดการต่อต้านคอร์รัปชัน พบว่า 26% ระบุว่าแสดงข้อมูลการทำงานให้ตรจสอบได้ทุกกรณี, 17.9% ระบุว่าหากพบการทุจริตของนักการเมืองในพรรคต้องลงโทษอย่างเด็ดขาด, 10.6% ระบุว่าเสริมสร้างจิตสำนึกในการทำงานที่ดีต่อชาติบ้านเมือง
    7.มีความหวังกับนักการเมืองรุ่นใหม่ต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชันหรือไม่ พบว่า 70% ระบุว่ามี, 30% ระบุว่าไม่มี สำหรับกลุ่มที่ตอบว่า “มี” นั้น ต้องการเห็นนักการเมืองรุ่นใหม่มีลักษณะดังนี้ 38% ระบุว่าเป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดและมุมมองใหม่, 25% ระบุว่า มีมุมมองแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ, 18% ระบุว่ายังไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของนักการเมืองรุ่นเก่า 
    สำหรับกลุ่มที่ตอบว่า “ไม่มี” พบว่า 52% ระบุว่า ไม่ได้คาดหวังกับการทำงานของนักการเมืองอยู่แล้วเพราะเชื่อว่าไม่ได้ทำเพื่อประชาชน, 15% ระบุว่าการตรวจสอบไม่สามารถดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อีก 15% ระบุว่ารอดูผลงานเพราะยังไม่เห็นความสามารถของนักการเมืองรุ่นใหม่  
    นายประมนต์กล่าวว่า ที่ผ่านมา ช่วงก่อนการเลือกตั้ง พรรคการเมืองหลายพรรคจะออกนโยบายเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่เป็นนโยบายลักษณะนามธรรม จับต้องไม่ได้แต่อย่างใด ซึ่งเราหวังว่าผลจากการสำรวจนี้จะสามารถสะท้อนไปถึงพรรคการเมืองให้ผลักดันนโยบายออกมาเป็นรูปธรรมได้
    นายวิเชียรกล่าวว่า ขั้นตอนต่อไป เราจะจัดส่งโพลดังกล่าวไปยังภาคการเมือง เพื่อให้รับทราบว่าปัญหาคอร์รัปชันเป็นเรื่องที่ภาคประชาชนให้ความสำคัญ และอยากเห็นพรรคการเมืองนำไปดำเนินการต่อไป อีกทั้งในอนาคต ในทางปฏิบัติเราจะเปิดเวทีในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ภาคการเมืองได้รับทราบอย่างลึกซึ้ง โดยไม่ได้แยกว่าพรรคไหนเป็นพรรคไหน ทั้งนี้ ในช่วง 1-2 เดือนนี้ ตนหวังว่าจะได้นับการตอบสนองในเชิงนโยบายจากพรรคการเมือง จากนั้นภายหลังการเลือกตั้ง ประชาชนจะสามารถติดตามผลการดำเนินการต่อ ไม่ว่าพรรคนั้นจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ทั้งนี้ ประชาชนเองมีหน้าที่ติดตาม คอยเตือนให้พรรคการเมือง ทำตามที่สัญญาไว้
    นายธนวรรธน์กล่าวว่า สำหรับ 3 อันดับปัญหาคอร์รัปชันที่ควรแก้อย่างเร่งด่วน พบว่า 19% ระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลสำคัญผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์, 16% ระบุว่าป้องกันการทุจริตเชิงรุกในหน่วยงานรัฐ, 15% ระบุว่า ควบคุม จัดการ สมาชิกรัฐบาลและสมาชิกพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"