ทนายสนิทโบว์ชี้'คลิปฉาว'จำเป็นต้องตั้งคำถามต่อหน่วยงานรัฐ


เพิ่มเพื่อน    

24 ธ.ค.61 - นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) และทนายความเสื้อแดง ที่น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์  แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เคยประชาสัมพันธ์ช่วยบริจาคให้นายวิญญัติ  ทำงานในฐานะทนายฝ่ายประชาธิปไตย  ได้โพสต์เฟซบุ๊ก  โดยระบุว่า "การดักฟังโทรศัพท์ การดักฟังเสียง วีดีโอ ข้อความแชท การดักรับและถ่ายโอนข้อมูลต่างๆของแอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมติดต่อสื่อสารระหว่างกันทางระบบอินเทอร์เน็ต ที่ใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีระดับสูงโดยฝ่ายข่าวของหน่วยงานความมั่นคง ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศจริงๆหรือไม่ 

ประชาชนจะวางใจได้ด้วยวิธีการใด ตรวจสอบความโปร่งใสให้มั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่ถูกละเมิดสอดแนมความเป็นส่วนตัว ยกเว้นมีบางคนที่ไม่เคยคำถึงสิทธิมนุษยชนและภัยที่เกิดกับตนเอง

ผมตั้งประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยความกังวลที่เกิดขึ้นจริง ทั้งจากงานคดี  ปัญหาทางเทคนิค และกฎหมายที่เลวร้ายมีส่วนเปิดช่องเพื่อให้มีการสอดแนมประชาชนได้  ผมไม่ได้ต่อต้านการสืบราชการลับเพื่อปกป้องประเทศชาติ แต่ที่ผมพูดเรื่องนี้หลายครั้ง ทั้งมีกรณีตัวอย่างเกิดขึ้นให้เห็นเป็นข่าวมาแล้วหลายกรณี  เพราะเราต้องการกระบวนการตรวจสอบที่มีมาตรฐาน เกิดความรับผิดชอบทางกฎหมายที่องค์กรตามกระบวนการยุติธรรมตระหนักถึงความสำคัญร่วมกันอย่างจริงจัง

เหตุใดเจ้าหน้าที่สามารถติดตามตัวได้  เหตุใดจึงมีใครล่วงรู้การสนทนาของคนอื่นหรือได้ข้อมูลแชทมาได้  เหตุใดมีคนเอาคลิปเสียงทางโทรศัพท์มาแฉเพื่อเอาชนะและ

“เหตุใดกรณีเป็นข่าวดังล่าสุดซึ่งเป็นการสะกดรอย แอบถ่ายและตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในสถานที่ปิดเกิดขึ้นได้อย่างไร”

ผมไม่สามารถระบุผู้กระทำได้  แต่ด้วยการได้มาของคลิปและนำมาเผยแพร่เกิดจากขบวนการใด กระบวนการตั้งคำถามต่อหน่วยงานรัฐจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งของการตรวจสอบตามวิถีของประชาชน

กฎหมายไทยอย่างน้อย 11 ฉบับและอยู่ในกระบวนการร่างกฎหมายอีกหลายฉบับ  ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ดักฟัง ดักรับ เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลการสื่อสารได้   มันจึงไม่ใช่เรื่องความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่มันอาจเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงมากขึ้น  สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลถูกล่วงล้ำหนักขึ้น

หน่วยข่าวที่มักขึ้นตรงกับหน่วยงานความมั่นคงที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงผสานความรู้เห็นเป็นใจกับเอกชนหรือหน่วยงานรัฐโดยอาศัยกฎหมายที่เปิดกว้างแต่ไม่รัดกุมไร้การตรวจสอบอย่างจริงจัง  กำลังทำให้มาตรฐานทางเทคนิคและมาตรฐานความปลอดภัยด้อยประสิทธิภาพลง

การติดตั้งอุปกรณ์ดักรับข้อมูลทำได้หลายวิธีและประชาชนอย่างเราจะรู้ได้อย่างไรเมื่อรัฐไม่มีทางจะยอมรับ   เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าบริษัทเอกชนหรือผู้ให้บริการรับอินเทอร์เน็ตไม่ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกินความจำเป็น รวมถึงการเปิดทางโดยไม่รับรู้ถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

ถึงเวลาแล้ว! ที่ประชาชนต้องตระหนักถึงหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิความเป็นส่วนตัวขั้นพื้นฐาน ตั้งคำถามต่อรัฐและกระบวนการนิติบัญญัติ  ร่วมกันแสดงออก แสดงจุดยืนต่อต้านการละเมิดสิทธิของเรา  เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบจากการคุกคามนี้

#เราจะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนวางเฉยต่อการกระทำอย่างไร้มาตรฐานอีกนานเท่าไหร่?"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"