พี่ช่วยน้อง


เพิ่มเพื่อน    

 

                โครงการบิ๊กบราเธอร์ หรือโครงการพี่ช่วยน้อง เป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตั้งขึ้นมา เนื่องจากเห็นความสำคัญของผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่จะเป็นกำลังสำคัญต่อประเทศในอนาคต แต่ปัจจุบันยังติดปัญหาในเรื่องการพัฒนาอยู่ เนื่องจากกำลัง ความรู้ และช่องทางที่จะพัฒนานั้นยังน้อยมาก จึงทำให้โอกาสที่ผู้ประกอบการรายเล็กๆ นั้นไม่สามารถก้าวออกมาจากกับดักที่ฉุดดึงความก้าวหน้าได้

โครงการดังต่างๆ จึงเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก โดยอาศัยเครื่องมือและความร่วมมือจากผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ นั่นก็คือบิ๊กบราเธอร์ ที่จะเป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลายบริษัทขนาดใหญ่ โดยล่าสุด บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ผนึกความร่วมมือกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิด “ศูนย์เรียนรู้โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ในศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ไอทีซี) ให้เป็นศูนย์ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายครบวงจร

โดยการนำระบบ "คาราคุริ" กลไกอัจฉริยะจากญี่ปุ่นที่โตโยต้าใช้เพิ่มผลิตภาพ ในกระบวนการผลิตมาถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใน 4 ภูมิภาค ให้เป็นวิสาหกิจและหมู่บ้านต้นแบบของประเทศไทย ด้วยหลักการ “ไคเซ็น”

ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นพี่เลี้ยงพัฒนาศูนย์ไอทีซี และโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ซีไอวี) ซึ่งมุ่งสนับสนุนกลไกที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่เอสเอ็มอีและโอท็อป เพื่อการยกระดับศักยภาพในหลากหลายด้าน พร้อมทั้งการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาถ่ายทอดประสบการณ์จริง เพื่อเป็นแนวทางไปสู่การเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถเติบโตและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีศักยภาพในหลากหลายมิติ

ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกล ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม 2.กลุ่มดิจิทัล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว และ 3.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง

โดยโตโยต้าจะให้ความช่วยเหลือด้วยการนำองค์ความรู้ในการทำธุรกิจที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่ วิถีโตโยต้า และระบบการผลิตแบบโตโยต้า รวมถึงปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง มาถ่ายทอดเพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ พร้อมมุ่งเน้นให้มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา

นอกจากนี้ยังจะมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทุกกระบวนการจัดการ ซึ่งมั่นใจว่ากลไกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นส่วนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจชุมชนปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น พร้อมเชื่อมโยงการตลาดและการทำการค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพในอนาคต

ทั้งนี้ นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า กล่าวว่า การร่วมมือครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย ให้สามารถแข่งขันและพึ่งพาตนเองเตรียมความพร้อมสู่การเป็น SMEs 4.0 ได้อย่างภาคภูมิ ซึ่งโตโยต้ายังคงจะเดินหน้าขยายผลโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อการสร้างเสถียรภาพแก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศให้เติบโต

ซึ่งนี่ก็เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างเพิ่มเติมจากที่หน่วยงานอื่นที่ดำเนินการไว้ และจะเป็นก้าวสำคัญของโครงการพี่ช่วยน้องให้สามารถเติบโตและพัฒนาอย่างจริงจัง ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาแต่ชื่อ และสุดท้ายการพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศที่เห็นว่าเป็นกำลังสำคัญก็ไม่เกิดขึ้นจริง ซึ่งต่อไปนี้ก็ได้แต่ติดตามว่าหน่วยงาน หรือบริษัทอื่นๆ จะเห็นความสำคัญและเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนอะไรเพิ่มเติมให้ออกมาอย่างเป็นรูปธรรมอีก.

 

 ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"