โค้งสุดท้ายรถไฟอีอีซี


เพิ่มเพื่อน    


    ใกล้คืบเข้าไปทุกทีสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท แต่ก็มีอันต้องเลื่อนสรุปผลผู้ชนะผ่านการประมูลครั้งนี้ จากเดิมที่จะสรุปผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกขอตรวจสอบเอกสารอย่างละเอียด
    นั่นคือการพิจารณารายละเอียด ซอง 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ของกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซีพี) และพันธมิตร ที่ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมเข้ามาเมื่อวันที่ 9 ม.ค.2562 ซึ่งมีเอกสาร 200 หน้า 108 ประเด็น ซึ่งพบว่าข้อมูลข้อเสนอเพิ่มเติมยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ 
    ทั้งนี้ จึงต้องเชิญผู้แทนกลุ่มซีพีเข้ามาชี้แจงรายละเอียดในบางประเด็นต่อคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในวันที่ 18 ม.ค.นี้ เวลา 09.00 น. จากนั้นคณะกรรมการฯ จะประชุมเพื่อพิจารณาว่าจะรับข้อเสนอของซองที่ 4 หรือไม่ หรือรับในบางประเด็นอะไรบ้าง หากได้รับข้อมูลครบถ้วน เชื่อว่าจะพิจารณาได้ 
    จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนของการเจรจาต่อรองกับเอกชนภายในวันที่ 18 ม.ค.ด้วย โดยวางกรอบการเจรจาไว้ 4 หมวด อาทิ หมวดการเงิน ซึ่งจะพยายามให้การเจรจาได้ข้อยุติ หากยังสรุปไม่ได้ ยังมีเวลาเจรจาต่อช่วงวันที่ 21-25 ม.ค.2562 ตั้งเป้าว่าจะสรุปผลการเจรจาและการพิจารณาข้อเสนอซอง 4 ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 25 ม.ค.2562 
    ส่วนขั้นตอนต่อไป จะส่งรายละเอียดของเงื่อนไขที่สรุปได้เพิ่มเติมให้อัยการสูงสุดพิจารณา จากที่ก่อนหน้านี้ได้ส่งร่างสัญญาหลักให้อัยการสูงสุดพิจารณาไปแล้ว จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และเตรียมลงนามสัญญากันต่อไป 
    จากข้อมูลพบว่า เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณากรอบเบื้องต้นไปแล้ว แต่ยังเปิดเผยรายละเอียดไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เจรจา เงื่อนไขระบุว่า ห้ามเปิดเผย เพราะข้อมูลการเจรจายังมีความเกี่ยวพันกันในหลายประเด็น รัฐต้องไม่จ่ายเพิ่มจากข้อเสนอทางการเงิน (ซอง 3) รวมถึงเงื่อนไขรายละเอียดช่วงเวลาในการจ่ายเงิน
    แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)กล่าวว่า ในส่วนของข้อเสนอเพิ่มเติมเรื่องการต่อขยายเส้นทางจากอู่ตะเภาไปถึงระยอง, การปรับย้ายตำแหน่งสถานีนั้น เอกชนเสนอได้ เพราะกรอบตำแหน่งที่ตั้งสถานีที่กำหนดอาจจะติดขัด ซึ่งขณะนี้ยังมีหลายประเด็นข้อมูลยังไม่ครบ ต้องมาชี้แจงเพิ่มเพื่อให้เข้าใจตรงกัน และเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐ และเอกชนยอมรับ เพราะเป็นสัญญาร่วมลงทุนรัฐกับเอกชน ทำให้ต้องเจรจาตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย 
    นั่นก็ถือว่าขณะนี้เป็นโค้งสุดท้ายของการพิจารณาแล้วก็ไม่ผิด ก็เหลือเพียงคณะกรรมการฯ วางกรอบการเจรจาไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อได้ข้อสรุป และเสนอ ครม.อนุมัติแล้ว และกรอบการลงนามในวันที่ 31 ม.ค.2562 ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาความพร้อมของภาครัฐประกอบด้วย เนื่องจากรัฐจะต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชนด้วย แต่จะลากยาวไปถึงหลังการเลือกตั้งเลยหรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ เพราะการรถไฟฯทำตามขั้นตอน 
    ส่วนประเด็นที่น่าสนใจคือ หากไม่สามารถพูดคุยกับกลุ่มซีพีได้สำเร็จ คณะกรรมการคัดเลือกก็จะมีการประชุมหารือกันต่อไป และจะเชิญกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ มาเจรจาเพื่อยึดหลักประเทศได้ประโยชน์เป็นหลัก ก็ต้องมาลุ้นกันว่า ในวันที่ 19 นี้ จะสรุปผู้ชนะได้หรือไม่
    อย่างไรก็ตาม หากหันมาดูกันแล้วว่า สิ่งที่เอกชนที่ชนะประมูลจะได้รับคือ สิทธิ์พัฒนา บริหาร เดินรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งพัฒนาและบริหารที่ดินมักกะสัน 50 ปี โดยมีมูลค่าโครงการลงทุนอยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็น การลงทุนเริ่มต้นในระบบขนส่งทางรถไฟ 1.68 แสนล้านบาท, การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 4.51 หมื่นล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท 
    ไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและประเทศชาติ.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"