บอร์ดอิสระ นับนิ้วรอรัฐบาลเคาะ"พ.ร.บ.ศึกษาชาติ"


เพิ่มเพื่อน    


22ม.ค.62-นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ได้มีการพิจารณา เรื่องความก้าวหน้ากลไกการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งขณะนี้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 ได้มีการประกาศใช้แล้ว และขณะที่ร่าง พ.ร.บ.พัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... และร่าง พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ....ได้รับความเห็นชอบในวาระ 1 จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว ส่วนร่างพ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.... อยู่ระหว่างการปรับแก้ นอกจากนี้ยังมี ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งพ.ร.บ.ฉบับนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะจะต้องสอดคล้องกับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ซึ่งเป็นแผนที่ 12 โดยคณะกรรมการอิสระฯ จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาในวันที่ 25 มกราคมนี้ และหลังจากนั้นจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ และเมื่อผ่านการพิจารณาของ สนช. ก็จะลงพิมพ์ในพระราชกฤษฎีกาต่อไป อย่างไรก็ตาม สำหรับร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ส่วนจะออกมาเป็น พ.ร.บ.ได้เมื่อใดนั้น คงต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เพราะ คณะกรรมการอิสระฯ ได้เสนอ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวตั้งแต่เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2561 ซึ่งถือว่าล่าช้าไปมาก และถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร

“การปฏิรูปการศึกษา ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ และทุกคนตระหนักว่าการศึกษามีปัญหาค่อนข้างมาก และกำหนดว่าต้องมีการปฎิรูปการศึกษา เพื่อแก้ความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาเด็กเล็ก แก้ปัญหาเรื่องครู และการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนที่ไม่ทันกับโลก ดังนั้น ขณะนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร ส่วนการผลักดันกฎหมายระดับรองในหลายเรื่องขณะนี้ สามารถทำได้ทันที ต่อให้กฎหมายฉบับหลักยังไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้สิ่งที่จะมีความชัดเจนตอนนี้ คือ เรื่องบทบาทหน้าที่ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่จะต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีอยู่ ประมาณ 6-7 แสนคน และกระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งทำให้ต้องมีการปรับปรุงเรื่องนี้อย่างมาก และเป็นบทบาทของ อปท.ที่ต้องเข้าไปดูสถานศึกษาขนาดเล็ก ทั้งการจัดการศึกษา และการดำเนินการของศูนย์เด็กเล็ก ส่วนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษานั้น ต้องอาศัยรัฐ และเอกชนเป็นเครื่องมือสำคัญ”ประธานคณะรรมการอิสระฯ กล่าว


ด้านนพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา กล่าวว่า โดยหลักการเมื่อร่างแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะเป็นการรับรองหลักการและรายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งทางคณะกรรมการอิสระฯ ได้มีการเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา รวมถึงข้อเสนอแนะเพิ่มเติมไปยังที่ประชุม ดังนั้น เมื่อทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอมา เราก็จะนำมาปรับปรุงในบางรายละเอียดแต่ไม่ใช่หลักการใหญ่ เช่น กฎหมายระดับรองที่เดิมมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาอาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกฎหมายระดับรองต่างๆ อาจต้องมีการกำหนดใหม่ เพราะอาจไม่กำหนดใหม่จะส่งผลต่อผู้ที่จะมารับผิดชอบไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ อีกทั้ง เป็นการสร้างความชัดเจนในการจัดการศึกษาและความร่วมมือระหว่างรัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และเอกชน รวมถึงเรื่องครู เช่น การพิจารณาทั้งเรื่องมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพต่างๆ เรื่องครูอาชีวะ การปฎิรูปด้านอาชีวศึกษา บทบาทของรัฐในการส่งเสริมให้การเรียนอาชีวะไม่ต้องเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ด้อยโอกาส หรือการสนับสนุนในสาขาที่เป็นความต้องการของประเทศ ให้เป็นรูปธรรมมากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม คาดว่าร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ผ่านสนช.ภายในตามเดือนกุมภาพันธ์นี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"