'ณัฐวุฒิ' ชี้ประกาศวันเลือกตั้งไม่ใช่หลักประกัน ยังมีกลุ่มขัดขวางบ้านเมืองสู่ปชต.


เพิ่มเพื่อน    

24 ม.ค.62 - นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ประธานคณะกรรมการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง พรรคไทยรักษาชาติ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยมีใจความว่า หลายคนดีใจ รู้สึกว่าประเทศไทยมีความหวังหลังมีประกาศพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง และกกต.แถลงกำหนดวันลงคะแนนเป็นวันที่ 24 มี.ค. 2562 ทันที ทั้งนี้ ก่อนจะคิดกว้าง มองไกล ไปกว่านี้ ขอชวนย้อนอดีตเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวไปข้างหน้า

ในห้วงเวลาของความขัดแย้งทางการเมือง เราเคยมีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ กำหนดวันเลือกตั้ง 2 ครั้ง ซึ่งปลายทางไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของอำนาจเผด็จการ ทั้งนี้ 24 ก.พ. 2549 รัฐบาลทักษิณประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ กำหนดวันเลือกตั้ง 2 เม.ย. นอกจากนี้วันที่ 9 ธ.ค. 2556 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ และกำหนดวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. 2557 ซึ่งทั้ง 2 ครั้งอยู่ในสถานการณ์ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลของมวลชนฝ่ายหนึ่ง ขณะที่อีกฝ่ายให้การสนับสนุน ประวัติศาสตร์ฉายซ้ำที่คนส่วนใหญ่ยังจำได้ คือ พรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลประกาศบอยคอตการเลือกตั้ง มีความเคลื่อนไหวหลายด้านสมคบคิดสัมพันธ์กันจนการเลือกตั้งเป็นโมฆะ แล้วจบลงที่การรัฐประหาร

ในโลกของความเป็นจริง การมีวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจึงไม่ใช่หลักประกันอันใดเลย หากขบวนการขัดขวางล้มการเลือกตั้งยังขับเคลื่อน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าถึงปัจจุบันยังมีความพยายามของคนกลุ่มนี้ 2 ครั้งที่เป็นโมฆะ รัฐบาลรักษาการอยู่ในสภาพบอบช้ำทางการเมือง อำนาจที่กฎหมายให้ไว้อย่างจำกัดถูกกำจัดแทบหมดสิ้นจากอำนาจนอกระบบที่มีอิทธิพลมากกว่า แม้พยายามอย่างที่สุดให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้า แต่ก็เกินกำลังที่จะปกป้องการเลือกตั้งไว้ได้ ต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับรัฐบาลนี้ที่มีอำนาจไม่จำกัด ออกกติกาเอง ปลดกรรมการได้ จะยกเลิกการเลือกตั้งเสียก็ได้ และผู้นำรัฐบาลเตรียมจะเป็นผู้เล่นในฐานะว่าที่นายกรัฐมนตรีอย่างที่รู้กันมาตลอด

แต่หากลึกสุดใจของผู้มีอำนาจคือ ไม่อยากเลือกตั้ง สิ่งเดียวที่จะมีพลังผลักดันการเลือกตั้งให้เกิดขึ้นได้จริงและสำเร็จราบรื่น คือการสรุปบทเรียนร่วมกันของสังคมไทยว่า การปฏิเสธกลไกของระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่ทางออกของประเทศ ถึงที่สุดการหาข้อยุติของความขัดแย้งก็ยังต้องกลับมาที่การเลือกตั้ง หวังใจเป็นที่สุดว่า ขบวนการล้มเลือกตั้งซึ่งยังมีอยู่จะอ่อนกำลังลง พรรคการเมืองและนักการเมืองที่ชักแถวกันออกมาแสดงความพร้อมจะไม่บอยคอต ไม่ขัดขวาง แม้กติกานี้จะยิ่งกว่าอัปลักษณ์ แต่ก็เป็นทางออกเดียวที่จะนำพาบ้านเมืองกลับสู่ประชาธิปไตยโดยสันติ ถึงจะเสียเปรียบหรือเสี่ยงจะพ่ายแพ้ฝ่ายประชาธิปไตยก็ต้องลงสนามสู้ แพ้ชนะอยู่ที่ประชาชน แต่ถ้าไม่มีเลือกตั้งประเทศไทยจะแพ้และเสียหายไม่สิ้นสุด

คำว่าเลือกตั้งต้องไม่เลื่อนลอยเหมือนคำว่าปรองดองหรือปฏิรูป ถ้าวันเลือกตั้งไม่ใช่การคืนอำนาจให้ประชาชน แต่หมายถึงวันเวียนเทียนอำนาจเพื่ออยู่ต่อของคนบางกลุ่ม 24 มี.ค.ก็ต้องไม่หมายถึงแค่วันลงคะแนน แต่คือวันลงจากอำนาจของเผด็จการ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"