อื้อฉาว!รักระหว่าง(นัก)เรียน ตัวเร่ง..การศึกษา"ต้อง"ปฏิรูป


เพิ่มเพื่อน    

(ครอบครัวที่แตกแยกเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่เด็กว้าเหว่และโหยหาความรัก ซึ่งเป็นต้นเหตุของปมปัญหารักที่ไม่เหมาะสมระหว่างครูและศิษย์)

----------------------------------------------------------------------------------------------------
ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ครู...แนวทางป้องกันปัญหาชู้สาวอาจารย์กับศิษย์
----------------------------------------------------------------------------------------------------
    ยังคงเป็นประเด็นที่สังคมไทยต้องส่ายหัวกับข่าวคาวอื้อฉาวระหว่างผู้บริหารการศึกษากับเด็กนักเรียนที่อายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ เพราะดูเหมือนว่ากรณีที่เป็นข่าวในวันนี้..ไม่ใช่ครั้งแรก หรือเป็นกรณีเดียว แต่กลับเป็นพฤติกรรมอำพรางที่มีการสะสมมานานในหลายๆ ชุมชน รอเพียงเรื่องราวจะถูกเปิดโปง หรือบังเอิญกลายเป็นเหตุฟ้องร้องกล่าวโทษกันเท่านั้น 
    เป็นความรักต่างวัยที่บริสุทธิ์ไร้เดียงสา 
    เป็นความพลาดพลั้ง หรือเป็นการหลอกลวง 
    ประเด็นเหล่านี้ถือเป็นหัวข้อสนทนาในแวดวงการศึกษา ที่ผลักดันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทบทวน พิจารณาประเมินปัญหากันเสียที..หรือไม่
ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ครู

(อ.สมพงษ์ จิตระดับ)


    อ.สมพงษ์ จิตระดับ สะท้อนทางออกว่า แม้ปัญหาที่เกิดขึ้นจะพบได้บ่อย แต่ทว่าขั้นตอนในการคัดกรองของครูที่จะเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร จำเป็นต้องเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมมากกว่าข้อสอบพื้นฐานทั่วไปแล้ว นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพจิตเพื่อป้องกันปัญหาเชิงชู้สาว กระทั่งระบบการตรวจสอบของภาครัฐเอง ที่ไม่ควรจบลงด้วยความรอมชอมยอมความจากอามิสสินจ้าง อีกทั้งผู้บริหารและครูก็ต้องรู้กฎหมายเพื่อคอยสอดส่องและป้องกันปัญหาดังกล่าวร่วมกัน
    “ผมคิดว่า 4 ข้อต่อไปนี้สังคมต้องให้ความสำคัญ ข้อที่ 1 การคัดเลือกผู้ที่สอบเป็นครู กระทั่งเข้ามาเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ต้องเน้นเรื่องการคุณธรรมจริยธรรมในการเข้าสู่วิชาชีพครู เพราะเรื่องนี้มีความสำคัญมากกว่างานเอกสารอื่นใด เพราะหากคุณธรรมข้อนี้สามารถป้องกันปัญหาชู้สาวดังกล่าวได้


    ข้อที่ 2 สิ่งที่ ผอ.คนดังกล่าวทำสะท้อนให้เห็นว่าเขาควรที่จะได้รับการวินิจฉัย หรือตรวจสุขภาพจิตย้อนหลัง เพื่อให้รู้ถึงรสนิยม ตลอดจนค่านิยม เนื่องจากก่อนนี้ก็เคยเกิดเหตุในลักษณะคล้ายกันไม่ต่ำกว่า 3-4 คน ดังนั้นจำเป็นต้องตรวจสุขภาพจิตเพื่อหาสาเหตุพฤติกรรมดังกล่าว
    ส่วนข้อที่ 3 เรื่องการตรวจสอบความผิดทางวินัย ของคณะกรรมการด้านการศึกษา ซึ่งบทลงโทษจะมีลักษณะคุ้มครองผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก หรือช่วยปกป้องกันพวกเดียวกัน และสุดท้ายก็มักจะจบลงด้วยการรอมชอมหรือการให้เงิน นั่นเป็นระบบราชการที่เกิดขึ้น ดังนั้นถ้าไม่อยากให้การตรวจสอบความผิดทางวินัยบกพร่องและอ่อนแอ ก็ควรมีการตรวจสอบจากคนภายนอก ไม่ใช่ตัดสินว่ามีความผิดจริง และก็สั่งลงโทษด้วยการย้ายไปทำงานที่อื่น ประเด็นเหล่านี้ต้องมีการสังคายนาอย่างจริงจังเกี่ยวกับระบบการศึกษา เพราะปัจจุบันบกพร่องมาก และต้องเร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าว 
    ข้อที่ 4 ส่วนตัวผมคิดว่า เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว ต้องมีระบบกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง หมายความว่าพ่อแม่ ครู และผู้บริหารสถานศึกษาเองไม่รู้กฎหมาย ทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายคุ้มครองเด็ก รู้แต่ความผิดทางวินัยเพียงอย่างเดียว ดังนั้นกลุ่มคนที่กล่าวมาจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องกฎหมาย โดยเฉพาะครูผู้สอนและผู้บริหารจำเป็นต้องรู้ให้มากและลึกที่สุด เพราะอยู่ใกล้เด็กมากที่สุด ซึ่งเป็นแนวทางป้องกันปัญหาสังคมดังกล่าวได้”
ครูคนแรกที่บ้าน..อย่าละเลย

(อ.ไพฑรูย์ ปานประชา)


    ด้าน อ.ไพฑรูย์ ปานประชา ข้าราชการบำนาญ นักวิชาการวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม บอกว่า เรื่องการขาดความรักเนื่องจากครอบครัวที่แตกแยก ทำให้เด็กวัยรุ่นคนดังกล่าวต้องอยู่กับผู้สูงวัย นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำเด็กเหงา โดดเดี่ยว และถูกชักจูงใจจากผู้ที่หยิบยื่นความรักมาให้ กระทั่งเกิดเป็นปมปัญหาดังกล่าว 
    “ผมมองว่าเด็กเป็นวัยที่เปรียบได้กับผ้าขาว โดยเฉพาะวัย 3-10 ปีนั้น เป็นช่วงของการที่เด็กกำลังหาต้นแบบยึด แต่ในกรณีดังกล่าวเด็กอยู่กับยาย เนื่องจากครอบครัวหย่าร้าง ตรงนี้ทำให้เด็กว้าเหว่ หรือพูดง่ายๆ ว่าขาดความรัก ดังนั้นเมื่อโตพอรู้เรื่องความรัก และมีคนที่มาพูดถูกใจ หรือมาเสนอความรู้สึกดีๆ ให้ เด็กก็จะตอบสนองทันที หรือรีบคว้าความรู้สึกดังกล่าวไว้ กระทั่งเกิดเป็นปัญหาสังคม ดังนั้นครอบครัวที่อบอุ่นเป็นหนทางปัญหาเรื่องนี้ได้ และปัจจัยอื่นๆ เช่น การที่เด็กเข้าถึงสื่อลามกในออนไลน์ได้ง่าย ก็มีส่วนกระตุ้นความอยากรู้อยากลอง นอกจากนี้ กลุ่มเพื่อน หรือที่เรียกกันว่า “peer group” ก็สำคัญมาก เพราะเด็กยุคใหม่จะเชื่อเพื่อน เนื่องจากพูดภาษาเดียวกัน เช่น หากเด็กมีการโอ้อวดกันเรื่องกันเรื่องเพศ ก็มีโอกาสทำให้ประพฤติตนไม่เหมาะสมได้ ดังนั้นกลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลที่จะทำให้เด็กไปในทิศไหนด้วยเช่นกัน 
    นอกจากเรื่องความอบอุ่นในครอบครัวแล้ว การที่พ่อแม่สร้างความภูมิใจเล็กน้อยให้กับลูก เช่น ให้เด็กออกความคิดเห็นเรื่องไปเที่ยว ตรงนี้เด็กจะรู้สึกได้รับการยอมรับและรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อมีปัญหาเด็กจะกล้าคุยกับผู้ปกครองมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กๆ ที่สำคัญการบังคับใช้กฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ พูดง่ายๆ ว่าต้องตัดสินในเรื่องนั้นๆ ให้จริงจัง ไม่ใช่แค่การย้ายที่ทำงาน หรือติดคุก เนื่องจากเขาอาจจะออกมาทำผิดในลักษณะชู้สาวดังกล่าวได้ ปิดท้ายกันที่การตรวจสอบเรื่องสุขภาพจิตของผู้ที่จะเข้ามาทำงานเป็นครูอาจารย์ที่ต้องอยู่กับเด็กเยอะๆ ก็สำคัญ ยกตัวอย่าง ผอ.ที่เป็นข่าว ทั้งนี้ เพื่อทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วเขา มีปัญหาอะไรในวัยเด็ก เพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขไม่ให้ปัญหาชู้สาวที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นอีก”

(ทิชา ณ นคร)


    ปิดท้ายกันที่ ทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก บอกว่า “มุมมองส่วนตัวคิดเรื่องแรกอย่างการเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรมอย่างเคร่งครัดให้กับข้าราชการครู เพราะเป็นองค์กรที่ต้องเจอกับเด็กซึ่งเป็นวัยที่อ่อนต่อโลก ที่สำคัญอย่าตั้งคำถามกับเด็กเยอะ เพราะอย่างไรเสียเด็กก็เป็นเหยื่อของผู้ใหญ่อยู่แล้ว นอกจากนี้ การที่คนในองค์กรเห็นสัญญาณไม่เหมาะสมดังกล่าวก็ไม่ควรที่จะนิ่งเฉย แต่ต้องร่วมมือร่วมใจกันออกมาสะท้อนว่าเป็นเรื่องที่ผิดและไม่สมควรกระทำ แม้ว่าสังคมไทยจะเป็นสังคมอุปถัมภ์ ดังนั้นเมื่อผู้ใหญ่ในหน่วยงานซึ่งเป็นผู้ที่ทำดีกับเราอย่างไรทำความผิด แต่อย่าลืมว่าความถูกต้องย่อมมาก่อน ความกลัวและความเกรงใจ ทุกอย่างมันต้องใช้ความร่วมมือกันทุกฝ่ายในการป้องกันปัญหานี้ค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"