คมนาคมช่วยลดฝุ่นควัน


เพิ่มเพื่อน    


    หลังจากกรมควบคุมมลพิษได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เกินมาตรฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ส่งผลให้หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างลุกขึ้นมาหามาตรการลดการเกิดฝุ่นครัวในหลากหลายแนวทาง
    มาที่กระทรวงคมนาคมได้ประชุมมาตรการรองรับแก้ไขปัญหามลพิษ โดยได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จากปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ได้มีมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ประกอบด้วย รถโดยสาร ขสมก.ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล จำนวน 2,075 คัน ที่มีปัญหาควันดำและไอเสีย ซึ่งได้มอบหมาย ขสมก.ดำเนินการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องรถทุกคัน, มอบกรมการขนส่งทางบกจัดทีมตรวจสภาพรถและควันดำ หากพบให้หยุดวิ่งทันที
    ซึ่งขณะเดียวกันภายในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์นี้ ขสมก.จะเปลี่ยนไปใช้น้ำมันดีเซล B20 ซึ่งจะลดผลกระทบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 15% ลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ 33% ไฮโดรคาร์บอน 21% ลดฝุ่นละอองได้ 3.7% เมื่อเทียบกับน้ำมันดีเซลเดิม
    นอกจากนี้ได้สั่งให้หน่วยงานที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าในพื้นที่ กทม.ที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก พิจารณาให้หยุดกิจกรรมการก่อสร้างในชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงเช้า-เย็น เพื่อลดฝุ่น และเป็นการระบายการจราจร เช่น ในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีส้ม และสายสีชมพู รวมถึงรถบรรทุกที่วิ่งเข้า-ออกโครงการก่อสร้างจะต้องทำความสะอาดล้อรถ ขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้จัดหารถฉีดพ่นน้ำ ลดฝุ่นละอองบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง จัดการจราจรให้รถวิ่งผ่านด่านเร็วขึ้น
    ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก เป็นอีกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สั่งการเข้มงวดตรวจสภาพรถที่ใช้งานบนท้องถนน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดจากสภาพตัวรถ โดยรถที่นำมาใช้งานบนท้องถนนต้องมีความมั่นคงแข็งแรง มีสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงมีค่าควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์ไม่เกินค่ามาตรฐานที่อาจส่งผลต่อสุขภาวะในระบบทางเดินหายใจของประชาชน
    โดยกรมได้กำหนดระยะเวลาของรถแต่ละประเภท ให้ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพกับกรมการขนส่งทางบก ดังนี้ รถบรรทุกทั้งประเภทส่วนบุคคลและสาธารณะ และรถโดยสารประเภทส่วนบุคคล กำหนดต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพปีละ 1 ครั้ง รถโดยสารสาธารณะ ได้แก่ รถโดยสารประจำทาง รถโดยสารไม่ประจำทาง และรถโดยสารขนาดเล็ก กำหนดให้ต้องตรวจสภาพ ปีละ 2 ครั้ง รถตู้โดยสารประจำทาง ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง และต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 10 ปี 
    อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพปีละ 2 ครั้ง ส่วนรถแท็กซี่ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีขึ้นไปนั้น ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพปีละ 3 ครั้ง และอายุการใช้งานไม่เกิน 9 ปี โดยทั้งหมดให้นับแต่วันจดทะเบียนครั้งแรก รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างและรถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถยนต์นั่งที่มีจำนวนที่นั่งเกิน 10 ที่นั่ง รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม ที่ได้รับความเห็นชอบให้จดทะเบียนเป็นรถส่วนบุคคล ต้องตรวจสภาพปีละ 1 ครั้ง 
    ส่วนกรณีรถไม่ผ่านการตรวจสภาพ ก็จะไม่สามารถชำระภาษีประจำปีได้ ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องเข้ารับการตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ และรถตู้ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี เพื่อเป็นการตรวจสอบสภาพตัวรถให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน และมีการบำรุงรักษาสภาพตัวรถให้มีความมั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอ ทั้งนี้ รถที่ผ่านการตรวจสภาพแล้วจะได้รับใบรับรองใช้เป็นหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีต่อไป
    ทั้งหมดนี้ถือเป็นความร่วมมือร่วมใจกันของหลายหน่วยงาน แม้จะยังสรุปสาเหตุไม่ได้ว่าฝุ่นควันนั้นเกิดมาจากจุดใด แต่เมื่อทุกคนช่วยกันป้องกันจากจุดเล็กๆ ก็จะสามารถบล็อกไม่ให้ฝุ่นควันขยายใหญ่ขึ้นได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"