‘จั๊ด ธีมะ’โพสต์แอดมิทกลางดึก เข้าผ่าตัดขยายรูทวาร!


เพิ่มเพื่อน    

 

          ต้องเข้าผ่าตัด เพราะมีอาการเจ็บบริเวณทวารหนัก ซึ่งผู้ประกาศข่าวหนุ่มฝีปากกล้า จั๊ด-ธีมะ กาญจนไพริน ได้โพสต์ภาพตนเองบนเตียงผู้ป่วย พร้อมเล่าถึงการเข้าโรงพยาบาลในครั้งนี้ด้วยโรค แผลปริที่ขอบทวารหนัก

          “เข้ารพ.ครั้งนี้ด้วยโรค แผลปริที่ขอบทวารหนัก” (Anal Fissure) ที่คนชอบเข้าใจผิดคิดว่าเป็นริดสีดวง เพราะมันจะเจ็บตูดตอนอึคล้ายกัน รูตูดทางเราเล็กกว่าปกติ เวลาอึแข็ง ก้อนใหญ่มันจะบาดตูดเป็นแผล หมอเลยผ่ารักษาแผลและขยายรูตูดให้เรา ความพีคคือหมอและทุกคนในห้องผ่าตัดล้วนรู้จักและเคยดูทางเรารายงานข่าว และเมื่อคืน พวกเขาได้แหกตูดทางเราลึกสุดใจ ไปสุดซอย ลึกแบบที่ทางเราเองยังไม่เคยแหกตูดตัวเองดูเช่นนั้นเลย คงได้แต่หวังว่าครั้งหน้าเมื่อทุกคนในห้องผ่าตัดดูข่าวเขาจะไม่นึกถึงรูตูดเราแค่นั้นก็พอ #สรุปคือ #ผ่าตัดขยายรูตูด #รักษาสุขภาพกันนะคุณนะ #รูตูดต้องดูแล”

 

          ซึ่งหากใครอยากรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าว ทางแอดมินได้นำบทความบางตอนเกี่ยวกับ แผลปริที่ขอบทวารหนัก มาฝาก

 

ความรู้เกี่ยวกับ แผลรอยแยกขอบทวารหนัก

          แผลรอยแยกขอบทวารหนัก หรือ แผลปริขอบทวารหนัก (Anal fissure) คือโรคที่มีแผลรอยแยก/แผลปริที่ขอบทวารหนัก สาเหตุหลักคือ จากการถ่ายอุจจาระก้อนที่ใหญ่และแข็งจนเกิดการครูดบาดทวารหนักและกลายเป็นแผล ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บรูทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระ อาจมีเลือดออกเล็กน้อย แผลรอยแยก/ปรินี้อาจเป็นเพียงแค่ชั่วคราวหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังก็ได้ การรักษามีทั้งการใช้ยาและการผ่าตัดร่วมกับการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระ

          โดยแผลรอยแยกขอบทวารหนักพบได้ในทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ และทุกวัยตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยผู้สูงอายุ แต่พบมากในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและในวัยกลางคน

          การรักษาแผลรอยแยกขอบทวารหนักที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แนวทางการรักษาจะอาศัยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระเป็นหลัก หากได้รับการรักษานาน 3 - 4 สัปดาห์ไปแล้วอา การไม่ดีขึ้นก็จะพิจารณาการผ่าตัดรักษาต่อไป สำหรับการรักษาแผลรอยแยกขอบทวารหนักเรื้อรัง จะอาศัยการผ่าตัดเป็นหลักร่วมไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายอุจจาระ

การดูแลตนเองและการป้องกันโรคแผลรอยแยกขอบทวารหนักคือ

          1. ในแต่ละวันควรกินอาหารที่มีกากใยให้ได้ปริมาณที่เหมาะสมที่ทำให้ถ่ายอุจจาระได้ทุกวัน ป้องกันอาการท้องผูก โดยเฉลี่ยควรได้รับใยอาหารวันละประมาณ 25 - 30 กรัม โดยผักและผลไม้ที่มีใยอาหารมากเช่น มะเขือพวง ใบชะพลู ใบขี้เหล็ก คะน้า ถั่วฝักยาว ข้าวโพดอ่อน แครอด มะม่วงดิบ มะละกอสุก ฝรั่ง แอปเปิล เป็นต้น รวมถึงธัญพืชต่างๆเช่น งา ถั่วเขียว ถั่วแดง รำข้าว ถั่วลิสง ข้าวโอต (Oat) ข้าวโพดต้ม แต่ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยที่ย่อยยาก กากใยแหลมคมได้แก่ ถั่วเปลือกแข็ง (Nuts) เช่น อัลมอนด์ (Almond) พิสตาชิโอ (Pistachio) วอลนัท (Walnut) เม็ดมะ ม่วงหิมพานต์ และข้าวโพดคั่ว ข้าวโพดที่เป็นแผ่นกรอบ (Chips) เป็นต้น

          2. ดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้วเมื่อไม่มีโรคต้องจำกัดน้ำดื่มเพื่อช่วยให้อุจจาระไม่แข็ง ช่วยป้องกันท้องผูก

          3. ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายสม่ำเสมอเพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหว ขับถ่ายได้สะดวก ท้องไม่ผูก

          4. หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุให้ท้องผูกเช่น ชา กาแฟ อาหารประเภทแป้งแปรรูป (เช่น ขนมต่างๆ) และเนื้อสัตว์ มากเกินไป

          5. หากมีอาการท้องผูกต้องรีบดูแลรักษา

          6. หากมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว/ท้องเสียบ่อยหรือเรื้อรัง ควรรีบพบแพทย์และรักษาเช่นกันเพราะ เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคนี้

          7. สำหรับในเด็กทารกหากอุจจาระแข็งถ่ายยาก อาจต้องลองเปลี่ยนชนิดนมที่กินและให้ดื่มน้ำร่วม ด้วย

          8. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางทวารหนัก

 

 

ขอบคุณบทความบางตอนจาก

http://haamor.com/th/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81/#article102 เขียนโดย แพทย์หญิง สลิล ศิริอุดมภาส (วว. พยาธิวิทยากายวิภาค)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณภาพประกอบจากเพจ JudgeJudd


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"