”ลงทุน”กระตุ้นห่วงโซ่ 


เพิ่มเพื่อน    


    ในปี 2562 แนวโน้มที่ดีของเม็ดเงินก่อสร้างจากภาครัฐที่จะเข้าสู่ระบบที่สูงขึ้น ซึ่งจะมีบทบาทกระตุ้นห่วงโซ่อุปทานทั้งในส่วนต้นน้ำ คือกลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มปลายน้ำ คือกลุ่มผู้รับเหมาช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเมินต่อไปในช่วงปีถัดๆ ไป หรืออย่างน้อยในปี 2563 ที่คาดว่าการเบิกจ่ายเงินสำหรับการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นอีก
    ทั้งนี้ สถาบัน Economic Intlelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) ได้ประเมินถึงภาพรวมการก่อสร้างของไทยในปี 2562 ซึ่งคาดว่ามูลค่าการก่อสร้างรวมของไทยมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นราว 6.5% เป็น 1.38 ล้านล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวขึ้นของปริมาณ และมูลค่าโครงการก่อสร้างทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยการก่อสร้างภาครัฐคาดเติบโตราว 9% เป็นมูลค่าราว 8.15 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
    รวมไปถึงการก่อสร้างภาคเอกชนคาดเติบโตราว 3.5% เป็นมูลค่าราว 5.6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าและโครงการอาคารพาณิชยกรรมประเภทสำนักงานและโครงการมิกยูสซ์เป็นหลัก ซึ่งการขยายตัวของมูลค่าก่อสร้างส่งผลบวกโดยตรงต่อผู้ประกอบการที่อยู่ใน value chain ของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ได้แก่ ที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาช่วงที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง เช่น งานฐานราก งานก่อสร้าง งานตกแต่งภายใน และผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการควรเตรียมทรัพยากรให้พร้อมสำหรับงานเหล่านี้
    โดยมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐของไทยมีแนวโน้มเติบโตราว 9% ขึ้นมาอยู่ในระดับ 8.15 แสนล้านบาท ในปี 2562 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการขยายตัวของโครงการก่อสร้างทั่วไป และโครงการเมกะโปรเจ็กต์ด้านคมนาคม โดยในส่วนการก่อสร้างโครงการทั่วไป เช่น การก่อสร้างและบำรุงรักษาถนน ระบบน้ำ และสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานภาครัฐ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสะท้อนจากการปรับเพิ่มขึ้นของงบประมาณการลงทุนของหน่วยงานราชการหลักในปี 2562 ได้แก่ กรมทางหลวงมีการเติบโต 13% มาอยู่ที่ 1.13 แสนล้านบาท, กรมชลประทานมีการเติบโตราว 31% มาอยู่ที่ 5.9 หมื่นล้านบาท
    ส่วนกรมทางหลวงชนบทมีการเติบโตราว 1% มาอยู่ที่ 4.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่งบประมาณการลงทุนของกรมโยธาธิการและผังเมืองลดตัวเล็กน้อยราว 2% มาอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้การเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุนในไตรมาสแรกของปีนี้สามารถเบิกจ่ายได้ 12.8% ซึ่งอยู่ในกรอบค่าเฉลี่ยของการเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่ 9.3%-19.7%
    สำหรับโครงการเมกะโปรเจ็กต์คมนาคม โครงการสำคัญที่ดำเนินการต่อเนื่องอยู่ในปัจจุบันยังคงอยู่ที่การพัฒนาโครงการระบบขนส่งทางราง ทั้งในบริเวณกรุงเทพฯ ปริมณฑลและภูมิภาค ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล อาทิเช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงินลงทุน 5.9 หมื่นล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสีส้มฝั่งตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) วงเงินลงทุน 1.1 แสนล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) วงเงินลงทุน 5.7 หมื่นล้านบาท
    และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) วงเงินลงทุน 5.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งทั้ง 4 โครงการมีความคืบหน้า ณ เดือน พ.ย.2018 อยู่ราว 85.8%, 22.8%, 11.8% และ 11.5% ตามลำดับ และโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 700 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวมราว 9.6 หมื่นล้านบาท ที่มีความคืบหน้าราว 7.3% ในช่วงเวลาเดียวกัน
    นอกจากนี้ ยังมีมอเตอร์เวย์เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา และเส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ซึ่งมีวงเงินลงทุนราว 8.5 และ 5.7 หมื่นล้านบาทตามลำดับ รวมถึงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 ที่มีโครงการก่อสร้างการดำเนินการของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) ซึ่งโครงการคมนาคมทั้งในระบบการขนส่งทางบก น้ำ และอากาศ เหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญของอุตสาหกรรมก่อสร้างในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า
    สำหรับโครงการเมกะโปรเจ็กต์คมนาคมที่เริ่มประมูลในปลายปี 2561 และในระยะกลาง ยังคงโฟกัสอยู่ในบริเวณอีอีซี, โครงการรถไฟฟ้าในบริเวณกรุงเทพฯ และโครงการรถไฟทางคู่ในภูมิภาค และโครงการทางด่วนพิเศษ สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่ถูกผลักดันจากนโยบายอีอีซี ส่วนใหญ่เป็นโครงการส่งเสริมทั้งในด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยโครงการที่มีการประมูลแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่มีมูลค่าการลงทุนถึง 2.4 แสนล้านบาท
    อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเมื่อการก่อสร้างโครงการต่างๆ แล้วเสร็จ คาดว่าเมืองไทยจะกลายเป็นฮับหรือศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างแน่นอน.

ศรยุทธ เทียนสี​​​​​​​


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"