เพจไทยคู่ฟ้าแจงตีตรวน'ฮาคีม'เป็นไปตามหลักสากล!


เพิ่มเพื่อน    

12 ก.พ.62- เพจไทยคู่ฟ้าของรัฐบาล ชี้แจงกรณีการ ควบคุมผู้ต้องขังไทย เป็นไปตามหลักสากลว่า

หลายวันก่อนมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการควบคุมตัวอดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน ที่ถูกพันธนาการบริเวณข้อเท้าโดยใช้โซ่ตรวน ขณะเดินทางไปขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน

จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องกับหลักสากล และมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แท้ที่จริงสิ่งที่ผู้ต้องขังสวมใส่นั้นเป็น “กุญแจเท้า” ไม่ใช่ตรวนแต่อย่างใด

การใช้กุญแจเท้าดังกล่าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และกระทำได้ก็ต่อเมื่อจำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้กระทำผิดหลบหนี แต่ก็ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย

พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 21 บัญญัติไว้ว่า ห้ามใช้เครื่องพันธนาการแก่ผู้ต้องขัง เว้นแต่กรณี ดังต่อไปนี้

(1) ผู้ต้องขังมีพฤติการณ์ที่จะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น 
(2) ผู้ต้องขังมีพฤติกรรมหรืออาการส่อว่าเป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตไม่สมประกอบซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของตนเองหรือผู้อื่น 
(3) ผู้ต้องขังมีพฤติการณ์ที่น่าจะหลบหนีการควบคุม 
(4) เมื่อผู้ต้องขังถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำ และเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีหน้าที่ควบคุมเห็นเป็นการสมควรที่จะต้องใช้เครื่องพันธนาการ 
(5) เมื่ออธิบดีสั่งว่าเป็นการจำเป็นต้องใช้เครื่องพันธนาการ เนื่องจากสภาพของเรือนจำสภาพของท้องถิ่น หรือเหตุจำเป็นอื่น

ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงถือปฏิบัติตามหลักกฎหมาย เพื่อป้องกันการหลบหนี ขณะที่ผู้ต้องขังถูกคุมตัวไปนอกเรือนจำ

นอกจากนี้ ผู้ต้องขังรายนี้เป็นที่สนใจของสังคม และเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เจ้าหน้าที่จึงพิจารณาเห็นสมควรใส่กุญแจข้อเท้า ซึ่งไม่ใช่การทรมานผู้ต้องขัง แต่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการควบคุม

อีกมุมหนึ่งนั้น ไทยเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำมากที่สุดในกลุ่มอาเซียน โดยมีจำนวนมากกว่าศักยภาพที่เรือนจำทั้งหมดจะรองรับได้ถึง 2 เท่า หรือมีอัตราการกักขัง (Occupancy Level) กว่า 224%

ในขณะที่อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมีประมาณ 12,000 นาย เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 1 นาย ต้องดูแลผู้ต้องขังถึง 30 คน ดังนั้น การควบคุมผู้ต้องขังที่ออกไปภายนอกเรือนจำโดยใช้เครื่องพันธนาการจึงมีความจำเป็น

นอกจากนี้ หากเกิดเหตุผู้ต้องขังหลบหนีระหว่างการควบคุมอาจเป็นภัยต่อสังคม ส่วนเจ้าหน้าที่ก็จะถูกตั้งกรรมการสอบสวน หรืออาจโดนข้อหาละเว้น หรือละเลย ประมาทระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ได้

ทั้งหมดนี้ จึงเป็นการยืนยันว่า การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของเจ้าหน้าที่เป็นการทำตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และสอดคล้องกับหลักสากลที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิมนุษยชนอีกด้วย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"