3สารเคมีได้ไปต่ออย่างน้อยอีก2ปี ก.เกษตรฯ เสนอเอง อ้างถ้าเลิกภายใน1ปี กระทบเกษตรกรแน่


เพิ่มเพื่อน    

14 ก.พ.62- ภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายทบทวนการอนุญาตใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด พาราควอต , ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอต  นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  จากการที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติเสนอให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 3ชนิด ภายในปี 2562 ว่า กระทรวงเกษตรฯพร้อมดำเนินการตามมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย หากให้ยกเลิกภายในปีนี้ จะมาเร่งรัดกระบวนการสร้างความเข้าใจ และหาแนวทางทดแทนให้กับเกษตรกร 5.7 ล้านครัวเรือน หรือ 25 ล้านคน ที่คุ้นเคยกับการใช้สารเคมีมานาน  หันไปใช้สารทดแทนชนิดอื่น      อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯได้เสนอความเห็นในที่ประชุม ว่า ควรใช้ระยะเวลา 2 ปีในการหานวัตกรรมใหม่ๆมาทดแทน โดยระหว่างนี้ทุกส่วนต้องเร่งทำเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ ให้เต็มพื้นที่เกษตรทั่วประเทศ 149 ล้านไร่ และกระทรวงฯ เกษตรฯจะเร่งพัฒนาการทำเกษตรเป็นเกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ โดยยก จังหวัดยโสธร เป็นต้นแบบ เพราะปัจจุบันพื้นทีเกษตรเป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งจังหวัด จากนี้ภายใน 2 ปี หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯจะจูงใจเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร เข้ามาทำเกษตรปลอดภัย ปล่อยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ และหาตลาดเข้ามารองรับสินค้าให้เลย

          “หากให้เลิกใช้สารเคมีใน 1 ปี เรากังวลว่า จะมีผลกระทบกับเกษตรกรจำนวนมาก และการเผาซากพืชจะมีมากขึ้น เพราะใช้ยาปราบศัตรูพืชไม่ได้   จึงได้มีข้อเสนอต่อคณะกรรมการฯใช้เวลาปรับวิธีปฏิบัติทำเกษตรปลอดภัยทั่วประเทศใน 2 ปี   ผมยืนยันจะทำให้เห็นเป็นแผนชัดเจน เป็นรูปธรรม ซึ่งรู้ว่าจะต้องโดนกระแสโจมตีจากกลุ่มที่ต้องการให้ยกเลิก แต่หากให้เลิกภายใน 1 ปี ก็สามารถทำได้ และถ้ามีผลกระทบเกิดขึ้นกับเกษตรกร อย่ามาต่อว่ากระทรวงเกษตรฯ”นายกฤษฏา กล่าว
    ในการประชุมดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯโดยกรมวิชาการเกษตร ได้ส่งร่างแผนปฏิบัติการยกเลิกการใช้ 3 สารเคมี ในการดำเนินการตามมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด ดังนี้
          1.กรมวิชาการเกษตรได้เสนอร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ในการจำกัดการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ซึ่งต่อมาคณะกรรมการวัตถุอันตรายเพิ่งมีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 กำลังพิจารณาร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว
          2.กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจำกัดปริมาณการนำเข้าสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 โดยสามารถลดการนำเข้า สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ในปี 2562 ได้เท่ากับ21,709 ตัน 48,501 ตัน และ 1,178 ตัน ตามลำดับ ซึ่งลดลงจากสถิติเฉลี่ยการนำเข้า ปี 2557 ถึง 2559 คิดเป็นร้อยละ 25 (พาราควอตและไกลโฟเซต) และร้อยละ 55 ตามลำดับ
          3.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสารพาราควอต ผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็ปไซต์ของกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง Youtube และ Facebook ซึ่งได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารพาราควอตเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้ได้จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สารไกลโฟเซต และ สารคลอร์ไพริฟอส ที่ถูกต้องเพื่อเผยแพร่ต่อไป
          4.กรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมให้ความรู้โครงการนำร่องทดสอบหลักสูตร ผู้พ่นสาร พาราควอตเพื่อกำจัดวัชพืชในมันสำปะหลังและอ้อยในจังหวัดนครราชสีมาและนครปฐมแล้ว รวมทั้งสิ้น 100 คน
          5.จัดทำโครงการวิจัยเพื่อลดการใช้สารเคมีและหาวิธีการทดแทนการใช้สารเคมี รวมทั้งศึกษาผลกระทบของสารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ผลิต และผู้บริโภค ซึ่งได้เสนอขอรับทุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนา การวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2562 รวมระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี
          ปัจจุบันมีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เรียกร้องต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ยกเลิกการใช้สารทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวในการทำเกษตรกรรม ประกอบกับประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีความเห็นให้มีการยกเลิกการใช้สารพาราควอตด้วย นั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ขอเรียนว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกฤษฎา บุญราช) พร้อมทั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 2 ท่าน รวมทั้งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดีกรมวิชาการเกษตร
          กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมพัฒนาที่ดิน และเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ประชุมหารือเกี่ยวกับการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว และได้มีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
          1.ไม่เห็นด้วยกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและชีวิตมนุษย์
          2.ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้มีอาชีพเกษตรกรรม 5.7 ล้านครอบครัว รวม 25 ล้านคน มีพื้นที่ทำการเกษตร 149ล้านไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกับการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด ในการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชมาเป็นเวลานาน เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีและมีต้นทุนต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานและวิธีการทางการเกษตรอื่น ๆ ประกอบกับมีนักวิชาการบางกลุ่มให้ข้อมูลว่าหากมีการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ผู้ใช้ก็ยังคงมีความปลอดภัย
          ดังนั้น เพื่อให้การประกาศยกเลิกการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกษตรกรมีเวลาปรับตัวในการลด ละ และเลิกใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
          (1) ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเร่งรัดการพิจารณาออกประกาศตาม พ.ร.บ. 5 ฉบับ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อกำหนดเงื่อนไขการใช้สารเคมีดังกล่าวคือ
          - การกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ใช้ ผู้จำหน่าย ผู้ให้บริการพ่นสารเคมีจะต้องผ่านการอบรมก่อน รวมทั้งกำหนดให้มีการปิดฉลากที่เห็นได้ชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์ของวัตถุอันตราย ทั้ง ๓ ชนิดที่สื่อความหมายว่าสารเคมีดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตมนุษย์
          - การประกาศเขตห้ามใช้/ครอบครอง/จำหน่ายสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ในพื้นที่ต้นน้ำตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          (2) กรมวิชาการเกษตร จะควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตรายทั้ง ๓ ชนิด อย่างต่อเนื่องตาม แผนดำเนินการที่กำหนดไว้ในปี ๒๕๖๒ และในปีต่อ ๆ ไป
          3. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้มอบหมายให้หน่วยราชการในสังกัดจัดทำแผนปฏิบัติการเร่งรัดขยายการทำการเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) และหรือเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ให้ได้ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 5 ฉบับ มีผลบังคับใช้และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับภาควิชาการ และหรือภาคเอกชนได้ทำการศึกษาวิจัยแล้วหาวิธีการหรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชให้ได้ภายใน 2 ปี
          4. ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้มีมติให้ทุกส่วนราชการสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนมาตรการจำกัดการใช้สารพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส
          5. เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการมาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตรายทั้ง3 ชนิด ครบกำหนด 2 ปี นับตั้งแต่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 5 ฉบับ มีผลบังคับใช้ ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาประกาศยกเลิกการใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด หรือพิจารณาดำเนินการด้วยวิธีอื่นในการทำเกษตรกรรมต่อไป
    ด้านศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊ค Thiravat Hemachudha เนื้อหาหลักๆว่านึกไม่ถึงว่าเวลาให้ข่าวกับสื่อมวลชน จะแถลงว่าเป็นห่วงเป็นใยประชาชนคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก
แล้ว ต่ออายุการใช้งาน ไปอีกทั้งทั้งที่ตามมติปี 2560 ของกระทรวงสาธารณสุขมีเวลาให้จนถึงสิ้นปี 2562 เช่นเดียวกับมติของท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน  การอ้างมาตรการทดแทนว่าไม่พร้อมนั้นไม่จริงเด็ดขาดเป็นการโกหกประชาชนทั้งประเทศ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"