'ส.ศิวรักษ์'เปิดใจเหตุเท'ทักษิณ'เพราะใช้อำนาจเงินซื้อ'คนข้างล่าง' ยอมรับเคยอุ้มยังถูกหลอก


เพิ่มเพื่อน    

16 ก.พ.62-หลังสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์  "ปัญญาชนสยาม" และนักคิด นักประวัติศาสตร์  ให้สัมภาษณ์บีบีซีไทย ถึงปรากฏการณ์ 8 กุมภาฯ ปรากฎว่าถูกลูกศิษย์ลูกหาคนใกล้ชิดบางส่วนไม่เห็นด้วย พร้อมโพสต์ข้อความในเชิงสั่งสอนกลับ ทำให้ ส.ศิวรักษ์  ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัว Sulak Sivaraksa  ชี้แจงประเด็นนี้

ผมถือว่าเป็ดเป็นกัลยาณมิตร ซึ่งกล้าพูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องถูกใจผม เรื่องคนข้างล่างนั้น เป็ดลืมไปแล้วหรือว่าผมยืนอยู่ข้างสมัชชาคนจนอย่างไร ผมไปถูกจับที่เมืองกาญจน์ นั่นผมอยู่ฝ่ายไหน

ปาฐกถาที่ผมพูดดีที่สุด คือตอนที่แสดงงานเปิดอนุสาวรีย์เจริญ วัดอักษร ซึ่งแปลเป็นอังกฤษแล้วด้วย เป็ดน่าจะหาอ่านได้ จนถึงทุกวันนี้กระรอกก็ยังเห็นผมเป็นกัลยาณมิตรกับพวกเขาที่ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมมาโดยตลอด

การที่คนข้างล่างเป็นจำนวนไม่น้อยเลือกทักษิณ ชินวัตรนั้น เป็ดต้องอย่าลืมอำนาจเงินในสมัยนี้ เนวินดีกว่าทักษิณหรือไม่ บรรหารเป็นคนเช่นไร คนเหล่านี้ได้คะแนนเสียงอย่างท่วมท้นจากจังหวัดของเขา แม้ผมเองยังถูกทักษิณหลอก ผมเคยอุ้มทักษิณมาปีหนึ่ง แล้วก็ทุ่มมันลงไป น่าสงสาร อ.หมอเสม ซึ่งเคยอุ้มทักษิณมาเช่นเดียวกับผม แต่ท่านละอายใจโดยไม่กล้าโยนมันทิ้งไป เป็นเหตุให้ท่านถูกด่าไม่ใช่น้อย

ผมไม่ทราบว่าเป็ดสนใจเรื่องพวกนี้แค่ไหน

สำหรับ "เป็ด" ที่ส.ศิวรักษ์ กล่าวถึงคือ  นายพิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปล คอลัมนิสต์เว็บไซต์ประชาไท ที่โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Pipob Udomittipong ระบุว่า

เนื่องด้วยบทสัมภาษณ์ https://www.bbc.com/thai/thailand-47242827 ผมขออนุญาตวิจารณ์ความเห็นของครูที่ชุบเลี้ยงผมมา 2 ข้อ (1) อาจารย์ Sulak Sivaraksa บอกว่า “เมื่อประกาศออกมาแล้ว ในสังคมไทย วัฒนธรรมไทย คำประกาศนั้นศักดิ์สิทธิ์ ไม่สามารถที่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้” ดูเหมือนอาจารย์จะพอใจกับระบอบปกครองก่อน 2475 อย่างชัดเจน

แต่ผมเห็นว่าโลกเปลี่ยนแล้ว ผมสงสารลูกผม (ซึ่งเป็นหลานของอาจารย์) และคนรุ่นหลังที่ต้องการระบอบปกครองที่เสียงของพวกเขามีน้ำหนัก และผู้ปกครองต้อง accountable และรับฟังเสียงจากคนอื่น ๆ ด้วย รวมทั้งการเคารพกฎและกติกาที่ตกลงร่วมกันที่เราเรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” สร้าง “ระบบ” มากกว่าการยึดติดกับ “บุคคล”

ทราบว่าอาจารย์อยู่ระหว่างฮันนีมูนกับพี่นิลที่ปีนัง ขอให้สนุกนะครับ เชื่อว่าอาจารย์น่าจะพอใจกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชาธิปไตยที่นั่น เชื่อว่าอาจารย์คงพอใจกับรูปแบบสถาบันกษัตริย์ที่นั่น ซึ่ง “above politics” อย่างแท้จริง เชื่อว่าอาจารย์คงเฝ้ารอวันที่อันวาร์ อิบราฮิม ยุวมิตรของอาจารย์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ตามขั้นตอนของประชาธิปไตยที่เสียงประชาชนเป็นใหญ่ ไม่มีการแทรกแซงของอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ

(2) อาจารย์วิจารณ์ #ทักษิน กับการเสนอชื่อแคนดิเดตครั้งนี้ว่าเป็นเพราะ “เขามีความเป็นไทยน้อยมาก” และ “ไม่เข้าใจวัฒนธรรม (ไทย) ที่ลึกซึ้ง” ถ้าบอกว่า #ทักษิน ไม่เข้าใจวัฒนธรรมชนชั้นสูงดีพอ ผมอาจเห็นด้วย แต่ถ้าบอกว่าเขาไม่เข้าใจวัฒนธรรมคนชั้นล่างที่เป็น “คนส่วนใหญ่” ของประเทศ ผมขอเห็นต่างครับ เพราะมันจะอธิบายไม่ได้เลยว่า ทำไมเขาสามารถครองใจประชาชนได้อย่างยาวนาน พรรคของเขาชนะการเลือกตั้งทุกครั้งที่ผ่านมา เขาเป็นเพียง “con artist” ในสายตาของอาจารย์หรือครับ ถ้าใช่ “myth” ตรงนี้เองที่ทำให้สังคมไทยจมอยู่ในปลักมาจะเกือบ 2 ทศวรรษแล้ว

ผมทราบดีว่าอาจารย์เก่งและเชี่ยวชาญวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชนชั้นสูง ชีวประวัติบุคคลที่อาจารย์เขียนล้วนแต่เป็น “เจ้า” หรือเกี่ยวดองกับ “เจ้า” ทั้งนั้น ที่เป็น “ไพร่” ไม่มี หรือมีน้อยมาก ๆ ข้อนี้ผมเคยวิจารณ์ไปแล้วในงานเมื่อคราวอาจารย์ครบ 70 ปี.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"