เป็นล้านคนขอเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขต


เพิ่มเพื่อน    

    พรรคการเมืองจับไข้ผวาโดนเอาผิด  หลังผู้สมัคร ส.ส.ทั้งเขต-ปาร์ตี้ลิสต์หลายพรรคติดไฟแดง กกต.ไม่รับรองรายชื่อ รุมถามจะโดนทั้งอาญา-ปรับ-เพิกถอนสิทธิ 20 ปีหรือไม่ แต่ กกต.แบ๊ะๆ พบพรรคใหญ่-เล็ก ใหม่-เก่า ชื่อไม่ผ่านเพียบ  
    เมื่อวันที่ 19 ก.พ.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รวบรวมผลการประกาศรับรองผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตที่มีการส่งสมัครรับเลือกตั้งระหว่างวันที่ 4-8 ก.พ. จากพรรคการเมืองทั้งสิ้น 81 พรรค จำนวน 11,181 คน ซึ่งผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งทั้ง 350 เขต ได้ตรวจสอบคุณสมบัติและประกาศรายชื่อแล้วนำไปปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้ง หรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมา 
    โดยเป็นการประกาศรับรองรายชื่อผู้สมัครจำนวน 10,792 คน ไม่ประกาศรายชื่อจำนวน 389 คน ใน 55พรรคการเมือง โดยแยกเป็นผู้สมัครจากพรรคเพื่อนไทย 153 คน, มหาชน 20 คน, เศรษฐกิจใหม่ 16 คน,แทนคุณแผ่นดิน 14 คน, ครูไทยเพื่อประชาชน 12 คน,ประชาชาติ 11 คน, เพื่อแผ่นดิน 10 คน, เพื่อชาติ 10 คน, พลังท้องถิ่นไท 9 คน, ประชาชนปฏิรูป 8 คน, พลังปวงชนไทย 8 คน, พลังประชาธิปไตย 7 คน, ประชากรไทย 7 คน 
    และยังมีผู้สมัครของพรรคเสรีรวมไทย 6 คน, รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 6 คน, รวมพลังประชาชาติไทย 6 คน, พลังชาติไทย 5 คน, ประชาภิวัฒน์ 5 คน, ประชาไทย 5 คน, พลเมืองไทย 4 คน, ประชาธรรมไทย 4 คน, พลังไทยสร้างชาติ 4 คน, ชาติพัฒนา 4 คน, ไทยรักธรรม 4 คน, พลังไทยรักไทย 4 คน, ไทยศรีวิไลย์ 3 คน, พลังแรงงานไทย 3 คน, ผึ้งหลวง 3 คน, พลังสังคม 3 คน, พรรคกลาง 2 คน, สยามพัฒนา 2 คน, ประชาธิปไตยใหม่ 2 คน, ภูมิใจไทย 2 คน, ความหวังใหม่ 2 คน, พลังประชารัฐ 2 คน, พลังธรรมใหม่ 2 คน,อนาคตใหม่ 2 คน, คนงานไทย 2 คน ประชานิยม 1 คน, ถิ่นกาขาวชาววิไล 1 คน, สังคมประชาธิปไตยไทย 1 คน, พลังครูไทย 1 คน, เพื่อธรรม 1 คน
    รวมถึงผู้สมัครของพรรคเพื่อคนไทย 1 คน, ไทยรักษาชาติ 1 คน, ประชาธิปัตย์ 1 คน, พลังไทยรักชาติ 1 คน, รักท้องถิ่นไทย 1 คน, พลังคนกีฬา 1 คน, พลังรัก 1 คน, ภราดรภาพ 1 คน, แผ่นดินธรรม 1 คน, ภูมิพลังเกษตรกรไทย 1 คน, ภาคีเครือข่ายไทย 1 คน,พลังศรัทธา 1 คน
     ส่วนการประกาศรับรองรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่ 77 พรรคการเมืองส่งสมัคร จำนวน 2,917 คน โดย กกต.ประกาศรับรอง 2,810 คน โดยไม่รับรอง 107 คน 
    ซึ่งชื่อที่ไม่รับรอง ประกอบด้วย พรรคกรีน 3 คน,  ครูไทยเพื่อประชาชน 5 คน, ชาติไทยพัฒนา 1 คน,  แทนคุณแผ่นดิน 4 คน, ไทยธรรม 1 คน, ไทรักธรรม 1 คน, ประชากรไทย 3 คน, ประชาชนปฏิรูป 2 คน,  ประชาชาติ 2 คน, ประชาไทย 1 คน, ประชาธรรมไทย 5 คน, ประชานิยม 1 คน, ประชาภิวัฒน์ 5 คน, ผึ้งหลวง 8 คน, พลังชาติไทย 1 คน, พลังท้องถิ่นไท 5 คน, พลังไทยรักไทย 2 คน, พลังธรรมใหม่ 1 คน, พลังประชาธิปไตย 2 คน, พลังปวงชนไทย 3 คน, พลังสังคม 1 คน, เพื่อชาติ 7 คน, เพื่อแผ่นดิน 1 คน, ภูมิใจไทย 6 คน, มหาชน 3 คน, รวมพลังประชาชาติไทย 10 คน, เศรษฐกิจใหม่ 9 คน, สังคมประชาธิปไตยไทย 1 คน, เสรีรวมไทย 2 คน, อนาคตใหม่ 3 คน
    ทั้งนี้ ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ ที่ถูกสำนักงาน กกต. ตัดสิทธิ์สมัคร สามารถยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาภายในเวลา 7 วัน นับจากวันประกาศ (15 ก.พ.) เพื่อขอให้วินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ตามมาตรา 49 และมาตรา 59 ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.
    อย่างไรก็ตาม ก่อนวันที่ 15 ก.พ. ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตจะประกาศรับรองรายชื่อผู้สมัคร สำนักงาน กกต.ได้มีหนังสือด่วนที่สุด แจ้งไปถึงผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทั่วประเทศ ว่าในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้สมัครในระบบฐานข้อมูลสมาชิกพรรคที่สำนักงานส่งรายชื่อไปจำนวน 255 คน ให้ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งใช้ดุลยพินิจพิจารณาจากหลักฐาน 3 รายการที่ผู้สมัครนำมายื่นประกอบการสมัคร คือ สำเนาใบสมัครเป็นสมาชิกพรรค, สำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าบำรุงพรรค, สำเนาหลักฐานการลาออกจากสมาชิกพรรคการเมืองเดิม หากมีให้พิจารณารับสมัคร ทำให้ยอดผู้สมัครในส่วนนี้ไม่ถูกตัดสิทธิ์และได้รับการประกาศชื่อให้เป็นผู้สมัคร 
    ด้วยเหตุนี้ ผู้สมัครที่ถูกตัดสิทธิ์ไม่ได้รับการประกาศรายชื่อทั้ง 389 คน ส่วนใหญ่จึงเป็นกรณีการเป็นสมาชิกซ้ำซ้อน สังกัดพรรคไม่ครบ 90 วัน พรรคไม่มีการตั้งสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดในจังหวัดนั้นๆ และเข้าลักษณะต้องห้ามในการสมัครกรณีอื่น
     ขณะเดียวกันพบว่า ในกรุ๊ปไลน์ที่ กกต.ตั้งขึ้นเพื่อเอาไว้ติดต่อกับพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองได้สอบถามขอความชัดเจนว่า กรณีผู้สมัครไม่ได้รับการประกาศชื่อ กกต. จะคืนค่าสมัคร 1 หมื่นบาทให้หรือไม่ รวมทั้งหากที่สุดศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามที่ กกต.ไม่ประกาศชื่อให้เป็นผู้สมัคร กกต.จะดำเนินคดีกับผู้สมัครและหัวหน้าพรรค ตามมาตรา 151 พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่ระบุว่าผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม มิให้ใช้สิทธิสมัคร หรือทำหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปีหรือไม่ และมีวิธีการไหนที่ กกต.จะไม่ดำเนินการเอาผิดเนื่องจากบทลงโทษตามมาตรานี้รุนแรงมาก 
    อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ชี้แจงเพียงประเด็นค่าสมัครจะไม่ได้รับคืนตามกฎหมายเท่านั้น
    นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตและนอกราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. จนถึงเมื่อวันที่ 18 ก.พ.ที่ผ่านมา มียอดลงทะเบียนขอใช้สิทธินอกเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวน 1,830,711 ราย ส่วนนอกราชอาณาจักรมีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 94,543 ราย ใน 67 ประเทศ 94 สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ ซึ่งวันนี้เป็นวันที่เปิดให้ลงทะเบียนเป็นวันสุดท้าย โดยผู้ประสงค์ลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของสำนักงาน กกต. https://election.bora.dopa.go.th/ectoutvote/  แอปพลิเคชันสมาร์ทโหวต (smart vote) ได้ถึงเวลา 24.00 น.
    ด้านนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณาคดีเลือกตั้ง ส.ส. ภายหลัง กกต.ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 15 ก.พ.ที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลที่ได้รับรายงานมาพบว่า มีคดีที่มีการยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 16 ก.พ.จำนวน 7 เรื่อง, วันที่ 17 ก.พ.จำนวน 16 เรื่อง 2 วัน รวมกันจำนวน 23 เรื่อง ส่วนในวันที่ 18 ก.พ. มีการเกี่ยวกับยื่นคำร้องการวินิจฉัยสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.เข้ามาเพิ่มขึ้นอีก 83 เรื่อง เป็นการร้องวินิจฉัยสิทธิ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวน 8 เรื่อง แบบแบ่งเขต จำนวน 75 เรื่อง ซึ่งขณะนี้มีคดีเลือกตั้ง ส.ส.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีการวมทั้งหมด 106 เรื่อง โดยคดีเลือกตั้ง เมื่อมีการยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลจะไต่สวนผู้ร้อง ผู้คัดค้าน แล้วส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ซึ่งจะมีองค์คณะพิจารณา 3 คน พิจารณาพิพากษาต่อไป
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีส่วนใหญ่ที่มีการร้องเข้ามาทั้ง 2 วันแรก จะเป็นคดียื่นคำร้องกรณีพรรคที่ผู้ร้องเป็นสมาชิกไม่ดำเนินการจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ตามมาตรา 145 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 ส่วนที่เหลือก็จะเกี่ยวกับเป็นสมาชิกพรรคเดียวน้อยกว่า 90 วัน (ลาออกจากพรรคเดิมแล้วมาเป็นสมาชิกพรรคใหม่), ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเลย และกรณีเป็นสมาชิกพรรคมากกว่า 1 พรรคการเมือง
    วันเดียวกัน นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยนายธนิต ตันบัวคลี่ ผู้อำนวยการสำนักงานปกครองและทะเบียน และผู้เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการรับลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรล่วงหน้า ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 พร้อมตรวจเยี่ยมการเตรียมความพร้อมการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าที่จะมีขึ้นในวันที่ 17 มี.ค. 62 ของเขตคลองสาน เขตบางกะปิ และเขตพระโขนง
    ปลัดกรุงเทพมหานครเปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ กกต.กำหนดให้มีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ จึงได้ไปตรวจเยี่ยมเขตคลองสานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตการเลือกตั้งที่ 22 (เขตการเลือกตั้งที่ 22 ประกอบด้วย เขตคลองสาน เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี ยกเว้นแขวงดาวคะนอง แขวงบุคคโล และแขวงสำเหร่) โดยเขตคลองสานได้จัดเตรียมหน่วยเลือกตั้งกลางบริเวณสำนักงานเขตคลองสาน ซึ่งมีพื้นที่ค่อนข้างคับแคบ มีประชาชนลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 11,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.พ.62) ทั้งนี้ ได้ให้สำนักงานเขตจัดเตรียมพื้นที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะไปใช้สิทธิ โดยเบื้องต้นทราบว่า ได้ประสานงานกับโรงพยาบาลตากสินเพื่อจัดสถานที่ตรวจสอบสิทธิและข้อมูลเบื้องต้น และจะจัดตั้งคูหาเลือกตั้งบริเวณลานด้านหน้าสำนักงานเขตและถนนด้านหน้าสำนักงานเขต ซึ่งจะปิดการจราจรถนนดังกล่าวบางส่วนเพื่อจัดเตรียมเป็นคูหาเลือกตั้ง       
    จากนั้นได้เดินทางไปยังสำนักงานเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตการเลือกตั้งที่ 13 (เขตเลือกตั้งที่ 13 ประกอบด้วย เขตบางกะปิ และเขตวังทองหลางเฉพาะแขวงพลับพลา) โดยสำนักงานเขตบางกะปิกำหนดจัดหน่วยเลือกตั้งกลาง ณ โรงเรียนบ้านบางกะปิและโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ ซึ่งตั้งอยู่ติดกัน โดยเขตบางกะปิมีประชาชนลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากที่สุด มีจำนวนประชาชนลงทะเบียนขอใช้สิทธิฯ มากกว่า 43,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.พ.62) เนื่องจากมีประชาชนจากต่างจังหวัดและนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้ค่อนข้างเห็นใจเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตบางกะปิที่จะต้องทุ่มเทสรรพกำลังปฏิบัติงานอย่างมากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ไปใช้สิทธิฯ แต่จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานที่ตั้งหน่วยเลือกตั้งกลางของเขตบางกะปิ ทำให้คลายความกังวลได้บ้าง เนื่องจากโรงเรียนบ้านบางกะปิและโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิมีสถานที่ค่อนข้างกว้างขวาง และมีสิ่งอำนวยความสะดวกประชาชนค่อนข้างพร้อม
    ในส่วนของสำนักงานเขตพระโขนง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตการเลือกตั้งที่ 21 (เขตการเลือกตั้งที่ 21  ประกอบด้วย เขตบางนา และเขตพระโขนง) มีหน่วยเลือกตั้งกลางบริเวณสำนักงานเขตพระโขนง โดยมีประชาชนลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ากว่า 19,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 ก.พ.62) เนื่องจากมีการคมนาคมที่ค่อนข้างสะดวก เพราะอยู่ติดเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส จากการรายงานของผู้อำนวยการเขตและผู้เกี่ยวข้องทราบว่าได้จัดเตรียมกำลังคน และวัสดุอุปกรณ์ได้ครบถ้วนสมบูรณ์สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะไปใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่
    นอกจากนี้ ปลัด กทม.ได้ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง โดยเน้นในเรื่องของการจัดสถานที่ให้มีความเหมาะสม ถูกต้องตามที่ กกต. กำหนด พร้อมกำชับให้คำนึงถึงความสะดวกของประชาชนเป็นหลัก ทั้งนี้ ปัจจุบันอากาศค่อนข้างร้อนจึงฝากให้เขตดูแลเรื่องพัดลมระบายอากาศและจัดเตรียมน้ำดื่มไว้สำหรับบริการประชาชน นอกจากนี้ ขอให้ยึดหลักการทำงานด้วยความสุจริตโปร่งใส เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อยมากที่สุด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"