เปิดข้อกฎหมายยุบพรรค ตุลาการฯไม่ต้องไต่สวน-เรียกพยานมาก็ได้หากกระทบมั่นคง


เพิ่มเพื่อน    


22ก.พ.62-นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และอดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อดีตกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กล่าวในหลักการถึงกระบวนการพิจารณาไต่สวนคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญว่า การวินิจฉัยคดีเป็นอำนาจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะวางหลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องที่ส่งมายังศาลว่าจะใช้การ พิจารณาคำร้องแบบใดในตัวกฎหมายดังกล่าว มาตรา 58 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ตุลาการสามารถพิจารณาคำร้องโดยพิจารณาแค่ข้อกฎหมายอย่างเดียวก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีการเปิดห้องพิจารณาคดีเพื่อไต่สวนคำร้องไปเรียกพยาน หากเห็นว่าข้อกฎหมายข้อเท็จจริงที่ศาลได้รับชัดเจนเพียงพอ ก็สามารถพิจารณาและมีคำวินจัยได้เลย
“ตามมาตรา 58 นี้ไม่มีอะไรซับซ้อน ทาง กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีของศาลรธน. ในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก็เขียนตามหลักว่าหากข้อกฎหมายชัดเจนว่าเรื่องที่ส่งมายังศาลรัฐธรรมนูญเข้ากับกฎหมายมาตราอะไร ก็ดูองค์ประกอบการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่ต้องเปิดห้องไต่สวนหรือนำสืบพยานบุคคลก็ได้ ทางตุลาการก็สามารถวินิจฉัยได้เลย ก็เป็นไปตามนั้น เพราะในอดีตที่ผ่านมาก็มีแนวปฏิบัติเช่นนี้ หากไปดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตก็เป็นเช่นนี้ ถ้าตุลาการเห็นว่าข้อกฎหมายชัดเจนเพียงพอแล้ว ก็ไม่ต้องสืบพยานหรือไต่สวน เพราะตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องเปิดช่องไว้แล้ว ซึ่งเคยมีตัวอย่างให้เห็นตลอด ไม่ใช่แค่สมัยผมเป็นตุลาการศาลฯ ถ้าศาลเห็นว่าข้อกฎหมายชัดเจน ก็ไม่ต้องเปิดไต่สวน สืบพยาน เช่นเดียวกับการเรียกพยานมาไต่สวน หากสุดท้ายมีการไต่สวนคำร้องด้วยการเปิดห้องพิจารณาคดี หากคู่ความยื่นบัญชีพยานมา ศาลก็จะพิจารณาว่าจะเรียกพยานมากี่ปากก็ได้” อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกล่าว
 เมื่อถามถึงกรณีมาตรา 58 วรรคท้าย บัญญัติว่า “ตุลาการจํานวนไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ อาจมีมติไม่ให้นําเอกสารหรือพยานหลักฐานซึ่งอาจมีผลต่อความมั่นคงของประเทศมาใช้ในคดีได้” นิยามของความมั่นคงตามกฎหมายคืออะไร   นายสุพจน์กล่าวว่า ความมั่นคง ก็เป็นเรื่องที่ต้องดูว่ามีองค์ประกอบเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง เช่น ไปกระทบความสงบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งเรื่องนี้ก็ชัดเจนในตัวมันเอง
 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมพิจารณาคำร้องคดีที่ กกต. ขอให้ศาล รธน.วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติ กรณีทำความผิดตามมาตรา 92 (2) ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ.2560 จากผลพวงการเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ที่ได้เสนอพระนามทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นนายกรัฐมนตรีบัญชีของพรรคไทยรักษาชาติ เมื่อ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา
 โดยฝ่ายกฎหมายของพรรคไทยรักษาชาติได้พยายามสู้คดีด้วยการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคำร้อง ด้วยการเปิดห้องไต่สวนพิจารณาคดี ไม่ใช่แค่พิจารณาข้อกฎหมายแล้วลงมติทันที ซึ่งฝ่ายกฎหมายได้ยื่นบัญชีพยานบุคคลเพื่อขอให้ศาล รธน. เรียกมานำสืบ เบิกความ แยกเป็นกรรมการบริหารพรรค 14 คน และพยานคนกลางซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก 5 ปาก โดยมีรายงานว่าพยานบุคคลภายนอกพรรค 5 ชื่อดังกล่าวที่ยื่นต่อศาล รธน. ไม่มีรายชื่อของบุคคลที่พรรคเสนอเป็นแคนดิเดตนายกฯ ของ ทษช.ก่อนหน้านี้แต่อย่างใด
 ทั้งนี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้นัดประชุมกันในวันพุธที่  27ก.พ.นี้ โดยคาดว่า จะเป็นการพิจารณาตัวเอกสารที่พรรคไทยรักษาชาติชี้แจงข้อกล่าวหา ที่ยื่นมาเมื่อ20  ก.พ.  โดยขั้นตอนต่อไป ทางตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะกําหนดประเด็นและลําดับประเด็น ที่จะพิจารณาวินิจฉัย  ที่คาดว่าจะรู้ได้ในวันดังกล่าว ว่าศาลรธน.จะวางแนวการวินิจฉัยคดีอย่างไร จะให้มีการเปิดห้องไต่สวนคำร้องหรือจะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของกกต.โดยพิจารณาแค่ปัญหาข้อกฎหมาย มีการไต่สวนหาข้อเท็จจริงโดยไม่มีการเรียกพยานมาเบิกความจากนั้น จะได้มีการนัดประชุมเพื่อให้ตุลาการทั้งหมดอ่านคำวินิจฉัยส่วนตนและลงมติที่จะใช้เสียงข้างมากเป็นมติของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"