จรวดพัฒนาSME


เพิ่มเพื่อน    

    ในสมัยปัจจุบันนี้ที่ทุกอย่างจะต้องพึ่งพาความเจริญของเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีกระบวนการผลิตที่รวดเร็วและแม่นยำขึ้น หรืออำนวยความสะดวกให้แก่คนในทุกเพศทุกวัยในหลายๆ เรื่อง คนส่วนใหญ่จึงให้ความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก และมองว่าเป็นแนวทางที่จะพัฒนาประเทศให้เดินหน้าทันยุคอนาคตที่จะแข่งขันกันในเรื่องนี้โดยเฉพาะ 
    แต่จากปัญหาที่ติดขัด และปัจจัยที่คอยฉุดให้การพัฒนาด้านนี้เข้าถึงเฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากโอกาสและราคาที่ไม่เอื้ออำนวยจึงส่งผลต่อผู้ประกอบการรายย่อยๆ เล็กๆ ที่จะหยิบยกความสามารถของเทคโนโลยีขึ้นมาใช้ และด้วยการนี้เองทำให้เป็นจุดบอดของผู้ประกอบการเหล่านั้นที่จะต้องใช้รูปแบบเดิมๆ ในการดำเนินกิจการ ส่งผลให้ดำเนินการออกมาล่าช้า ไม่ทันความต้องการของตลาด หรือไม่ก็มีความจำเจ เก่า ไม่พัฒนาตอบสนองตลาดที่เดินหน้าไปเรื่อยๆ 
    หลายหน่วยงานที่เห็นถึงความสำคัญนี้จึงได้เร่งเข้าไปช่วยแก้ไข แต่หวังจะให้ครอบคลุมทั้งหมด ทุกรายทุกคนในประเทศเห็นจะยาก จึงต้องอาศัยการพัฒนาต้นแบบขึ้นมา เป็นโมเดลที่ทำให้เห็นว่าเมื่อเข้าระบบแล้วผู้ประกอบการจะได้รับอะไรบ้าง และจะพัฒนาไปในด้านใด ซึ่งเมื่อทำให้เกิดการรับรู้และความสนใจแล้วสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับความเอาจริงเอาจังของหน่วยงานนั้นๆ และงบประมาณที่จะเข้าไปช่วยสนับสนุนว่าจะเพียงพอหรือไม่
    อย่างเช่นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักร (แมชชีน มอนิเทอริ่ง ซิสเต็ม) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ที่ได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน ส.ค.2561 โดยมีผู้ประกอบการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ ปทุมธานี และนนทบุรี ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 100 กิจการ 
    ที่เป็นโครงการเริ่มต้นให้ผู้ประกอบด้านต่างๆ การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น อินเทอร์เน็ต ออฟ ติงส์ Internet of Things (IoT) อัลทิฟิเชียล อินเทลิเจนซ์ Artificial Intelligence (AI) และบิ๊กดาต้า Big Data มาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงานอย่างชาญฉลาด เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
    ด้วยการผลักดันแบบ "จรวด 3 ขั้น” ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ Stage 1 : Visualize Machine คือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลดึงข้อมูลจากสายการผลิตและเครื่องจักร เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและสร้างโอกาสในการปรับปรุง Stage 2 : Visualize Craftsmanship คือ การแปลงวิธีการทำงานเป็นดิจิทัล เพื่อใช้ในการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานที่แม่นยำและหาวิธีการที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Stage 3 : Lean Automation System Integrators : หรือ LASI for SMEs คือ การเลือกปรับปรุงระบบอัตโนมัติอย่างเหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุน
    ซึ่งแมชชีน มอนิเทอริ่ง ซิสเต็ม เป็นเครื่องมือที่ช่วยขับเคลื่อนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ไทยสามารถเข้าถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้น จะช่วยให้เอสเอ็มอีรู้ปัญหาของตนเอง สามารถหาวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและเลือกปรับปรุงอย่างชาญฉลาด โดยสามารถเลือกลงทุนแค่เพียงบางส่วนได้
    โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวเบื้องต้นมีผลทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ถึง 50 ล้านบาท ต่อปี คิดเป็น 15% อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ถึง 50 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 15% การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ปฏิบัติงานได้ 15 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 25% สามารถลดแรงงานคนกว่า 5 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 20% ลดของเสียได้ถึง 10 ล้านบาท คิดเป็น 15% และคิดเป็นมูลค่า ทางเศรษฐกิจได้ 80 ล้านบาทต่อปี
    และความต่อเนื่องของโครงการนี้ก็ยังมีให้เห็นหลังจากที่  กสอ.ออกมาประกาศแล้วว่าปี 2562 นี้ยังคงเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยได้เริ่มเปิดรับสมัครเอสเอ็มอีภาคการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอส-เคิร์ฟ) พื้นที่กรุงเทพมหานคร ขยายไปถึงภาคกลางและภาคตะวันออก เพื่อผลักดันเอสเอ็มอีเข้าสู่ Stage 1 และ Stage 2 จำนวน 100 กิจการ และ Stage 3 จำนวน 10 กิจการ โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ได้ไม่น้อยกว่า 4% และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ไม่น้อยกว่า 22% 
    และต้องมาติดตามกันว่าโครงการที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เข้าถึงเทคโนโลยี สามารถตอบโจทย์ในการลดปัญหาของเอสเอ็มอีไทยได้นี้จะมีความต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด ความเอาจริงเอาจังของ กสอ. และงบประมาณที่จะได้รับสนับสนุนนั้นจะต่อยอดโครงการให้เดินหน้าต่อไปได้เรื่อยๆ หรือไม่.

 ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"