นักกฎหมาย-คนรุ่นใหม่ พปชร. ในสนามเลือกตั้งฝั่งธนบุรี


เพิ่มเพื่อน    

        สนามเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร เป็นอีกหนึ่งพื้นที่เลือกตั้ง ซึ่งพรรคพลังประชารัฐคาดหวังไว้ระดับหนึ่ง ทั้งชัยชนะในระบบ ส.ส.เขต และการกวาดคะแนนจากคน กทม.เพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพลังประชารัฐ

        อีกหนึ่งผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ ที่เข้าสู่สนามการเลือกตั้งครั้งแรก แต่ก็เป็นผู้สมัคร นักการเมืองรุ่นใหม่ของ พปชร. ที่น่าสนใจนั่นก็คือ ทิพานัน ศิริชนะ หรือ อ้น ผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขตจอมทอง-ธนบุรี พลังประชารัฐ ที่มีดีกรีปริญญาตรีเกียรตินิยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา (University of Minnesota) โดยมีประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมายในภาครัฐ และบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศมากว่า 10 ปี และยังเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมาแล้ว

        การลงพื้นที่หาเสียงในพื้นที่เลือกตั้ง และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของ อ้น-ทิพานัน เธอได้เน้นการหาเสียงโดยชูประเด็น “เมือง 5 น่า” ที่เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่จอมทอง-ธนบุรี ประกอบด้วย น่าอยู่ น่ากิน น่าเที่ยว น่าเรียน น่าช็อป โดยย้ำว่า แนวทางดังกล่าวจะทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตจอมทอง-ธนบุรีดีขึ้น

        ทิพานัน ศิริชนะ มองว่า การเมือง นักการเมืองเป็นอาชีพที่มีความสำคัญมาก เพราะช่วยผลักดันเรื่องการพัฒนา หรือเรื่องที่ยังไม่เป็นจริง ทางนักการเมืองสามารถช่วยผลักดันให้เป็นความจริงได้ ตัวอ้นไม่ได้เกี่ยวข้องทางการเมืองใดๆ มาก่อนเลย ไม่เคยเกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่มีเครือญาติเป็นนักการเมือง แต่เราเห็นว่าสังคมปัจจุบัน หากเราได้มีโอกาสเข้าไปทำให้ดีขึ้นได้ ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดี พอพรรคพลังประชารัฐเปิดโอกาส ซึ่งอ้นได้เข้าไปคุยกับผู้ใหญ่ตั้งแต่ก่อตั้งพรรค ทำให้เห็นว่าถ้ามีโอกาสในการทำให้ประเทศไทยมีสังคมที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้วยความที่เราเคยเป็นอาจารย์มาก่อน คือสอนที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ที่อยู่ต่างจังหวัด ทำให้เราเห็นความแตกต่างของคนที่อยู่กรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด ที่เราเห็นเลยว่า ความคิดความอ่านและเป้าหมายการใช้ชีวิตจะมีความแตกต่างกัน อ้นก็รู้สึกว่าถ้าหากเราทำให้ความแตกต่างตรงนี้แคบลงได้ จะช่วยให้ชีวิตหลายคนเขาดีขึ้น

        ทิพานัน-ผู้สมัคร ส.ส.กทม.ของพรรค พปชร. เล่าถึงการเข้ามาทำงานการเมืองในรอบนี้ว่า ก่อนหน้านี้เคยคุยกับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้มีความเคลื่อนไหวทางการเมือง การเลือกตั้ง โดยแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนากรุงเทพมหานคร เราก็เห็นว่าหากเรามีโอกาสได้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ก็คงดี ต่อมาก็มีคนบอกว่า จะมีการตั้งพรรคพลังประชารัฐ โดยเป็นพรรคที่เป็นกลาง ไม่ได้ขัดแย้งกับฝ่ายไหน       

        “ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นที่ปรึกษากฎหมายอยู่ใน Law firm ที่ทำงานให้กับทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศ ออฟฟิศก็อยู่ตรงเซ็นทรัลเวิลด์ ใจกลางสี่แยกราชประสงค์เลย เราก็เห็นเหตุการณ์การชุมนุมการเมืองมาทุกยุคทุกสมัยไม่ว่าจะฝั่งใดก็ตาม ทำให้เราเห็นว่าเราไม่ควรกลับไปเป็นแบบนั้นอีกแล้ว สมัยนั้นเราทำงาน เลิกงานดึก เลิกงาน 4-5 ทุ่ม เราเดินลงจากตึกต้องผ่านจุดชุมนุมกลับบ้านทุกวัน ซึ่งแม้ไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุม เราก็รู้สึกได้ เราก็เห็นคนที่มาชุมนุม ไม่มีใครมีความสุขเลย เราก็เห็นว่ามันไม่ควรกลับไปมีความขัดแย้งแบบนั้นแล้ว”

       ...พอเข้ามาคุยกับพี่ๆ ผู้ใหญ่ที่ร่วมก่อตั้งพรรค เราก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ เราก็คุยกันว่า เราต้องการเป็นกลาง ไม่ใช่ความขัดแย้ง เราต้องการเป็นตัวเลือกของประชาชนที่ไม่ต้องการความขัดแย้งในประเทศอีกแล้ว การที่ประสานรอยแตกร้าวของประชาชน จึงเป็นสิ่งที่ทำให้พลังประชารัฐเกิดขึ้นมา เราก็ตัดสินใจว่า ถึงจุดที่เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างหากต้องการเห็นประเทศดีขึ้น มีการพัฒนาต่อเนื่องจริงจัง ไม่อยากเห็นความขัดแย้ง ก็เห็นว่าพลังประชารัฐเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

       อ้น-ทิพานัน ย้ำว่า หากถามว่าทำไมประชาชนควรเลือกพรรคพลังประชารัฐ ก็ต้องบอกว่า พลังประชารัฐคือตัวเลือกที่ดีที่สุด ณ วันนี้ ถ้าการเลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแล้วต้องเกิดความขัดแย้งกันอีก มีการคิดจะล้มล้างรัฐบาลกันตลอด ก็จะทำให้ประเทศไม่สงบสุข หากต้องการให้ประเทศสงบสุข ก็เลือกพรรคพลังประชารัฐ เพราะเมื่อเกิดความสงบสุข ก็จะนำมาซึ่งความมั่นคง และความมั่นคงจะทำให้เกิดความมั่งคั่ง ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ คนก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี เศรษฐกิจก็ดี โดยทุกอย่างก็ต้องใช้เวลา แน่นอนว่าคงไม่ได้ดีขึ้นภายในวันสองวัน แต่ความมั่นคงที่มีระยะเวลาต่อเนื่องจะช่วยให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้

       ...เราเป็นตัวแทนของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีความตั้งใจที่อยากเข้ามาพัฒนา แก้ปัญหา และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจจริง และต้องการใช้ความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นจุดเล็กหรือจุดใหญ่ ในการผลักดันเรื่องกฎหมายระดับประเทศ

       ทิพานัน กล่าวว่า สำหรับกระแสตอบรับการลงสมัครครั้งนี้ ต้องขอบคุณประชาชนในพื้นที่จอมทอง-ธนบุรี ทั้ง 3 แขวงคือ แขวงดาวคะนอง-บุคคโล-สำเหร่ ที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น แม้เราจะเป็นผู้สมัครหน้าใหม่ในเขต แต่ทุกคนก็เปิดใจ ให้การตอบรับอย่างดี เดินไปที่ไหน ไม่เหงามีคนมาให้กำลังใจตลอดทุกวัน และพูดชมผลงานของรัฐบาล เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

       ทิพานัน ที่จบการศึกษานิติศาสตร์ จุฬาฯ และปริญญาโทกฎหมายจากต่างประเทศ กล่าวถึงเป้าหมายทางการเมืองหากมีโอกาสได้เข้าไปทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติว่า การเป็น ส.ส.หน้าที่หลักคือ การผลักดันกฎหมาย กลั่นกรองกฎหมายในรัฐสภา การเรียนกฎหมายของอ้น ถือว่าตรงสาย ทำให้เราสามารถใช้ความรู้ได้โดยตรง สิ่งที่อ้นให้ความสนใจอย่างมากก็คือเรื่องของการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาช่วงใดก็ตาม เพราะการศึกษาคือโอกาส  เพราะถ้าเรามีความรู้ ความรู้จะนำพาเราไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี การมีโอกาสที่ดี

       ...ส่วนที่รองลงมาก็คือ เรื่องของกฎหมายธุรกิจ เพราะเป็นสิ่งที่เรามีประสบการณ์ทำงานมาโดยตรง เช่น กฎหมายเรื่องตลาดทุน กฎหมายเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพราะเราทำงานในส่วนนี้มาเกือบ 10 ปี

       "การเลือกตั้งครั้งนี้ ทุกเสียงมีความสำคัญ โดย 1 เสียงในบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ สามารถเลือกได้ทั้ง ส.ส.เขต-ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ และเลือกนายกฯ ด้วย และที่สำคัญ เป็นการกำหนดอนาคตของประเทศไทย ก็อยากให้ทุกคนออกมาใช้สิทธิ์ และเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุด เราขอเป็นตัวเลือกของพี่น้องในเขตจอมทอง ธนบุรี เพราะความมุ่งมั่นตั้งใจจริง ตลอดการลงพื้นที่ในช่วงที่ผ่านมา ที่ได้เดินไปถึงหน้าประตูบ้านของทุกคนแล้ว ซึ่งความตั้งใจจริงครั้งนี้จะไม่หมดไปในวันที่ 24 มีนาคม แต่จะมีต่อไปเรื่อยๆ" ทิพานัน ผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ กล่าวปิดท้าย

 

ชื่อ ทิพานัน ศิริชนะ

- การศึกษา ปริญญาตรี เกียรตินิยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- ปริญญาโท สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา (University of Minnesota)

- ประสบการณ์การทำงานด้านกฎหมายในภาครัฐและบริษัทชั้นนำทั้งในและต่างประเทศมากว่า 10 ปี 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"