บอร์ดอิสระเสนอบริหารจัดการ ร.ร.ขนาดเล็กเป็นกรณีพิเศษ ดึง มหา'ลัยในพื้นที่ยกระดับ ม.วิชาการ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ได้พิจารณาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก พร้อมทั้งได้รวมข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาเพื่อเสนอให้รัฐบาลพิจารณา คาดว่าจะเสนอภายใน 2 สัปดาห์นี้ ที่ผ่านมาโรงเรียนขนาดเล็กมีเป้าหมายคือการให้โอกาสเด็กได้เรียน แต่ปัจจุบันเป้าหมายเปลี่ยนเด็กทุกคนจะต้องได้โอกาสในการรับการศึกษาที่ดี ที่มีคุณภาพ เมื่อเป็นเช่นนี้ต้องมีการปรับปรุงหลายเรื่อง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงเรื่องโครงการสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปและคงต้องมีการพิจารณากันต่อ แต่โดยหลักแล้วคณะกรรมการอิสระฯ เห็นสภาพปัญหาที่ค่อนข้างชัด ทั้งเรื่องความเป็นเอกภาพทางการศึกษา การประสานงานของแท่งต่างๆ ใน ศธ.ที่จะต้องทำให้เป็นเอกภาพ ทั้งระดับกระทรวงและระดับพื้นที่ และอื่นๆ ซึ่งโครงสร้างของ ศธ.มีการเสนอมาหลายรูปแบบ แต่หัวใจสำคัญ คือ หน่วยต่างๆ ของ ศธ.จะต้องประสานเป็นหนึ่งเดียว

     ด้านนางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา (รองเลขาฯ สกศ.) กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระฯ ในประเด็นแรก คือ ควรมีการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กเป็นกรณีพิเศษ และจะต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กโดยเฉพาะ เนื่องจากโรงเรียนกลุ่มมีสภาพปัญหาหลายด้าน เช่น การขาดแคลนครูผู้สอน การขาดแคลนอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น และเรื่องสำคัญที่สุด คือ หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดใหญ่ ใช้หลักสูตรเดียวกันขณะที่บริบทของโรงเรียนแตกต่างกัน ดังนั้น โรงเรียนขนาดเล็กจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานหรือกลุ่มบุคคลเข้ามาดูแล แต่ไม่ใช่การตั้งหน่วยงานใหม่ แต่ให้ใช้หน่วยงานที่มีอยู่แล้วเข้ามาร่วมบูรณาการช่วยเหลือกัน เช่น การเปิดให้มหาวิทยาลัยผลิตครูในพื้นที่เข้ามายกระดับมาตรฐานด้านวิชาการของโรงเรียน ประเด็นที่สอง การทำฐานข้อมูลกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กที่แสดงถึงภาพรวมทั้งหมดของแต่ละโรงเรียน ข้อมูลในส่วนนี้จะส่งผลต่อการบริหารงาน การจัดการและการสนับสนุนด้วย ประเด็นที่สาม การออกกฎหมาย หรือระเบียบต่างๆ ที่จะใช้กับกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กโดยเฉพาะ เพื่อทำให้โรงเรียนขนาดเล็กสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว
     นางวัฒนาพร กล่าวต่อว่า ประเด็นที่สี่ การสร้างกลไกส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็ก เช่น กลไกสิทธิประโยชน์ทางภาษี เป็นต้น จะต้องมีการวางให้เป็นระบบ ประเด็นที่ห้า การปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนขนาดเล็ก อาทิ เงินอุดหนุนรายหัว ระบบการจัดสรรงบประมาณ ประเด็นที่หก การดูแลเรื่องจำนวนนักเรียนของโรงเรียนทุกขนาด เนื่องจากปัจจุบันมีบางโรงเรียนที่นักเรียนเกินจำนวนที่กำหนดไว้มาก ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กจำนวนเด็กลดลงต่อเนื่อง เพราะอัตราการเกิดที่น้อยลง ดังนั้นจึงต้องมีการมองภาพรวมของทั้งประเทศเกี่ยวกับการกำหนดจำนวนนักเรียนบองโรงเรียนในแต่ละประเภท เพื่อการดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระฯ สามารถนำไปใช้กับโรงเรียนขนาดเล็กในทุกสังกัด เพื่อที่จะยกระดับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็ก และการทำข้อเสนอดังกล่าวมีการศึกษาความเป็นมาของโรงเรียนขนาดเล็ก และจะต้องมีการมาทบทวนเรื่องของเป้าหมายใหม่ ว่า โอกาสในการเข้าถึงหารศึกษาต้องมาพร้อมกับคุณภาพ อีกทั้งต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ทั้งเรื่องอัตราการเกิดที่ลดลง ต้องวางแผนทางภูมิศาสตร์ ว่า แต่ละพื้นที่ควรจะมีโรงเรียนตรงไหน ขนาดใดบ้าง และการจัดสรรทรัพยากรจะเป็นอย่างไร

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"