เอลนีโญลากยาว 18จ.ผจญภัยแล้ง สั่งทุกหน่วยช่วย


เพิ่มเพื่อน    


    "บิ๊กฉัตร" ถกหน่วยงานน้ำสู้ภัยแล้ง เผยไทยเจอ "เอลนีโญ" ยาวถึงกลางปี พบพื้นที่ขาดแคลนน้ำ 18 จังหวัด สั่งวางมาตรการบรรเทา-จ่ายเป็นเวลา ทำฝายชั่วคราว เตรียมแผนซื้อจากเอกชน 
    ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (เดิม) ถนนพิษณุโลก เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2562 ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือ วิเคราะห์ ติดตามลักษณะอากาศในระยะ 3 เดือนนี้ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นพ้องตรงกันว่าประเทศไทยยังคงมีสภาพเป็นเอลนีโญอ่อนๆ และจะกลับลงมาสู่สภาพเป็นกลางในกลางปีนี้ ขณะที่ปริมาณฝนสะสมจากต้นปีถึงปัจจุบัน คาดว่าปริมาณฝนรวมในเดือน เม.ย.จะมีฝนมากกว่าเดือน มี.ค. แต่ยังมีพื้นที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และซีกตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขณะที่ในเดือน พ.ค. คาดว่าประเทศไทยปริมาณฝนจะใกล้เคียงค่าปกติ
    “ได้กำชับกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น กำหนดแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวัง ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% ขณะที่การวางแผนบริหารจัดการน้ำก่อนเข้าสู่ฤดูฝน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้วางแผนร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพหลัก ดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง” พล.อ.ฉัตรชัย ระบุ  
    ด้านนายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง คือแบ่งเป็นน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค โดยการประปานครหลวงมีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี 2562 ส่วนการประปาส่วนภูมิภาค ปัจจุบันพบว่ามีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 20 สาขา 18 จังหวัด แบ่งเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ประกอบด้วย แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด นครราชสีมา หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด, ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และภาคใต้ 3 จังหวัด สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต ได้เตรียมการแก้ไขปัญหา อาทิ มาตรการจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลา ลดแรงดัน และสูบทอยน้ำเพื่อเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำใกล้เคียง ทำฝายชั่วคราว และมีแผนซื้อน้ำจากเอกชน
    ส่วนนอกเขตพื้นที่ให้บริการของการประปาภูมิภาค ได้เฝ้าระวังขาดแคลนน้ำ รวม 7 จังหวัด 15 อำเภอ ขณะนี้ สทนช.ได้ดำเนินการแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวัง เตรียมความพร้อมเชิงป้องกัน และจัดทำข้อมูลและแผนที่แสดงแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เสี่ยงในรัศมี 50 กิโลเมตร ด้านเกษตรกรรม ในพื้นที่เสี่ยงนอกเขตชลประทาน มีจำนวน 11 จังหวัด 26 อำเภอ 71 ตำบล พื้นที่รวม 151,552 ไร่ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ซึ่งปริมาณน้ำมีเพียงพอ สำหรับปลูกพืชตามมาตรการ ในส่วนพื้นที่การเพาะปลูกข้าวนารอบที่ 2 พบว่า ในเขตชลประทาน จำนวน 32 จังหวัด ปลูกเกินแผน จำนวน 1,186,336 ไร่ และนอกเขตชลประทาน มี 7 จังหวัด ปลูกเกินแผน จำนวน 133,702 ไร่ รวมทั้งประเทศ 36 จังหวัด ปลูกเกินแผน จำนวน 1,320,038 ไร่
    ทั้งนี้ ล่าสุดกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ประกาศพื้นที่เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภัยแล้ง มีทั้งสิ้น 3 จังหวัด 8 อำเภอ 30 ตำบล โดย จ.ร้อยเอ็ด 2 อำเภอ 2 ตำบล, จ.ศรีสะเกษ 3 อำเภอ 5 ตำบล เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และ จ.ตราด 3 อำเภอ 23 ตำบล ซึ่งขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร โดยขณะนี้กรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เร่งหาแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เสี่ยงในรัศมี 50 กิโลเมตร รวมถึงจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพิ่มเติม กรณีปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำไม่เพียงพอ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"