“คณิศ”ชงบอร์ดตั้งกองทุนพัฒนาอีอีซี1พันล้านหวังใช้เงินสะดวกไม่ต้องผ่านคลัง


เพิ่มเพื่อน    

3 มี.ค. 2562 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) หรือ สำนักงานอีอีซี เปิดเผยภายหลังงานจัดสัมมนาใหญ่ ”Japan-China Workshop on Business Cooperation in Thailand” ว่าทางสำนักงานได้ประสานให้ภายในเดือนเม.ย. นี้ มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งทางสกพอ.จะมีการเสนอร่างการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) วงเงิน 1,000 ล้านบาท

ทั้งนี้เพื่อให้อีอีซีมีอำนาจในการร่างระเบียบกองทุนฯ และบริหารเองใช้เองโดยไม่ต้องผ่านกระทรวงการคลัง เพื่อความคล่องตัวและบริหารงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น จึงเตรียมเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาในครั้งนี้ โดยยึดหลักเกณฑ์ให้กองทุนเบิกจ่ายได้ 3 ด้าน คือ เพื่อการพัฒนาพื้นที่หรือชุมชน สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาและให้ทุนการศึกษาแก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในอีอีซีหรือใกล้เคียง และค่าใช้จ่ายอื่นที่จะส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการพัฒนาอีอีซี

นอกจากนี้จะรายงานที่ประชุมถึงความคืบหน้าของโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ โดยคาดว่าภายในเดือนเม.ย. 2562 นี้จะต้องได้เอกชนผู้รับสัมปทานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้ง 5 โครงการ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน , ท่าเรือมาบตาพุด เฟส3 , ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3 , สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา

"รัฐบาลเองยังยืนยันที่จะเห็นความชัดเจน 5 โครงการหลักที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานอีอีซี ที่จะได้สรุปรายชื่อผู้ชนะประมูลครบหมดทุกโครงการในสิ้นเดือนเม.ย.นี้และจะนำเสนอรายงานความคืบหน้าการประชุมบอร์ดอีอีซีที่เรากำลังประสานท่านนายกฯในการประชุมในเดือนนี้เพื่อรับทราบ"นายคณิศกล่าว

นายคณิศ กล่าวว่า สำนักงานอีอีซี  ได้ร่วมกับองค์การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) และคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจีน จัดสัมมนา Japan – China Workshop on Business Cooperation in Thailand โดยมีนักธุรกิจญี่ปุ่น – จีน กว่า 260 บริษัท รวมทั้งนักธุรกิจไทยจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้าร่วมงาน

“วัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อจัดสัมมนาให้ข้อมูล และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจระหว่างภาคเอกชนญี่ปุ่น-จีน ในการร่วมลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ซึ่งจะเป็นพื้นที่ตัวอย่างของความร่วมมือการลงทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นและจีนในประเทศที่ 3 ให้เกิดขึ้นจริง โดยมีสาขาธุรกิจที่มีความเป็นไปได้สูง 3 สาขา ได้แก่ สาขาการขนส่งและโลจิสติกส์ สาขาพลังงานและสิ่งแวดล้อม และสาขาเมืองอัจฉริยะ อาทิเช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการเมืองอัจฉริยะดังนั้นจะตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลเป็นการเฉพาะเพื่อสานต่อดูแลการเข้ามาลงทุนที่เป็นความร่วมมือญี่ปุ่นและจีนอย่างต่อเนื่อง”นายคณิศกล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"