ทริกปั้นแบรนด์ให้ดัง!


เพิ่มเพื่อน    


    เป้าหมายของคนทำธุรกิจย่อมต้องการที่จะให้แบรนด์ของตัวเองเป็นที่รู้จักและจดจำของลูกค้า ยิ่งในยุคที่การแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น ท่ามกลางคู่แข่งที่หลากหลาย ทั้งแบรนด์ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดี รวมทั้งแบรนด์ใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ลูกค้าสนใจผูกขาดอยู่กับแบรนด์ของตัวเองเพียงแบรนด์เดียว เพื่อแย่งชิงลูกค้าในยุคปัจจุบัน ขณะเดียวกันหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจคือ ผู้ประกอบการต้องมีเทคนิค มีกลยุทธ์ในการเอาชนะใจลูกค้ารายใหม่ และยังคงต้องให้ความสำคัญกับลูกค้าประจำ
    กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หรือสถาบัน NEA ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเทคนิคทางรอด SMEs ไทย ปรับตัวอย่างไรในยุค 4.0 จึงได้รวบรวมเทคนิคมัดใจลูกค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำไปปรับใช้ ดึงดูดลูกค้าและการปรับตัวให้เข้ากับยุคของการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น
    โดยอย่างแรกเลยต้องเข้าใจและรู้จักตัวตนของลูกค้าในสมัยนี้ หลายๆ แบรนด์เน้นการแข่งขันกันที่แผนการตลาด ยิ่งแปลกใหม่เท่าไหร่ยิ่งดี จนบางครั้งอาจทำให้มองข้ามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าไป ก่อนทำแผนการตลาดทางแบรนด์ควรต้องไปศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคให้ดีซะก่อน เพราะการทำความเข้าใจลูกค้าเป็นขั้นตอนแรกที่คุณควรทำ เพื่อที่จะแก้ไขและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
    ต่อมาคงเป็นการสร้างบุคลิกให้แบรนด์ ตราบใดที่แบรนด์แข็งแรงไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ธุรกิจของคุณก็ยังคงอยู่ การสร้างภาพจำให้แบรนด์จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก คุณต้องสร้างบุคลิกภาพให้แบรนด์เพื่อให้ผู้คนจดจำ ขณะเดียวกันเรื่องต่อมาคงเป็นการสร้างสตอรี่ให้แบรนด์ เรื่องราวที่น่าสนใจจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าหรือธุรกิจได้ ควบคู่ไปกับสร้างความรู้สึกคุ้มค่า ลูกค้าจะจ่ายเงินซื้อของกับสิ่งที่จะทำให้เขารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป โดยที่สินค้าและบริการเหล่านั้น อาจมีวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันไป อยู่ที่ว่าขายอะไร ถ้าขายสินค้าที่ต้องใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ รูปภาพต้องสวย วิดีโอต้องดี แต่ถ้าขายสินค้าที่ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจ เวลาสื่อสารต้องให้รายละเอียดที่ครบครัน เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกเชื่อถือและคุ้มค่าแก่การซื้อ
    การรวบรวมบิ๊กดาต้าตั้งแต่สร้างแบรนด์ใหม่ๆ นั้นสำคัญมาก เพราะต้นทุนการรักษาลูกค้าเก่านั้นถูกกว่าการหาลูกค้าใหม่ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด หรือการเอาใจใส่ลูกค้าในการอวยพรวันเกิด เป็นต้น ที่สำคัญคุณสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค วิเคราะห์แนวโน้มและสถานการณ์ต่างๆ ได้ในหลายมิติ ทำให้มองเห็นโอกาสที่มากกว่า เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
    ตามทันเทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อให้การสื่อสารแบรนด์เป็นไปอย่างตรงจุด เพราะจำเป็นต้องมีช่องทางออนไลน์เพื่อติดต่อลูกค้า หรือเป็นช่องทางขายสินค้าด้วย เพราะทุกวันนี้ทุกคนสื่อสารกันผ่านโซเชียลมีเดีย และต้องอย่าปล่อยให้ลูกค้ารอนาน ในปัจจุบันต้องบอกได้เลยว่าความเร็วและการตอบกลับแบบทันทีทันใด ทำให้ลูกค้าพึงพอใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะใครที่ทำธุรกิจออนไลน์ ความเร็วในการตอบกลับความคิดเห็นหรือข้อความของลูกค้านั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากคุณปล่อยให้ลูกค้ารอนาน โอกาสในการขายของคุณก็จะลดลงไปด้วย เพราะลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นที่ตอบไวกว่านั่นเอง
    การรับฟังเสียงของลูกค้า รับฟังข้อแนะนำหรือการตำหนิในข้อเสียของแบรนด์จากลูกค้า ควรรีบนำมาปรับปรุงและแก้ไข แม้จะมีคำตำหนิจากลูกค้าเพียงคนเดียว ก็อาจจะทำให้ลูกค้าคนอื่นๆ รู้สึกไม่ดีต่อแบรนด์ไปด้วย อย่ามองข้ามปัญหาของลูกค้าว่าเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ และยังต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพราะการตัดสินใจว่าแบรนด์นั้นน่าสนใจ หรือเลือกสินค้าแบรนด์นั้นๆ อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลหรืออารมณ์ของลูกค้าเพียงอย่างเดียว
    และที่สำคัญต้องจริงใจต่อลูกค้าดีที่สุด คงไม่แปลกที่ใครๆ ก็ชอบคนจริงใจ ลูกค้าก็เช่นกัน เป็นเรื่องแปลกที่จะบอกว่าให้ยอมรับกับลูกค้าตรงๆ หรือบอกข้อมูลที่เป็นจริงแก่ลูกค้า เมื่อมีข้อผิดพลาด ซึ่งอาจคิดว่าจะทำให้ดูไม่ดีในสายตาลูกค้าหรือเปล่า แต่เชื่อเถอะว่าการทำเช่นนี้จะทำให้ลูกค้าไว้วางใจ และเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น ดังนั้นแบรนด์ไหนที่จริงใจ เปิดเผยข้อมูลแบบไม่กั๊กจะทำให้ได้ใจลูกค้ายังไม่พอ ยังได้ความประทับใจที่จะถูกส่งต่อไปยังคนใกล้ชิดของลูกค้าเหล่านั้นทั้งแบบปากต่อปาก หรือผ่านโซเชียลมีเดีย จนทำให้แบรนด์ถูกรู้จักเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย.

รุ่งนภา สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"