กกต.มึน!มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวิธีคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ


เพิ่มเพื่อน    

 

11เม.ย.62- คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เผยแพร่เอกสารข่าว คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีมติส่งเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณเพื่อจัดสรรจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย โดยระบุว่า 

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้พิจารณาเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ทั้งนี้ ตามที่สำนักงาน กกต. เสนอต่อที่ ประชุม กกต. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 แล้ว มีความเห็น ดังนี้ 

1.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 91 วรรคสาม กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณและการคิดอัตราส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ให้เป็นไปตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 ซึ่งมาตรา 128ในกฎหมายดังกล่าว ได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อไว้ ซึ่งสำนักงาน กกต. ได้เสนอผล การคำนวณจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อต่อ กกต. ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณตามแนวทางของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ได้จัดทำวิธีการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อในชั้นพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ปรากฏว่า การคำนวณดังกล่าวมีพรรคการเมืองหลายพรรคมีจำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ ในเบื้องต้นต่ำกว่า 1 คน แต่เมื่อคำนวณต่อไปตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา128 (5) แล้ว พรรคการเมืองที่มีผลการคำนวณจำนวน ส.ส.จะพึงมีได้ ในเบื้องต้นต่ำกว่า 1 คนดังกล่าว สามารถได้รับการจัดสรรจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน

2.กกต.พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตามข้อ 1 แล้วเห็นว่า แม้การคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่ สำนักงาน กกต.ทำมานั้น สามารถจัดสรรจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน สอดคล้องกับความเห็นของ กรธ.ก็ตาม แต่การคำนวณ ส.ศ. ตามมาตรา 128(5) ดังกล่าวมีผลขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (2) และ (4) เนื่องจากมีผลให้พรรคการเมืองที่มีจำนวน ส.ส.จะพึงมีได้ต่ำกว่า 1 คน สามารถได้รับการจัดสรรให้มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้ 1 คน จึงอาจทำให้พรรคการเมืองบางพรรค มีจำนวน ส.ส.เกินกว่าจำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4)

 แต่หากคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 แล้ว จะทำให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ 150 คน อีกทั้งหากไม่นำจำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ในเบื้องต้นของพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ที่จะพึงมีได้ต่ำกว่า 1 คนไปคิดคำนวณต่อตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128(5) ก็ไม่สามารถคิดคำนวณจัดสรรได้ครบ 150 คนได้เช่นกัน จึงไม่มีวิธีการใดที่จะนำมาคิดคำนวณให้มีจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อได้จำนวน 150 คน ตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 83 ได้ อีกทั้งการคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามแบบของ กรธ. ผลของการคำนวณจะไม่สามารถนำไปประกาศผลการเลือกตั้งได้ เพราะอาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (4)

 อาศัยเหตุผลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงได้เสนอเรื่อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาด ว่ากรณืที่ กกต.จะคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไม่มีวิธีใดที่จะทำให้ได้จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อครบจำนวน 150 คนได้ มีเพียงการคำนวณตามมาตรา 91 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ประกอบมาตรา 128 ของ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่สามารถจะคำนวณให้ได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อครบจำนวน 150 คนได้ ดังนั้น กกต.จะคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 โดยการคิดคำนวณดังกล่าวอาจทำให้พรรคการเมืองบางพรรคที่มีจำนวน ส.ส.ที่จะพึงมีได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยต่อ ส.ส.1 คน ได้จำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน กกต.จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และการดำเนินการดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"