ตั๋วร่วมเชื่อมเดินทาง


เพิ่มเพื่อน    

      รัฐบาลได้พยายามผลักดัน การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะรถไฟฟ้า ที่จะเชื่อมต่อโครงข่ายในการเดินทางของประชาชนให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทางมากขึ้น ปัจจุบันมีการก่อสร้างแล้วเสร้จและวิ่งให้บริการแล้วถึง 5 สายทาง และเตรียมที่จะก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกกว่า 10 สายทาง ซึ่งถ้าโครงข่ายเหล่านี้แล้วเสร้จ เชื่อมการเดินทางก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น ปัญหาการจราจร ฝุ่นพิษ ก็น่าจะลดลง

        แม้ว่าปัจจุบันได้เปิดให้บริการแล้ว 5 สายทาง และเตรียมจะขยายเพิ่มอีกหลายสายทาง แต่ในด้านของอัตราค่าโดยสารถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก ดังนั้นเพื่อให้การเดินทางของประชาชนมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ทำให้ภาครัฐได้คิดค้นระบบตัวรวมขึ้นมาให้บริการ

        ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2565 รัฐบาลได้พยายามหาแนวทางที่จะทำให้ประชาชน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จึงมีแนวคิดที่จะจัดทำ ตั๋วร่วม บัตรใบเดียวไปได้ทุกที และมีค่าโดยสารที่เหมาะสม เหมือนกับหลายๆ ประเทศได้ทำกันมาแล้ว ซึ่งตั้งแต่นั้นมารัฐบาลซึ่งมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เป็นผู้ศึกษาระบบ แต่จนแล้วจนรอดทั้งแต่ปี 2558 จนกระทั่งปัจจุบันตั่วร่วมที่ว่านั้นยังไม่สามารถที่จะใช้ได้ ทั้งที่มีรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการ 5 เส้นทางแล้ว

        ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้การพัฒนาตั๋วร่วมมีความล่าช้านั้น  สิ่งหนึ่งต้องยอมรับมาจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็ว โดยเฉพาะรูปแบบการจ่ายเงินเปลี่ยนไปเร็วมาก สามารถใช้โทรศัพท์ ใช้คิวอาร์โค้ด และต่างประเทศทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนเป็นบัตร EMV หรือบัตรระบบเปิดที่สามารถใช้เป็นบัตรเคดิตแทนได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องมีการพิจารณากันใหม่ และปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้มีความเหมาะสม

        แม้ว่าในช่วงเดือน มิ.ย.61 จะมีการแจกบัตรแมงมุม 2  แสนกว่าใบ และระบุชัดว่าเดือน ต.ค.61 จะใช้ได้กับรถเมล์    แต่เมืองเทคโนโลยีเปลี่ยน ก็ต้องเลื่อนแผนการเปิดให้บริการออกไป ซึ่งตามแผนนั้น คาดภายในเดือน ม.ค.2563 จะสามารถใช้กับรถไฟฟ้าทุกสาย รถเมล์ เรือโดยสาร บัตรเดียวไปได้ทุกที

        ส่วนความล่าช้าที่เกิดจากความไม่โปร่งใสในการจัดทำหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่าง รฟม.และสถาบันการเงินนั้น เชื่อมกระบวนการจัดหานั้นมีความละเอียด ตรวจเช็กเพียงพอ และถ้าเอื้อมหรือทุจริตจริงยากที่จะรอด ยกเว้นเสียแต่ว่ากระบวนการตรวจสอบนั้นมีนอกมีในกับเขาด้วย อันนี้จบแน่

        แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแม้ว่าจะมีตั๋วร่วมออกมาใช้แล้ว ก็ต้องมีกฎหมายออกมารองรับให้การใช้ตั๋วร่วมเป็นไปอย่างถูกต้อง  ซึ่งล่าสุดในขณะนี้ พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบร่วม พ.ศ.... อยู่ในขั้นตอนการเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีภาระงานจำนวนมาก และอาจพิจารณาไม่ทันเพื่อบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในรัฐบาลชุดนี้  ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวนั้นจะมีบทบังคับ และมีคณะกรรมการโครงสร้างค่าโดยสาร ซึ่งจะมาดูเรื่องค่าโดยสาร ค่าแรกเข้าเป็นอย่างไร

        ซึ่งเรื่องนี้ นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผอ.สนข. ได้ออกมาแจกแจงอย่างชัดเจนว่า ถ้า พ.ร.บ.ออกไม่ทัน ก็คงต้องออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งประกาศนี้จะไม่เข้มข้นเท่ากับ พ.ร.บ. เพราะประกาศสำนักนายกฯ นั้นใช้บังคับและขอความร่วมมือได้เฉพาะกับหน่วยงานราชการเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงภาคเอกชน 

        ผอ.สนข.ย้ำอย่างชัดเจนว่า แม้ว่าจะเป็นประกาศสำนักนายกฯ แต่ก็มั่นใจโครงสร้างตั๋วร่วมเกิดแน่นอน พอเกิดแล้วก็จะสามารถใช้กับรถไฟฟ้าที่เป็นของราชการ คือ สายสีแดง สีม่วง น้ำเงิน ราคาค่าโดยสารก็จะเป็นธรรม และมั่นใจว่าภายในปี 2563 พ.ร.บ.ตั๋วร่วมน่าจะประกาศใช้ได้จริง

      อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็คงต้องมาลุ้นกันว่า ตั๋วร่วมที่ทุกรัฐบาลต่างคุยกันนักคุยกันหนาว่าจะช่วยอำนวยความสะดวกและค่าโดยสารปรับลดลงนั้น ในปี 2563 จะเกิดขึ้นได้จริงอย่างนี้กระทรวงคมนาคมคาดหวังไว้หรือไม่ 

        และถ้าไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง สิ่งที่จะเกิดตามมาคืออะไร ค่าโดยสารยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ และรัฐบาลจะช่วยประชาชนอย่างไร และก็ได้แต่หวังว่าสุดท้ายแล้วภาระต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่างและนอกกระบวนการจัดทำตั๋วร่วมนั้น จะมีผลักภาระที่เพิ่มขึ้นนั้นให้กับประชาชนแบกรับอีกหรือไม่.

บุญช่วย   ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"