'ธีระชัย'ชี้ถ้านักปฎิวัติขายตัว ความเสี่ยงคอร์รัปชันในรัฐบาลรัฐประหารอาจจะสูงกว่ารัฐบาลเลือกตั้ง


เพิ่มเพื่อน    


23 เม.ย.62- นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์  โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala ว่า “เมื่อชอบใคร ก็ไม่ต้องดูพฤติกรรม?” มีคนเอ่ยแก่ผมว่า นิสัยคนไทย เมื่อชอบใคร ก็แทบจะไม่ต้องดูพฤติกรรมของเขา อะไรก็รับได้

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ว่า

‘วันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทุจริต ให้เป็นวาระเร่งด่วนและวาระแห่งชาติ ซึ่งได้มีการดำเนินการที่สำคัญๆ หลายประการ

ส่งผลให้เห็นว่างานปราบปรามของ ป.ป.ช. สามารถจะทำคดีได้รวดเร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยแสดงตัวเลขทางสถิติประกอบ’

ผมขอวิจารณ์ว่า ตัวผมเองมีประสบการณ์กับ ป.ป.ช. และพบว่า อาจจะมีประสิทธิภาพในการเอาผิดทุจริตระดับข้าราชการ แต่ดูเหมือนจะไม่ค่อยสามารถเอาผิดทุจริตเชิงนโยบายสำหรับระดับ ครม.

การฉวยประโยชน์ก้อนใหญ่จริงๆ นั้น จะต้องเป็นทุจริตเชิงนโยบาย

ดังเช่นกรณีที่มีการแปลงค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือไปเป็นภาษีสรรพสามิตในรัฐบาลทักษิณ ศาลเห็นว่าคุณทักษิณเป็นเจ้าของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากมาตรการนี้ จึงได้พิพากษายึดทรัพย์

คดีนี้เดิมค้างกลางอากาศ แต่ล่าสุดดำเนินคดีได้ถึงแม้จำเลยหนีไป จึงมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

การลงโทษทุจริตเชิงนโยบายนั้นค่อนข้างยาก เพราะทุกอย่างทำต่อหน้าประชาชน ทำอย่างเปิดเผย และการจะเข้าใจวัตถุประสงค์ได้ ก็ต้องทำการโยงเรื่องหลายจุด และขาดใบเสร็จที่จะโยงแบบเด็ดขาดไปถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ไม่น่าเชื่อ บุคคลที่นั่งอยู่ในคณะรัฐมนตรีรัฐบาลทักษิณ ที่อนุมัติการออกกฎหมายดังกล่าว มีบางรายที่อยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันด้วยซ้ำ ไม่มีคนอื่นต้องรับผิดชอบนอกจากคุณทักษิณ!!!

ทั้งนี้ ในอดีต ทุจริตเชิงนโยบายอาจจะมีไม่มาก เพราะนักการเมืองที่เข้าสู่ตำแหน่ง ที่ร่ำรวย และเป็นเจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ รายที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายได้นั้น จะมีน้อยมาก

แต่ปัญหามักจะเกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลปฏิวัติ เพราะถึงแม้ไม่มีบุคคลร่ำรวย ที่เป็นเจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่นักธุรกิจที่ร่ำรวย อาจจะซื้อรัฐบาลประเภทนี้ได้ง่าย

และเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ความเสี่ยงคอร์รัปชันในรัฐบาลปฏิวัติ อาจจะสูงกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเสียด้วย

เพราะกรณีนักการเมืองนั้น โกงเพียงเพื่อตัวเอง แต่กรณีนักปฏิวัตินั้น ถ้าขายตัว ก็จะโกงเพื่อใครๆ ก็ได้ จึงจะทำได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

สามโครงการที่ ดร.สมเกียรติ ประธาน TDRI ให้ประชาชนจับตา ก็คือ

1. เลื่อนจ่ายค่าประมูล 4G งวดสุดท้าย 1.6 แสนล้านบาท

2. ประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรี หลายแสนล้านบาท

3. ประมูลรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน 2.2 แสนล้านบาท

โครงการขนาดยักษ์ใหญ่อย่าง 3 โครงการนี้ ถ้าจะมีการโกง ก็จะต้องทำเป็นทุจริตเชิงนโยบาย เพื่อล๊อคสเปกเอื้อแก่ธุรกิจเฉพาะราย

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ใบเสร็จยังไม่ปรากฏ ตามปกติ ประชาชนก็สามารถลงโทษทางการเมืองได้

จึงเป็นที่น่าเสียดาย ถ้ามีการประกาศโครงการเหล่านี้ให้ชัดเจนไปก่อนเลือกตั้ง อาจจะได้เห็นว่าประชาชนคิดอย่างไร

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"