ประธานสภาผู้แทนราษฎร 'คีย์แมน' ยุค 'เสียงปริ่มน้ำ'


เพิ่มเพื่อน    

        ประธานสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นตำแหน่งที่สำคัญ เพราะเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ 1 ใน 3 อำนาจที่ถ่วงดุลกัน ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ

        โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้ที่จะมีบทบาทอย่างมาก ตั้งแต่การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ตลอดจนการเป็นประธานควบคุมการประชุม เพราะเสียงของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านค่อนข้าง “ปริ่มน้ำ”

        การลงมติเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ในการประชุมสภานัดแรกจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าการเลือกนายกรัฐมนตรี

        ผู้ที่จะมาเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรในชุดนี้ จึงต้องมีประสบการณ์ เชี่ยวชาญงานสภาฯ อาวุโส และบารมี เพียงพอต่อการควบคุมการประชุม

        ในยุคไม่กี่ปีหลัง ประธานสภาผู้แทนราษฎร มักจะมาจากพรรคอันดับ 1 ที่เป็นแกนนำรัฐบาล ไม่ว่าสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2535 ที่มีนายมารุต บุนนาค เป็นประธานสภาฯ

        นพ.บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ รัฐบาลพรรคชาติไทยในปี 2538, นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา รัฐบาลพรรคความหวังใหม่ในปี 2539, นายพิชัย รัตตกุล รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2543 นายอุทัย พิมพ์ใจชน รัฐบาลพรรคไทยรักไทยในปี 2544, นายโภคิน พลกุล รัฐบาลพรรคไทยรักไทยในปี 2548

        นายยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐบาลพรรคพลังประชาชนในเดือนมกราคม ปี 2551, นายชัย ชิดชอบ รัฐบาลพรรคพลังประชาชน เดือนพฤษภาคม 2551 ก่อนจะย้ายมาสังกัดพรรคภูมิใจไทยในช่วงระหว่างดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ  และนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยในปี 2554

        ทั้งนี้ ในช่วงที่มีการรัฐประหาร จะมีการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เข้ามาทำหน้าที่แทน ส.ส.และ ส.ว. โดยในปี 2549 มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน สนช. และในปี 2557 - ปัจจุบัน มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธาน สนช.

        ขณะที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่กำลังจะมาถึง พรรคพลังประชารัฐที่มีคะแนนรวมมากที่สุดในประเทศ กับพรรคเพื่อไทยที่มีจำนวน ส.ส.แบบแบ่งเขตมากที่สุด ต่างต้องการจะผลักดันคนของพรรคตัวเองไปทำหน้าที่ดังกล่าว

        ด้วยคะแนนเสียงที่ “ปริ่มน้ำ” และ 250 ส.ว. ไม่สามารถเข้าร่วมลงมติเห็นชอบได้เหมือนกับการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้การแย่งชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปอย่างเข้มข้น

        พรรคพลังประชารัฐต้องการประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคตัวเอง เพื่อความมั่นใจในการเลือกนายกรัฐมนตรี การพิจารณากฎหมาย ตลอดจนการลงอภิปรายไม่ไว้วางใจ

        ขณะที่พรรคเพื่อไทย แม้รู้ว่าโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลแข่งกับพรรคพลังประชารัฐเหลือน้อยนิด เพราะไม่มีเสียง 250 ส.ว.ช่วย แต่เมื่อการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรใช้  ส.ส.เพียงอย่างเดียว จึงมีโอกาสที่ช่วงชิงเก้าอี้ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ

        หากพรรคเพื่อไทยได้ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร จะทำให้การทำงานของฝ่ายบริหาร คือ รัฐบาลที่อยู่อีกขั้วทำงานยาก ทำให้เพิ่มโอกาสล้มรัฐบาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว

        ตามรายงานที่ออกมาว่า พรรคเพื่อไทยเตรียมผลักดัน "สมพงษ์ อมรวิวัฒน์" ว่า ที่ ส.ส.เชียงใหม่ ท้าชิงตำแหน่งนี้แข่งกับพรรคพลังประชารัฐ หรือหากพลาด อดีตแกนนำกลุ่ม 16 รายนี้จะเปลี่ยนบทบาทไปเป็น “ผู้นำฝ่ายค้าน” หลังจากคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และแกนนำของพรรคอีกหลายคนไม่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

        ส่วนพรรคพลังประชารัฐ แม้ประกาศจองตำแหน่งนี้เอาไว้ แต่เมื่อดูบุคลากรในพรรคที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตัวเลือกมีน้อยนิด ต่างจากพรรคประชาธิปัตย์ที่มีบุคคลที่มีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้จำนวนมาก

        116 ที่นั่ง คือ ตัวเลขที่พรรคพลังประชารัฐคำนวณว่า เป็นจำนวน ส.ส.ที่พรรคจะได้ หากแยกเป็นว่าที่ ส.ส.รุ่นใหม่และรุ่นเก่า พบว่า ว่าที่ ส.ส.รุ่นใหม่มีตัวเลขถึง 60 คน ขณะที่ ส.ส.รุ่นเก่า แม้บางคนจะมีประสบการณ์ หรือคุณสมบัติ แต่ต่างอยากจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมากกว่าประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงทำให้ตัวเลือกยิ่งแคบลงไป

        เหตุนี้จึงมีชื่อของนักการเมืองรุ่นใหญ่ที่เก๋าเกมในสภา และพอมีบารมีกับพวก ส.ส.ด้วยกัน อย่าง “สุชาติ ตันเจริญ” อดีตแกนนำกลุ่ม 16 ปรากฏขึ้นมา เพราะเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว เช่นเดียวกับ “วิรัช รัตนเศรษฐ” ว่าที่ ส.ส.นครราชสีมา ที่อยู่ในสภามานาน เป็นนักการเมืองรุ่นใหญ่ มีบารมีเมื่อเทียบคนที่เหลืออื่นๆ ในพรรค

        แต่นั่นเป็นเพียงการพูดถึงผู้ที่มีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งนี้ได้เท่านั้น เมื่อถึงเวลาจริงอาจไม่ใช่ ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของเจ้าตัวด้วย

        เพียงแต่สเปกว่าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังประชารัฐ ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ ชำนาญกระบวนการสภา เพราะต้องมารับมือกับเสียงที่ปริ่มน้ำ เก๋าเกมรับลูกล่อลูกชนกลอีกฝ่ายได้ ตลอดจนมีบารมีแม้แต่ฝ่ายค้านยังให้ความเคารพ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"