“ดิวตี้ฟรี”ยึดหลักธรรมาภิบาล


เพิ่มเพื่อน    

 

         ถือว่าคืบหน้าไปได้มากสำหรับโครงการประมูลพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) โดยเมื่อวันที่ 8 พ.ค.ที่ผ่าน ได้มีการเปิดรายชื่อกลุ่มเอกชนกิจการร่วมค้า Joint Venture (JV) ที่จะร่วมประมูลกิจกรรมเชิงพาณิชย์และร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.)

                ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื่องจากเป็นข้อกำหนดให้ผู้ที่เข้าประมูลโครงการดิวตี้ฟรี และพื้นที่เชิงพาณิชย์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ต้องยื่นเปิดเผยรายชื่อผู้ร่วมทุน (joint venture) หรือกิจการร่วมลงทุน (consortium) ต่อบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ภายในวันที่ 8 พ.ค.

                พบว่า ในส่วนงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (DUTYFREE) มีทั้งหมด 5 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด  ไม่ยื่นรายชื่อ JV 2.บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด แจ้งว่ามี JV2 คือ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และบริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ จำกัด 3.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ไม่ยื่นรายชื่อ JV

                4.บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่ามี JV คือ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด และ 5.บริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด และบริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) แจ้งว่ามี JV ประกอบด้วย บริษัท โรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED

                โดยในส่วนของานให้สิทธิประกอบกิจกรรมเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 4 ราย ดังนี้ 1.บริษัท คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2.บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ 4.บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เชั่นแนล จำกัด (มหาชน) โดยผู้ประกอบการทั้ง 4 รายดังกล่าวไม่มีผู้ประกอบการรายใดยื่นรายชื่อ JV แต่อย่างใด

                หลังจากนี้จะกำหนดให้เอกชนยื่นซองประมูล 22 พ.ค.นี้ จากนั้นจะมีกำหนดเปิดซองพิจารณาข้อเสนอและเปิดซองด้านเทคนิค คาดว่าจะทราบผลผู้ชนะในวันที่ 31 พ.ค. ก่อนจะเสนอผลการประมูลและรายชื่อเอกชนที่ชนะโครงการเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ทอท.ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ โดยมีอายุสัมปทานตั้งแต่ 2563 ก.ย.-2574 มี.ค. รวมระยะเวลา 10 ปี ก่อนเสนอผลการคัดเลือกเอกชนไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

                แต่ขณะเดียวกันก็ได้มีนักวิชาการออกมาแสดงท่าทีในกระบวนการประมูลผลตอบแทนและแผนการลงทุน ในการยื่นประมูลดิ้วตี้ฟรีไว้ มองว่ายังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียด และต้องการให้มีการเปิดเผยรายะเอียดว่ามีอะไรบางแผนที่จะทำเป็นอย่างไร เพื่อความโปร่งใส เนื่องจากในข้อกำหนดไม่ได้กล่าวไว้หรือมีข้อชี้แจงในเรื่องนี้

                นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของเอกชนบางรายที่ได้เข้าร่วมการประมูวดิวตี้ฟรีในครั้งนี้ หลังจากมีข้อครหาเรื่องการปั่นหุ้น หากมองว่ากรณีนี้ไม่มีผลกระทบต่อการประมูล ก็ไม่รู้ว่า ทอท.ที่มีนโยบายเรื่องธรรมาภิบาล จริยธรรม ความโปร่งใส ความซื่อสัตย์สุจริต จะรุกมาจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นข้อติฉินนินทา จนองค์กรได้รับความเสียหาย

                แต่ก็ได้ยินมาว่าสำหรับเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติเอกชนที่เข้าร่วมประมูล ทอท.จะประเมินที่ตัวนิติบุคคลไม่ได้มีเกณฑ์กำหนดพิจารณาคุณสมบัติของรายบุคคล โดยตามเอกสารโครงการจะพิจารณาคุณสมบัติจากเอกสารรับรองประสบการณ์และผลงานของนิติบุคคล หรือกิจการร่วมค้าหรือกิจการร่วมลงทุน ซึ่งผลงานของผู้ที่เข้าร่วมสามารถนำมาใช้แสดงเป็นผลงานของกิจการร่วมค้าหรือกิจการร่วมลงทุนได้ ยกเว้นประสบการณ์และผลงานของบุคคลธรรมดา ไม่สามารถนำมาเป็นประสบการณ์ และผลงานในการพิจารณาคัดเลือก

                จะว่าไปแล้วเรื่องนี้ถือเป็นเผือกร้อนตั้งแต่เริ่มโครงการก็มีกระแสข่าวโจมตีตั้งแต่แรกถึงความไม่โปร่งใส โดยมีหลายหน่วยงานออกมาท้วงติง จนผู้บริหารต้องออกมาชี้แจงการดำเนินการ และกว่าจะเริ่มประมูลได้ก็เลื่อนแล้วเลื่อนอีก จนมาถึงวันนี้ก็หวังว่าการดำเนินการจะราบรื่นโปร่งใสตามที่ ทอท.ได้ยึดหลักธรรมาภิบาลที่ ทอท.ยึดเป็นหลักในการบริหารงานภายในองค์กร.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"