ชาวเทพาร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ‘เทพาที่ยั่งยืน’ ขอแก้ไขผังเมืองสงขลา  เน้นปกป้องพื้นที่เกษตรกรรม-ไม่เอาอุตสาหกรรม


เพิ่มเพื่อน    

อ.เทพา  จ.สงขลา / ชาวเทพาร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เทพาที่ยั่งยืน  จัดเวทีทำข้อเสนอแก้ไขการทำผังเมืองจังหวัดสงขลา  เพื่อยื่นเสนอต่อคณะกรรมการผังเมือง  กระทรวงมหาดไทย  เน้นปกป้องพื้นที่อุตสาหกรรมไม่เอาโรงงานอุตสาหกรรม  ด้านนักวิชาการผังเมืองชี้ผังเมืองรวม จ.สงขลาที่กำลังแก้ไขนี้เหมือนกับจัดทำผังเมืองใหม่  เพราะกำหนดโซนพื้นที่ไม่มีความชัดเจน  เปิดช่องให้มีการนำพื้นที่เกษตรกรรมไปใช้เพื่อการอุตสาหกรรม  ทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม  และเกิดความขัดแย้งขึ้นได้

 

ตามที่กรมโยธาธิการและผังเมือง  กระทรวงมหาดไทย  ได้ประกาศใช้ผังรวมจังหวัดสงขลาเมื่อปี 2561  และขณะนี้ได้ปรับปรุง (ครั้งที่ 1 ) เรื่องการจัดทำข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา  โดยกำหนดให้จังหวัดสงขลาเป็นเมืองศูนย์กลางระดับภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญด้านการบริหารและการปกครอง  การค้า  การบริการที่ได้มาตรฐาน  ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจและพาณิชยกรรมของภาคใต้ตอนล่าง  และสอดคล้องกับความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  โดยจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้มีความพร้อมในการพัฒนาเมือง  อุตสาหกรรม  และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  ขณะเดียวกันชาวสงขลาก็กังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ  จึงได้จัดเวทีเพื่อจัดทำข้อเสนอของภาคประชาชนต่อทางราชการ  โดยเริ่มที่อำเภอเทพาเป็นแห่งแรก

ล่าสุดวันนี้ (23 พ.ค.) คณะทำงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทพาที่ยั่งยืน  ร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล อำเภอเทพา   ขบวนองค์กรชุมชนตำบลอำเภอเทพา   ตัวแทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการขับเคลื่อน “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทพาที่ยั่งยืน”  ที่ห้องประชุมอาคารผู้สูงอายุ  โรงพยาบาลเทพา  โดยมีนายสนอง จันทร์รักษ์ นายอำเภอเทพา  เข้าร่วมรับฟัง  และมีตัวแทนภาคประชาชนร่วมประชุมประมาณ 100 คน

 

อาจารย์ภารณี สวัสดิรักษ์ นักวิชาการอิสระด้านผังเมือง  กล่าวว่า  การปรับปรุงการจัดทำข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาของกรมโยธาธิการและผังเมืองในครั้งนี้เหมือนกับการจัดทำผังเมืองใหม่  เพราะการกำหนดโซนพื้นที่อยู่อาศัย  ชุมชน  เกษตรกรรม  และอุตสาหกรรมไม่มีความชัดเจนและปะปนกันมากขึ้น  จึงอาจทำให้มีการนำพื้นที่เกษตรกรรมไปใช้เพื่อการอุตสาหกรรม  ทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม  และเกิดความขัดแย้งขึ้นได้

ตัวอย่างเช่น  แผนผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคต  ข้อ 13 ระบุว่า  ที่ดินประเภท ก.2 เป็นที่ดินประเภทพัฒนาเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐาน  ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  การอยู่อาศัย  อุตสาหกรรม  คลังสินค้า  สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา  สถาบันราชการ  การสาธารณูปโภค  ฯลฯ  โดยห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ (4) จัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม  เว้นแต่การประกอบกิจการนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

 

“จะเห็นได้ว่าแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในข้อ 13 ประเภท ก.2 เป็นที่ดินประเภทพัฒนาเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐาน  แต่เปิดช่องให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมได้  ซึ่งทำให้ชาวบ้านเกิดความกังวลว่าจะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน  โดยเฉพาะที่อำเภอเทพา  เพราะชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรมและทำประมงพื้นบ้าน   นอกจากนี้ในการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาที่ผ่านมา  เป็นการดำเนินการโดยบริษัทเอกชน  ซึ่งตัวแทนชาวบ้านได้เข้าร่วมประชุมด้วย  แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ  เพราะใช้ภาษาที่ฟังยาก   ชาวบ้านจึงไม่ค่อยได้เสนอความคิดเห็น  จึงเป็นกระบวนการที่ขาดการมีส่วนร่วมคิด  ร่วมทำจากชุมชน”  อ.ภารณี  นักวิชาการด้านผังเมืองยกตัวอย่าง 

 

นอกจากนี้ อ.ภารณีบอกด้วยว่า  การจัดเวทีประชุมในวันนี้ได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ชาวบ้านแต่ละตำบลได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็น  เพื่อจะรวบรวมข้อมูลนำข้อเสนอของชาวบ้านอำเภอเทพาไปยื่นต่อคณะกรรมการผังเมือง  กระทรวงมหาดไทย  ภายในเดือนมิถุนายนนี้  เพื่อให้มีการแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมจังหวัดสงขลาให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของชาวบ้านต่อไป

สำหรับข้อเสนอของชาวอำเภอเทพาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการมีดังนี้  ตำบลเกาะสะบ้า  มีข้อเสนอต่อการแก้ไขผังเมือง  คือ 1.ไม่ต้องการให้มีโรงงานอุตสาหกรรม  เพราะเป็นเขตเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย  2. กำหนดโซนที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้  ฯลฯ   ตำบลปากบาง  1. ต้องการเขตอนุรักษ์และเกษตรกรรม  โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  2.ให้เปลี่ยนพื้นที่สีเหลืองใช้ทำกิจกรรมประมงชายฝั่งและเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน  สร้างพื้นที่สุขภาพของชุมชนในพื้นที่ริมทะเล   3.ไม่เอาโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน   ท่าเรือน้ำลึก  และโรงงานขนาดใหญ่  ฯลฯ

 

ตำบลบางใหญ่  มีข้อเสนอให้กำหนดพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ   การจัดการน้ำ  ฝายมีชีวิต   สร้างพลังงานแสงอาทิตย์   พื้นที่อนุรักษ์ป่าต้นน้ำ  ฯลฯ ตำบลเทพา  มีข้อเสนอไม่ต้องการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  ไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก   แต่ต้องการท่าเรือประมง   เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์  และเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ  ฯลฯ

 

อย่างไรก็ตาม  นอกจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้แล้ว  ในช่วงที่ผ่านมา  ชาวอำเภอเทพาได้รวมตัวกันขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์เทพาที่ยั่งยืน  โดยมีวิสัยทัศน์  คือ “คนเทพา  อยู่ดี  กินดี  มีความสุขอย่างยั่งยืน”  ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเพื่อจัดทำข้อเสนอการแก้ไขผังเมืองในครั้งนี้  ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เทพาที่ยั่งยืน  เพื่อกระตุ้นให้ชาวเทพามีความตื่นตัวและมองเห็นถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนท้องถิ่นของตัวเอง  และพร้อมที่จะร่วมกันปกป้องและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

 

ทั้งนี้อำเภอเทพามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  978  ตารางกิโลเมตร  ประชากรประมาณ  67,700 คน  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  สวนยาง  ปาล์มน้ำมัน  มะพร้าว  สับปะรด   ประมงพื้นบ้าน  ฯลฯ  โดยก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2560-2561 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตมีแผนงานส่งเสริมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่อำเภอเทพา  แต่ถูกชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านเพราะกังวลเรื่องผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินจนโครงการต้องยกเลิกไป

เดิมผังเมืองรวมจังหวัดสงขลามีพื้นที่สีเขียวหรือเกษตรกรรมค่อนข้างมาก

 

ผังเมืองที่แก้ไขใหม่ทำให้พื้นที่เกษตรลดลงกลายเป็นพื้นที่อยู่อาสัยและอุตสาหกรรม

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"