เทียบเชิญตั้งรัฐบาลเป็นทางการ


เพิ่มเพื่อน    

 "พุทธิพงษ์" เผยพลังประชารัฐเตรียมเดินสายเชิญประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา และชาติพัฒนา ร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ เผยเบื้องหลังดีลรอบสุดท้าย ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทยแพ็กคู่ใช้เก้าอี้ประธานสภาฯ เดินเกม

    เมื่อวันเสาร์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า การจัดตั้งรัฐบาลยังไม่ได้มีการดำเนินการอะไร เพราะต้องยอมรับว่า ปชป.เป็นพรรคระดับกลาง ฉะนั้นการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปได้ยาก จึงมีทางเลือกแค่ 2 ทาง คือไม่เป็นฝ่ายค้านก็เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนการเป็นพรรคร่วมยังไม่มีพรรคใดเชิญ
    เมื่อถามว่าถ้าพรรคพลังประชารัฐเทียบเชิญ จะไปร่วมหรือไม่ นายจุรินทร์กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับที่ประชุมร่วมระหว่าง ส.ส.กับ กก.บห.พิจารณา ทั้งนี้ หากพปชร.ยกโหวตให้นายชวนก็ต้องขอขอบคุณ
    นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ให้สัมภาษณ์กรณีได้รับการประสานส่งเทียบเชิญจากพรรคพลังประชารัฐแล้วหรือยัง โดยหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยตอบพร้อมกับหัวเราะว่า “ยัง เดี๋ยวเขาคงโทรศัพท์มา เมื่อคืนนอนเร็ว” 
    เมื่อถามว่าหากได้เทียบเชิญแล้วจะตอบรับร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า “เดี๋ยวรอโทรศัพท์ก่อน ตอนนี้ยังไม่มีอะไร ผมพร้อมทำเพื่อบ้านเมือง อะไรที่เป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ดีต่อบ้านเมือง ทำให้บ้านเมืองสงบ เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ใช่สัญญาอะไร ทุกอย่างเพื่อบ้านเมือง”
    ด้านนายเทวัญ ลิปตพัลลภ หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ยืนยันว่า กรณีที่จะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)? หรือไม่ เรามีการหารือกับพรรค พปชร.มาโดยตลอด ซึ่งถือว่ามีความชัดเจนอยู่แล้วว่าจะร่วมหรือไม่ร่วม
    นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า หลังการประชุมเลือกประธานสภาผู้แทนราษฏร พรรคพลังประชารัฐจะเดินทางไปเชิญทุกพรรคเข้าร่วมรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ทั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคชาติพัฒนา 
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับความปั่นป่วนในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นตลอดทั้งวัน มีการประเมินจากทั้งฝั่งพรรคที่จะจับมือตั้งรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นแกนนำ รวมทั้งจากฝั่งพรรคเพื่อไทย ที่วิเคราะห์ว่าการประชุมสภาเพื่อเลือกประธานสภาฯ ที่มีการยืดเยื้อนั้น เป็นการต่อรองของฝั่งพรรค พปชร.กับพรรคประชาธิปัตย์ ที่เล่นเกมต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีที่ยังไม่ลงตัว โดยเบื้องต้นพรรคประชาธิปัตย์ยังอยู่ที่ 6 ตำแหน่ง คือ รองนายกรัฐมนตรี รมว.พาณิชย์ รมว.เกษตรฯ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รมช.ศึกษาฯ รมช.มหาดไทย
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้เจรจาต่อรองตำแหน่ง รมว.มหาดไทย โดยสลับกับกระทรวง อื่นๆ จึงมีการประวิงเวลาในสภาเปิดทางให้แกนนำของทั้ง 2 พรรคเจรจาตกลงให้สะเด็ดน้ำ ก่อนที่จะกลับเข้ามาในห้องประชุมสภาเพื่อมาลงมติว่าจะเลื่อนหรือไม่เลื่อนการประชุมออกไปเป็นวันอื่น ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงบางกระทรวงจนเกิดความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย
    แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศที่มีความสับสนในการลงคะแนน อาจเป็นความตั้งใจที่ให้เสียงออกมาแพ้ เพราะมีการลงมติผิดถึง 5 คน ในกลุ่มอักษร “อ.อ่าง” นำโดยนายอนุชา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนนำเจรจาร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่น่าจะผิดพลาด 2 ครั้ง โดย ส.ส.ดังกล่าวอยู่ในกลุ่มสามมิตร กลุ่มปากน้ำ ซึ่งอยู่ในการดูแลของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ทั้งหมด 
    จนเมื่อปรากฏผลคะแนนออกมา พบว่าที่ประชุมมีมติ “ไม่เห็นด้วย” ที่จะเลื่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรออกไป เป็นวันอื่น โดยให้จบภายในวันนี้ และให้สนับสนุนนายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามที่มีกระแสข่าวมาก่อนหน้านี้ โดยผู้ที่เสนอชื่อนายชวนคือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นแกนนำในการเจรจากับพรรคประชาธิปัตย์ ตามที่มีการต่อรองตำแหน่งกันก่อนหน้านี้ 
    อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันนี้ถือเป็นการเช็กกำลังครั้งแรกของผู้ที่จะมาสนับสนุนพรรคพลังประชารัฐ ว่าเป็นไปตามที่ได้พูดคุยกันหรือไม่ ซึ่งปรากฏว่าเสียงของทั้ง 2 ขั้วการเมืองสูสีกันมาก ก่อนที่จะไปประลองกำลังอีกครั้งในการโหวตนายกรัฐมนตรี 
    ในส่วนของพรรคภูมิใจไทยค่อนข้างลงตัว จะได้ 6 ตำแหน่ง เท่ากับพรรคประชาธิปัตย์ มีรองนายกฯ, รมว.คมนาคม, รมว.สาธารณสุข, รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา, รมช.เกษตรและสหกรณ์ และ รมช.มหาดไทย 
    ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา เบื้องต้นยังได้อยู่ 2 ตำแหน่ง คือ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ 
    สำหรับกระทรวงที่ยังเหลืออยู่ประมาณ 15 ตำแหน่ง จะเกลี่ยให้กับโควตาของพรรค พปชร.และพรรคขนาดเล็ก เช่น พรรครวมพลังประชาชาติไทย อาทิ รมว.มหาดไทย, รมว.การคลัง, รมว.กลาโหม, รมว.แรงงาน, รมว.วัฒนธรรม, รมว.อุตสาหกรรม, รมว.การต่างประเทศ, รมว.ยุติธรรม, รมว.วิทยาศาสตร์ฯ,  รมว.พลังงาน, รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วน 11 พรรคเล็ก อาจจัดสรรในส่วนของประธานคณะกรรมาธิการชุดสำคัญต่างๆ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"