วธ.ชี้"ต้มยำกุ้่ง"มีอัตลักษณ์ สะท้อนกระบวนการทำอาหารของไทย สมควรขึ้นบัญชี" ยูเนสโก "เอกสารพร้อมมี.ค.63 


เพิ่มเพื่อน    

cr.cooking.teenee.com


28พ.ค.62-นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 5/2562 ว่า ที่ประชุมได้รับรายงานความคืบหน้าการเตรียมเสนอ “ต้มยำกุ้ง” เพื่อขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติต่อยูเนสโก ให้ทันภายในเดือนมีนาคม 2563 นอกจากนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้รายงานว่าได้ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานด้านการจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารไทย เมื่อวันที่ 18  พฤษภาคม 2563  โดยสาระของ ต้มยำกุ้ง จะเกี่ยวข้องกับมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ใน 3  สาขา คือ สาขาภาษาและมุขปาฐะ สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล และสาขาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
" คำว่า ต้มยำกุ้ง เป็นคำโดดในภาษาไทย มาจากคำว่า ต้ม และ ยำ ซึ่งมีความหมายที่แสดงกระบวนการทำอาหาร แสดงอัตลักษณ์ความเป็นไทย เป็นอาหารของคนภาคกลาง ที่แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชุมชนที่อยู่ติดกับริมแม่น้ำ มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ด้วยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้การประกอบอาหาร เช่น กุ้งในแม่น้ำ ต้มลงในน้ำเดือด ปรุงรสด้วยสมุนไพรต่าง ๆ รับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ ถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกายได้"รมว.วธ.กล่าว
นายวีระ เผยต่อว่า อย่างไรก็ตามเพื่อให้ตรงกับเกณฑ์การพิจารณาของยูเนสโก ต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลให้รอบด้าน โดยกำหนดชุมชนที่เกี่ยวข้องกับต้มยำกุ้งให้ชัดเจน  และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (public hearing) ในการจัดทำมาตรการเพื่อการสงวนรักษา จากการประชุมคณะทำงานด้านการจัดทำข้อมูลฯ พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สถาบันการศึกษาที่สอนเรื่องต้มยำกุ้ง สมาคมผู้ประกอบการ ผู้ได้รับรางวัลเกี่ยวกับต้มยำกุ้ง และชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการทำเครื่องต้มยำหรือปลูกสมุนไพร พบว่าในส่วนชุมชนมีการสืบทอดและพัฒนาสร้างสรรค์การทำต้มยำกุ้งอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน ร้านอาหาร และสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกระบบที่มีการเรียนการสอน ทำให้สามารถอ้างอิงข้อมูลได้ เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องรอบด้านแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนจัดทำเอกสารตามแบบฟอร์ม พร้อมสื่อต่างๆ เช่น ภาพถ่ายและวีดิทัศน์ จากนั้นจะเสนอให้คณะอนุกรรมการพิจารณาและขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดก ฯ และนำเสนอคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและเสนอคณะรัฐมนตรี และจะยื่นเอกสารต่อยูเนสโก ภายใน 31 มีนาคม 2563 เพื่อเข้าสู่รอบการพิจารณาต่อไป 

และที่ประชุมคณะกรรมการฯ ยังได้รับรายงานผลการดำเนินงาน โครงการรุกข มรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562  ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ ที่ทรงคุณค่าในทางธรรมชาติและมีความสำคัญต่อท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการสืบค้น เผยแพร่ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เห็นความสำคัญของต้นไม้ มีส่วนร่วมอนุรักษ์ รักษาต้นไม้ในท้องถิ่นของตน โดยประกอบด้วยต้นไม้จำนวน 88  ต้น อาทิ ต้นมะเดื่อยักษ์ หมู่บ้านวุ้งกะสัง โป่งน้ำร้อน คลองลาน กำแพงเพชร / ต้นยมหิน วัดพระธาตุดอยกูแก้ว บ้านป่าสักหลวง แม่จัน เชียงราย / ต้นสมอพิเภก อุทยานแห่งชาติแม่ตระไคร้ เชียงใหม่ / ต้นเต่าร้างยักษ์ อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อ.ปัว น่าน / ต้นสะตือ วัดสิงห์ สามโคก ปทุมธานี / กลุ่มระบบนิเวศน์ป่าโกงกาง วนอุทยานปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ / กลุ่มระบบนิเวศป่าไม้เสม็ดขาว สวนพฤกษศาสตร์ระยอง ระยอง /  ต้นค้างคาว อนุสาวรีย์พระศรีสุวรรณวงศา พยัคฆภูมิพิสัย มหาสารคาม / กลุ่มต้นสนยักษ์ วนอุทยานป่าสนหนองคู สุรินทร์ / ต้นกระทิง (สารภีทะเล) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ คุระบุรี พังงา  เป็นต้น

การประกาศผลการคัดเลือกต้นไม้ทรงคุณค่า ประจำปี 2562 จำนวน 88 ต้น นี้ จัดทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เป็นการเจริญรอยตามพระราชปณิธาน ที่ทรงให้ความสำคัญในการรักษาทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกระแสการอนุรักษ์ รักษาต้นไม้ ในหมู่ประชาชนอย่างจริงจัง  ทั้งยังส่งผลดีต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชุมชน สามารถเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"