เทรนด์ใหม่โลจิสติกส์


เพิ่มเพื่อน    

 

                ด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศไทย ที่เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้รัฐบาลพยายามผลักดันให้ไทยเรากลายเป็นศูนย์กลางของระบบโลจิสติกส์ และการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค เห็นได้จากการเร่งลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มากมาย ทั้งระบบราง ถนน ท่าเรือ และสนามบิน แน่นอนหากทุกโครงการประสบความสำเร็จได้ตามแผนที่วางเอาไว้ จะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศเลยทีเดียว ซึ่งจะปักหมุดให้ไทยเรากลายเป็นดินแดนที่สนใจในสายตาของนักลงทุนชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น

                แต่อย่างไรก็ดี การมีแค่โครงสร้างพื้นฐานที่ดีเพียงอย่างเดียว ยังไม่ใช่คำตอบของการพัฒนาโลจิสติกส์ทั้งระบบ เพราะเมื่อโครงสร้างทางคมนาคมนั้นเปรียบเสมือน “ฮาร์ดแวร์“ สิ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องมีควบคู่กัน นั่นก็คือ “ซอฟต์แวร์” ซึ่งก็หมายถึง นวัตกรรมและเทคโนโลยี และสุดท้าย “พีเพิลแวร์” หรือ ผู้ใช้งาน ที่จะต้องทำงานสอดประสานซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการพัฒนามากที่สุด

                อย่างที่ทราบกันดีเรื่องต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ของไทย ซึ่งอยู่ที่ 13-14% ของจีดีพีนั้น ยังถือเป็นตัวฉุดขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยไทยเราเองมีเป้าหมายที่จะลดต้นทุนในส่วนนี้ให้อยู่ในระดับไม่เกิน 12% ต่อจีดีพี ในปี 2564 ซึ่งต้องยอมรับว่าการจะลดต้นทุนตามแผนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง เพราะยุค 4.0 ที่เรามีเทคโนโลยีตัวช่วยอำนวยความสะดวกมากมาย ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดต้นทุนในการบริหารจัดการได้จริงๆ

                โดยเทคโนโลยีที่มาแรง ในการยกระดับโลจิสติกส์ ประกอบไปด้วย 1.Internet of Thing (IoT) หรือ อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง ซึ่งมาแรงมาก และกำลังกล่าวถึงอย่างมากในวงการโลจิสติกส์ เนื่องจากเทคโนโลยีตัวนี้ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลและเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ มาสร้างฐานข้อมูลเชิงลึก ที่จะช่วยในการวางแผนและแก้ปัญหาใหม่ๆ ได้ ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการขนส่งสินค้า 2.บิ๊กดาต้า และ 3.ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกัน โดยบิ๊กดาต้าจะมีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจกับลูกค้า ซึ่งยิ่งมีข้อมูลมาก ผู้ประกอบการก็จะลดความเสี่ยง ส่วนเทคโนโลยี AI นั้นจะมีส่วนเสริมในการยกระดับการบริการ และลดต้นทุนแรงงาน คน

                4.เทคโนโลยีหุ่นยนต์และแขนกล ซึ่งแม้ว่าตอนนี้ในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็มีการนำเทคโนโลยีแบบนี้มาใช้แล้ว แต่ในวงการโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะต้องรับมือกับคำสั่งซื้อจำนวนมาก การใช้หุ่นยนต์มาทำหน้าที่ขนส่งสินค้า หรือจัดเรียงสต็อกสินค้า เริ่มถูกกล่าวถึงมากขึ้น

                และอีก 2 เทคโนโลยีที่คาดว่าจะมาแน่นอน นั่นก็คือ 5.ระบบรถยนต์ไร้คนขับ และ 6.อากาศยานไร้คนขับ (โดรน) ซึ่ง 2 เทคโนโลยีนั้นถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของรถยนต์นั้น อาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกซักระยะ มันต้องเกี่ยวพันกับเทคโนโลยีการสื่อสารยุค 5จี ส่วนเรื่องของโดรนนั้น มีการพัฒนา และเริ่มนำมาใช้งานทางด้านโลจิสติกส์พอสมควร อย่างบริษัท UPS ได้ทดสอบการจัดส่งสินค้าแบบ Feeder ด้วยโดรนอัตโนมัติบินจากรถบรรทุกไปส่งสินค้า ณ จุดหมาย

                สุดท้ายเทคโนโลยีที่ลืมไม่ได้นั่นก็คือ 7.บล็อกเชน (BLOCKCHAIN) ซึ่งนำมาใช้กับธุรกิจโลจิสติกส์ได้ ในเรื่องของการลดความซับซ้อนของการจัดการทางด้านห่วงโซ่อุปทาน เช่น การตรวจสอบสถานการณ์ขนส่งสินค้า และกระบวนการศุลกากร พร้อมทั้งจ่ายเงินแบบอัตโนมัติผ่านระบบ Smart Comtract จะเห็นได้ว่า หลายเทคโนโลยีเริ่มกลายเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว และมีการลงทุนที่คุ้มค่า ซึ่งผู้ประกอบการในไทยจะต้องคิดตระหนักในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในอนาคตต่อไป.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"