กฟน. รับฟังเสียงประชาชน จัดชี้แจงลดผลกระทบก่อสร้างโครงการไฟฟ้าใต้ดินถนนพระราม 3 ช่วงที่ 1


เพิ่มเพื่อน    

วันนี้ (29 พฤษภาคม 2562) นายเทพศักดิ์ ฐิตะรักษา รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เป็นประธานงานประชุมชี้แจงเดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการถนนพระราม 3 ช่วงที่ 1 โดยมีผู้แทนจากองค์กร และหน่วยงานภาคธุรกิจต่าง ๆ ในพื้นที่ เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงรายละเอียดแผนดำเนินงาน  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ ถนนพระราม 3 กรุงเทพฯ

นายราเชนทร์ พฤทธิพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ กฟน. กล่าวว่า ตามที่ กฟน. ได้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร เดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงมหาดไทย และรัฐบาล เร่งดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้า  การรองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ลดอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติส่งผลทำให้เสาไฟฟ้าล้ม สร้างความปลอดภัยแก่ประชาชน และสร้างทัศนียภาพที่สวยงามนั้น ล่าสุด กฟน. ได้ดำเนินโครงการบนถนนพระราม 3 ช่วงที่ 1 (สถานีต้นทางถนนตก - สะพานพระราม 9) รวมระยะทาง 4.7 กิโลเมตร มูลค่าสัญญาโครงการฯ กว่า 1,900 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จภายใน ปี 2564 โดย กฟน. จะดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เวลา 22.00 น. ถึง 05.00 น. ของทุกวันเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการจราจร และในการประชุมครั้งนี้ กฟน. จะชี้แจงข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ แผนงานก่อสร้างด้านโยธา และระบบไฟฟ้า รวมถึงการจัดการจราจรในบริเวณก่อสร้าง นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็น พร้อมให้ข้อมูลสำคัญ เพื่อ กฟน. จะพิจารณาปรับปรุงแผนงานให้มีความเหมาะสม และส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด

สำหรับพื้นที่ถนนพระราม 3 นั้น กฟน. มีแผนดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินเนื่องจากเป็นหนึ่งในเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ประกอบกับมีผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และบ้านอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก กฟน. จึงได้วางแผนดำเนินโครงการโดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 มีระยะทาง 4.7 กิโลเมตร ตั้งแต่สถานีต้นทางถนนตก - สะพานพระราม 9 และช่วงที่ 2 มีระยะทาง 6.2 กิโลเมตร ตั้งแต่สะพานพระราม 9 - เลียบทางพิเศษเฉลิมมหานคร รวมระยะทาง 10.9 กิโลเมตร  โดย กฟน. ได้พิจารณาดำเนินโครงการฯ ในช่วงที่ 2 ก่อน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จในภายในปี 2563

 

ทั้งนี้ สำหรับภาพรวมการดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของ กฟน. ในปี 2562 ประกอบด้วย

1) โครงการที่จะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2562 ได้แก่

- โครงการปทุมวัน จิตรลดา พญาไท (เพิ่มเติม)ถนนเพชรบุรี (แยกยมราช ถึง แยกอุรุพงษ์) ระยะทาง 0.2 กิโลเมตร รื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จ เดือนมิถุนายน ถนนนครสวรรค์ (แยกนางเลิ้ง ถึง คลองผดุงกรุงเกษม) ระยะทาง 0.3 กิโลเมตร รื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จ เดือนสิงหาคม

- โครงการถนนนานา (ช่วงถนนสุขุมวิท ถึง คลองแสนแสบ) รวมระยะทาง 0.75 กิโลเมตร รื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จ เดือนมิถุนายน

- โครงการนนทรี ถนนสาธุประดิษฐ์ ระยะทาง 1 กิโลเมตร รื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จ เดือนสิงหาคม        ถนนสว่างอารมณ์ ระยะทาง 1 กิโลเมตร รื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จ เดือนกันยายน

- โครงการถนนวิทยุ รวมระยะทาง 2.1 กิโลเมตร กำหนดรื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จ เดือนธันวาคม

 

2) โครงการที่อยู่ระหว่างกำลังดำเนินการก่อสร้าง 54.1 กิโลเมตร อาทิ โครงการนนทรี โครงการพระราม 3 โครงการรัชดาภิเษก-พระราม 9 โครงการรอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และโครงการถนนวิทยุ

 

3) โครงการที่จะลงนามสัญญาก่อสร้างในปี 2562 รวมประมาณ 114.9 กิโลเมตร มูลค่าของสัญญากว่า 20,000 ล้านบาท อาทิ โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน โครงการตามแนวรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ และโครงการร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น

#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

Energy for city life, Energize smart living

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"