ปลื้มขีดแข่งขันไทยขยับที่25


เพิ่มเพื่อน    

  “บิ๊กตู่” ปลื้มผลจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ขยับ 5 อันดับ จาก 30 มาอยู่ที่ 25 ก้าวกระโดดในรอบกว่า 10 ปี ชี้ยังมีภารกิจท้าทายที่ต้องพัฒนา 

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (ทีเอ็มเอ) แถลงถึงผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก World Competitiveness Center ของ International Institute for Management Development (ไอเอ็มดี) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประจำปี 2562 ซึ่งจัดอันดับทั้งหมด 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก พบว่าเขตเศรษฐกิจที่อันดับสูงสุด 5 อันดับแรกคือ สิงคโปร์ เลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับที่ 1 แทนที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งลดลงไปเป็นที่ 3 รองลงมาคือ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามลำดับ  
    นายทศพรกล่าวอีกว่า เขตเศรษฐกิจในกลุ่มอาเซียนที่จัดอันดับ 5 เขตเศรษฐกิจอันดับดีขึ้นเกือบทั้งหมด สิงคโปร์อันดับ 1 มาเลเซียอันดับคงที่ 22 เช่นเดียวกับปีที่แล้ว ส่วนประเทศไทยอันดับสูงขึ้น 5 อันดับ จากอันดับ 30 มาอยู่ที่อันดับ 25 ซึ่งการจัดอันดับแบ่งเป็น 4 ด้าน ประเทศไทยปรับตัวดีขึ้น 3 ด้าน ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ประสิทธิภาพของธุรกิจลดลง 2 อันดับ จากการจัดอันดับ 63 เขตเศรษฐกิจทั่วโลก ส่วนอินโดนีเซียอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากอันดับที่ 43 เป็น 32 และฟิลิปปินส์ จากอันดับที่ 50 เลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับที่ 46 
    นายทศพรกล่าวต่อว่า สมรรถนะทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของภาครัฐของไทยดีขึ้น 2 อันดับ โดยด้านเศรษฐกิจการลงทุนจากต่างประเทศมีอันดับดีขึ้นมาก ขณะที่การปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจก็ส่งผลให้อันดับด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของประสิทธิภาพของภาครัฐดีขึ้นถึง 4 อันดับ นับว่าเป็นผลจากการที่รัฐบาลมีแนวทางดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการปรับกฎระเบียบให้ทันสมัยคล่องตัว และส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในการให้บริการรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการแก้ปัญหาปัจจัยพื้นฐานเชิงโครงสร้างทุกด้าน และกำลังผลักดันให้เกิดผลอย่างต่อเนื่องและในวงกว้างมากขึ้น 
     เลขาธิการสภาพัฒน์กล่าวอีกว่า สศช.ยังดำเนินโครงการที่เรียกว่าการสร้างอนาคตประเทศไทย หรือ Futurising Thailand ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท 101 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโครงการทำหน้าที่สื่อสารสาธารณะในเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสาธารณชน โดยเฉพาะหลักนโยบายที่จะยกระดับขีดความสามารถทั้งในเรื่องทุนมนุษย์ กฎระเบียบและการพัฒนาในระดับพื้นที่ที่จะพัฒนาขีดความสามารถให้ความสามารถให้มีความทั่วถึงในระดับพื้นที่ รวมทั้งรัฐบาลเร่งรัดให้หน่วยดำเนินแผนงานโครงการที่จะส่งผลต่อการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน 
    น.ส.วรรณวีรา รัชฎาวงศ์ คณะกรรมการศูนย์เพื่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และกรรมการบริหารทีเอ็มเอ กล่าวว่า ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยดีขึ้น 5 อันดับ มาอยู่อันดับที่ 25 ปีนี้ จากปีที่ผ่านมาอยู่อันดับที่ 30 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ทำให้ผลการจัดอันดับดีขึ้น ยังมีประเด็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นรากฐานของการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวก็มีอันดับสูงขึ้นถึง 4 อันดับจากปีที่แล้ว โดยเฉพาะผลจากภาคเอกชนที่ลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาคิดเป็น 0.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 
    พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พอใจผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยประจำปี 2562 ซึ่งประเมินโดยไอเอ็มดี ที่ไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ จากอันดับที่ 30 เป็น 25 ซึ่งนับเป็นอันดับที่ดีที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา โดยผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้าน จากทั้งหมด 4 ด้าน คือ สภาวะเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังเป็นประเด็นท้าทายที่ไทยต้องพัฒนาต่อไป 
พล.ท.วีรชนกล่าวต่อว่า นายกฯ ย้ำว่าความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย และท้ายที่สุดคนไทยและประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์โดยตรง ซึ่งรัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้อันดับเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศดีขึ้นมาก เช่นเดียวกับการปรับปรุงกระบวนการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจผ่านระบบดิจิทัล ทำให้การบริการรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศอย่างก้าวกระโดด
“นายกฯ ระบุว่าสิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้ทุกภาคส่วน ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมมือกันยกระดับการทำงานของตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงภาคการเกษตร ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ โดยรัฐบาลเร่งส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ และพัฒนาคนให้พร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน”พล.ท.วีรชนกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"