"สถิติโลก" กับการ "ตั้งรัฐบาล"


เพิ่มเพื่อน    

 

       "เคี้ยวข้าวคำเดิม" แหลกจนเกินกลืน ในเรื่องตั้งรัฐบาล

                ฉะนั้น วันนี้ เปลี่ยนมั่ง........

                เปลี่ยนไป "อ่านข่าว" ซัก ๒ ข่าว ดับคาวในลำคอ

                ท่านที่เป็นแฟนเพจผม คงแวบผ่านตาแล้ว หรือบางท่าน ก็ทราบเรื่องราวเหล่านั้นอยู่แล้ว

                แต่เอาเหอะ...อ่านอีก อ่านให้มันชำแรกผ่านเซลล์เส้นผมเข้าฝังสมองไปเลย

                ทั้ง ๒ ข่าว ผมฉกจากเว็บ "สปริงนิวส์" และ "นิว ๑๘" อ่านกันก่อน แล้วค่อยคุย

                springnews

                เปิดสถิติ! ประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลนานที่สุดในโลก?

                การใช้เวลายาวนานที่กว่าจะจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งสำเร็จ ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่

                ประเทศเบลเยียม ครองตำแหน่งประเทศที่ใช้เวลาในการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลยาวนานที่สุด

                ๕๔๑ วัน!

                ในขณะที่เยอรมนี เกือบต้องมีการเลือกตั้งใหม่ หลังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายน ปี ๒๐๑๐

                สมาชิกสภาราษฎรของเบลเยียมที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้งมาไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะความแตกต่างทางนโยบายระหว่างฝ่ายเฟลมมิชและฟรองโคโฟน

                กฎหมายเบลเยียม กำหนดให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.ในรัฐบาลกลาง

                เมื่อยังไม่มีรัฐบาลกลาง จึงทำให้ประเทศไม่มีผู้นำไปโดยอัตโนมัติ

                ปัญหาขัดแย้งที่ใหญ่สุดคือ ความคิดเห็นต่อการปฏิรูปประเทศ

                ฝั่งเฟลมมิช ต้องการกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางสู่ฝ่ายปกครองท้องถิ่นมากขึ้น

                ขณะที่ฝั่งฟรองโคโฟน ต่อต้านการกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลาง

                เพราะจะทำให้พื้นที่ยากจนที่ส่วนใหญ่เป็นฝั่งฟรองโคโฟนได้รับเงินทุนรัฐบาลน้อยลงด้วย

                หลังการเจรจาผ่านคนกลางจากหลายฝ่าย รวมทั้งคนกลางที่แต่งตั้งโดยกษัตริย์อัลเบิร์ตที่ ๒ ของเบลเยียม

                ในที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็สามารถหาข้อยุติลงได้ ในเดือนตุลาคมปีต่อมา

                รวมระยะเวลาที่เบลเยียมไม่มีรัฐบาลกลาง นานถึง ๕๔๑ วัน

                ในระหว่าง ๑๘ เดือนนั้น..........

                ระบบการปกครองของเบลเยียมที่เป็นแบบกระจายอำนาจ ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถทำงานต่อไปได้

                นักวิเคราะห์ระบุว่า ความซับซ้อนยุ่งยากของระบบราชการที่เคยถูกมองว่า เป็นจุดอ่อนของประเทศ และข้าราชการที่ไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง

                กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศสามารถฝ่าฟันช่วงวิกฤติทางการเมืองไปได้

                ชาวเบลเยียมเอง ก็ผ่านช่วงวิกฤติมาได้ ด้วยการประท้วงรัฐบาล และอารมณ์ขัน

                ไม่ว่าจะมีการออกมาเรียกร้องให้ชาวเบลเยียม งดการมีเพศสัมพันธ์ และหยุดโกนขน จนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่

                ในขณะที่มีการแจกจ่ายเฟรนช์ฟรายด์ และเบียร์ เมื่อเบลเยียมทำลายสถิติโลกเดิม กลายเป็นประเทศที่ใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาลยาวนานที่สุดในโลก

                รับรองโดย "กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด"

                ขณะที่ใกล้ๆ กัน และเป็นประเทศพี่ใหญ่ของยุโรปอย่างเยอรมนี ก็เกือบจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ จนเกือบต้องมี "เลือกตั้งใหม่" ด้วยเช่นกัน

                เมื่อ "นางอังเกลา แมร์เคิล" นำพรรคสหภาพคริสเตียน เดโมแครต หรือ CDU ชนะการเลือกตั้งทั่วไป ในเดือนกันยายน ปี ๒๐๑๗ ด้วยคะแนน ๓๓% ซึ่งถือว่าต่ำ

                จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคอื่น เพื่อปูทางให้นางแมร์เคิลได้เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ ๔

                พรรค CDU พยายามเจรจาจับมือกับพรรคต่างๆ แต่ล้มเหลว

                จึงทำให้ต้องหันไปเจรจากับพรรคสังคมประชาธิปไตย หรือ SDP ซึ่งได้ที่นั่งมาเป็นอันดับสอง

                แต่การเจรจาก็ล้มเหลวหลายครั้งเช่นกัน เพราะมีนโยบายที่ไม่ตรงกันในหลายเรื่อง

                เช่น ปัญหาผู้อพยพ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก รวมถึงเรื่องสหภาพยุโรป

                นางแมร์เคิลและพรรค CDU ใช้เวลาถึง ๑๓๖ วัน ในการเจรจากับพรรค SDP

                ท้ายที่สุด นางแมร์เคิลต้องยอมถอยในบางประเด็น เช่น ต้องยกกระทรวงหลักๆ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานให้พรรค SDP

                จึงทำให้ทั้งสองพรรค ประกาศจัดตั้งรัฐบาลกันได้ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ปี ๒๐๑๘

                กินเวลา "มากกว่า ๔ เดือน"!

                ถือเป็นการใช้เวลาเจรจาจัดตั้งรัฐบาล "นานที่สุด" นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสหพันธรัฐเยอรมนี

                ในขณะเดียวกัน ก็เป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่พรรค CDU ต้องสูญเสียการคุมอำนาจในส่วนที่สำคัญด้วย

                ปิดท้ายกันที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ปีที่แล้ว

                นายมาร์ค รัทเทอ นายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลาเจรจาจัดตั้งรัฐบาลนานถึง ๒๐๘ วัน

                หรือเกือบ ๗ เดือน กว่าจะบรรลุข้อตกลงตั้งรัฐบาลได้ในเดือนตุลาคม

                การเจรจาดังกล่าว ถือว่ายาวนานสุดในประวัติศาสตร์การเมืองยุคใหม่ของเนเธอร์แลนด์เลยทีเดียว

                รัฐบาลสี่พรรคผสมของเนเธอร์แลนด์นี้ ต้องเผชิญความท้าทาย เนื่องจากมีทั้งพรรคสายเสรีนิยมและอนุรักษนิยม

                ที่บางพรรคนั้น........

                ส่งเสริมสิทธิกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ สนับสนุนการรวมตัวของสหภาพยุโรป รวมถึงสิทธิในการเลือกตาย

                ในขณะที่บางพรรค ไม่สนับสนุนการทำแท้ง หรือการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน และสิทธิในการเลือกตาย

                นอกจากนี้ รัฐบาลผสมชุดนี้ ยังมีเสียง "เกินเสียงข้างมาก" ในสภาเพียง ๑ เสียงเท่านั้น

                ขณะที่ มีพรรคการเมือง ถึง ๑๓ พรรค ในรัฐสภา

                จึงทำให้เกิดคำถามว่า....
                รัฐบาลชุดนี้จะสามารถอยู่ครบวาระสี่ปีได้หรือไม่
?

                --------------------------

                NEW 18

                สภา “คเนสเซต” รัฐสภาอิสราเอล ลงมติด้วยคะแนน ๗๔-๔๕ คะแนน ยุบตัวเอง เช้าวันพฤหัสบดี (๓๐ พ.ค.๖๒)

                ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

                หลังจากนายกรัฐมนตรี "เบนจามิน เนทันยาฮู" ล้มเหลวในการจัดตั้งรัฐบาลผสม

                ซึ่งก็เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเช่นกัน ที่ผู้ที่คาดว่าจะได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถตั้งรัฐบาลผสมได้

                ทำให้อิสราเอลต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ กำหนดในวันที่ ๑๗ กันยายนนี้

                การลงมติ "ยุบสภา" คเนสเซต มีขึ้นไม่กี่นาที หลังพ้นกำหนดเส้นตายจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ในเวลาเที่ยงคืนวันพุธ ตามเวลาท้องถิ่นในอิสราเอล

                หรือตรงกับ ๐๔.๐๐ น. ของวันพฤหัสบดีตามเวลาในไทย

                การเจรจาตั้งรัฐบาลผสม หยุดชะงักกรณีการเสนอร่างกฎหมาย ซึ่งมีจุดประสงค์ให้วัยรุ่นชาวยิวออร์โธดอกซ์สุดโต่ง เกณฑ์ทหารรับใช้ชาติโดยไม่มีการยกเว้น

                แต่พรรคการเมืองเคร่งศาสนาออร์โธดอกซ์สุดโต่งของอิสราเอล

                เรียกร้องให้มีการแก้ไขร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้มีการยกเว้นเหมือนเดิม

                ขณะที่ "นายอาวิกดอร์ ลีเบอร์แมน" อดีตรัฐมนตรีกลาโหม จากพรรคยิสราเอล เบเตนู  (Yisrael Beitenu) ซึ่งถือว่าเป็นพรรคพันธมิตรหลักในการตั้งรัฐบาลผสมของนายเนทันยาฮู พยายามผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้

                โดยไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลง และต้องการให้มีการยกเลิก "การยกเว้นการเกณฑ์ทหาร"

                เพื่อให้เด็กหนุ่มเหล่านี้ มีส่วนในการรับใช้ชาติ

                ซึ่งชาวอิสราเอลจำนวนมาก ก็ต้องการเช่นนี้ จนทำให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก

                ทั้งนี้ นายเนทันยาฮูมีลุ้นที่จะบริหารประเทศเป็นสมัยที่ ๕ หลังพรรคลิคุดของเขา ชนะเลือกตั้งได้ ๓๕ ที่นั่ง จากจำนวน ๑๒๐ ที่นั่ง ในสภาคเนสเซต ในการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

                แต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับนายลีเบอร์แมนเกี่ยวกับร่างกฎหมายดังกล่าว

                อย่างไรก็ตาม นายเนทันยาฮู กล่าวว่า........

                เขาจะยังได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และชนะในการเลือกตั้งครั้งใหม่เช่นเดิม

                เป็นไงครับ....!?

                ดูแต่การเจรจาตั้งรัฐบาลของเรา แล้วก็บ่น...ไรว้า..เลือกตั้งมาร่วม ๒ เดือน ยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ซักที นั่นน่ะ

                ของเขา..."ยุโรป ประชาธิปไตยจ๋า"

                เลือกตั้งแล้ว ใช้เวลาเจรจา-ต่อรองกัน ร่วม ๒ ปี กว่าจะตั้งรัฐบาลได้

                แต่คนเบลเยียม คนเยอรมัน คนเนเธอร์แลนด์ ก็ไม่เห็นมีใครเที่ยวตะโกน...ประเทศกูมี

                ถ้าจะตะโกน เขาก็จะตะโกนว่า...

                "ประเทศกูดี"

                ไม่มี "มนุษย์ขยะ" เที่ยวด่าบ้านเมืองตัวเองอย่างบ้านเราหรอก!

                ฉะนั้น เชิญต่อรอง-เจรจากันไปตามสบายเลย จะ ๖ เดือน หรือจะ ๙ เดือน คลอดพร้อมจินนี่ก็ได้

                ไม่ต้องห่วงว่าบ้านเมืองจะขาดคนบริหาร เพราะมีรัฐบาล คสช. โดยนายกฯ ประยุทธ์ บริหารอยู่แล้ว!

                หรือเจรจาไม่ลงตัว ตั้งไม่ได้จริงๆ...........

                นายกฯ ประยุทธ์จะแก้ปัญหาอย่างที่นายเนทันยาฮูแก้ ก็...No Problem!

                เพราะนั่นถือว่า เดินตามตรอก ออกทางประชาธิปไตย ใครก็ว่าไม่ได้

                แต่หมาอาจเห่าบ้าง!

                ตัวซี้-ตัวสั่น อยากเป็นประชาธิปไตยกันนัก เมื่ออยากเป็น ก็อย่าเป็น "ประชาธิปไตยโก้งโค้ง" ดูแต่ตูดตัวเอง      

                ต้องเงยหน้า มองออกไปรอบๆ ดูความเป็นไปชาวบ้านเขาด้วย

                ถ้าว่าเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลของเราเฮงซวย ก็รู้ไว้ซะด้วย

                "เกือบทั้งโลก" เฮงซวยกว่าเรา!

                เอาง่ายๆ ไปดูสหภาพยุโรปซิ เสมอภาคในหลักการ แต่ในหลักปฏิบัติที่เป็นจริง

                เยอรมัน-ฝรั่งเศส "กูต้องก่อน"

                ส่วนสมาชิกอีก ๒๐ กว่าประเทศ ก็แค่นิ้วตีนข้างซ้าย-ข้างขวา มีน้ำยาอะไรจะหือ!        คุยมาทั้งหมด สรุปได้ว่า ประชุมรัฐสภาเลือก "พลเอกประยุทธ์" เป็นนายกฯ แล้ว

                จากนั้น จะใช้เวลาต่อรองกันอีกซักเท่าไหร่ จึงจะตั้ง Animal Farm ได้

                ก็เชิญตามสบาย...

                จะได้ลง "กินเนสส์ เวิลด์ เรคคอร์ด" อีกซักครั้ง!.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"