เบื่อ 'ปชป.' ยึกยักตั้ง 'รัฐบาล' เสียงสะท้อน 'ปชช.' ที่ต้องฟัง


เพิ่มเพื่อน    

         บ่ายวันนี้ (4 มิ.ย.) ต้องจับตาการประชุม ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และการสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) สแตนด์บาย เพื่อตัดสินใจร่วมหรือไม่ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

                ในการจัดตั้งรัฐบาล!!!

                สะท้อนขณะนี้สังคมกำลังรู้สึกรำคาญในความยืดเยื้อไม่จบของ ปชป.

                ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีท่าทีแบบนี้ แต่กลายเป็นบุคลิกของพรรคและภาพจำของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองที่อายุยาวนานที่สุดในประเทศ

                ไม่ชัดเจนและเชื่องช้า!!!

                แม้ ปชป.อ้างเหตุผลให้พรรคพลังประชารัฐเคลียร์ปัญหาภายในก่อนก็ตาม แต่ก็ถูกตั้งคำถามว่า เหตุใดต้องรอ

                ตัดสินใจเหมือนพรรคอื่นๆ ไม่ได้หรืออย่างไร???

                นี่คือหนึ่งในหลายๆ เหตุการณ์ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกเบื่อหน่าย ซึ่งตรงกับผลสำรวจความคิดเห็นของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เรื่อง บทเรียนและบทบาทพรรคประชาธิปัตย์

                พบว่า 5 สาเหตุแรกที่ทำให้พรรค ปชป.แพ้การเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมา อันดับหนึ่ง 32.83% ระบุว่า ประชาชนเบื่อ/ไม่ชอบ วิธีการดำเนินงานทางการเมืองของพรรค ปชป. รองลงมา 18% ระบุว่า พรรคอนาคตใหม่แย่งฐานคะแนนเสียงไป 17.05% ระบุว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ในพรรค ปชป.พูดเก่งอย่างเดียวแต่ปฏิบัติไม่เป็น 15.31% ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐแย่งฐานคะแนนเสียงไป และ 13.4% ระบุว่า ประชาชนเบื่อ/ไม่ชอบ ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรค ปชป.

                ส่วนประเด็นที่มีการพูดกันในหมู่ ส.ส.และอดีต ส.ส.ของพรรค อย่างกรณี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ประกาศไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ จึงทำให้พรรคพ่ายแพ้นั้น

                มีเพียงประชาชนเห็นด้วยแค่ 11.58% และ 2.85% ประชาชนเชื่อว่าพรรค ปชป.ไม่สามารถเอาชนะพรรคเพื่อไทยได้จึงตัดสินใจสนับสนุนพรรคอื่นแทน

                ถือว่าโพลดังกล่าวออกมาถูกช่วง ถูกเวลา เพราะอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อของการตัดสินใจ

                ที่สำคัญสะท้อนให้เห็นว่า การที่ "อภิสิทธิ์" ประกาศจุดยืนไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ใช่เหตุผลแรกๆ ที่ทำให้พรรคล้มเหลวในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

                แต่ความจริงสิ่งที่ทำให้ประชาชนไม่เลือกพรรค เนื่องจากรู้สึกเบื่อหรือไม่ชอบ วิธีการดำเนินงานทางการเมืองของพรรคต่างหาก

                นี่คือโจทย์ที่คณะกรรมการบริหารพรรคและ ส.ส.ต้องใช้ประกอบในการพิจารณาตัดสินใจในวันพรุ่งนี้ (5 มิ.ย.) ต่างหาก

                ขณะเดียวกัน คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของพรรค ต้องหยิบยกมุมมองประชาชนในแง่บทบาทของพรรค ปชป. เพื่อกำหนดทิศทางและอนาคต

                โดยโพลดังกล่าวระบุว่า 31.17% พรรคมีความแตกแยกมากเกินกว่าที่จะตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างรวดเร็ว 21.97% ระบุว่า พรรคเดินเกมทางการเมืองต่อรองเพื่อตำแหน่งรัฐมนตรีที่ต้องการ 17.61% ระบุว่า พรรคแค่ชอบอ้างอุดมการณ์ของพรรค 14.83% ระบุว่า พรรคยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรค และ13.48% ระบุว่า การต่อรองทางการเมืองเป็นเรื่องปกติของทุกพรรคการเมือง

                ทั้งหมดนี้เป็นบทพิสูจน์ว่าผู้บริหารจะเล็งเห็นความสำคัญและใส่ใจกับความคิดเห็นของประชาชน เพื่อปรับบุคลิกภาพของพรรค นำ "ประชาธิปัตย์" สู่ยุคอุมการณ์ทันสมัยตามที่ "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" หัวหน้าพรรค ประกาศไว้หรือไม่.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"