นาทีทองเพื่อสตาร์ทอัพ


เพิ่มเพื่อน    

   

                ปัจจุบันหลายประเทศเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจจะเติบโตขึ้นได้ ต้องอาศัยช่องทางในการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ  ทั้งอุตสาหกรรมใหม่ ธุรกิจแบบใหม่ ตลาดใหม่ การติดต่อสื่อสารและการขนส่งที่สะดวก รวดเร็ว รวมถึงรูปแบบการดำเนินงานที่เข้าใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้าหรือตลาดได้ง่ายที่สุด จนทำให้การแข่งขันเริ่มเข้มข้นขึ้นอย่างมาก และหลายประเทศก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าธุรกิจขนาดใหญ่นั้นไม่จำเป็นต้องสนับสนุนมากแล้ว เนื่องจากพวกนั้นมีการศึกษาและเติบโตไปด้วยตัวเองได้

                แต่สิ่งจำเป็นต้องพัฒนาและใส่เทคโนโลยีเข้าไปเป็นกลุ่มผู้ประกอบการระดับเล็ก หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่มีไอเดีย แต่เข้าถึงเทคโนโลยีได้ยาก ประเทศนั้นๆ จึงมุ่งเน้นไปในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รวมถึงผู้ประกอบการหน้าใหม่ (สตาร์ทอัพ)

                ซึ่งในประเทศไทยเองคงได้ยินคำว่า “สตาร์ทอัพ” กันมาเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งขณะนี้ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างกำลังผลักดันให้ธุรกิจดังกล่าวสามารถสร้างทั้งมูลค่า และสร้างการยอมรับให้เกิดขึ้นในตลาดโลก ทั้งด้วยการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ การพัฒนาโมเดลธุรกิจให้มีความแตกต่างสามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพไทย

                แต่อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีหลายประเทศที่เห็นช่องทางแบบเดียวกัน และมีการให้ความสำคัญกับสตาร์ทอัพไม่แพ้ไทย อย่างประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ต่างก็ให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ทอัพไม่แพ้กัน โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่ทุกวันนี้สามารถพัฒนาสตาร์ทอัพให้ก้าวสู่ระดับยูนิคอร์น (มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) และก้าวสู่ตลาดอินเตอร์ติดตลาดได้หลายราย

                เรื่องดังกล่าวจึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้กับประเทศไทยว่าจะทำอย่างไรให้สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ เพราะปัจจุบันการพัฒนาสตาร์ทอัพเป็นเรื่องที่ควรให้ความสนใจเป็นหลัก  เนื่องจากในทุกๆ ประเทศก็ทำเหมือนกัน จึงเป็นเหมือนช่วงที่ทุกฝั่งต้องไขว่คว้าโอกาสในช่วงนาทีทองไปให้ได้ และหากไม่ทำอะไรเลย ก็คงจะตามแม้กระทั่งเพื่อนบ้านไม่ทัน ทำให้โอกาสในการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศอ่อนด้อยลงด้วย

                และที่ผ่านมาก็ยังดีหน่อยที่ประเทศไทยเห็นความสำคัญในส่วนนี้ หลายๆ หน่วยงานของรัฐบาลเองก็เร่งที่จะออกโครงการช่วยเหลือ หรือแนวทางพัฒนา โดยล่าสุดกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DIPT) โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ดำเนินการจัดโครงการ “Pitch2Success : สานฝันสตาร์ทอัพไทยสู่สากล”

                ซึ่งมุ่งติดอาวุธสำคัญอย่างการมีทักษะที่ดีในการนำเสนอแผนธุรกิจ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการจัดตั้งและขยายธุรกิจได้ หรือเรียกว่าการ “พิชชิ่ง : Pitching” โดยได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “เคล็ดลับการทำสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จ” ที่มีผู้เชี่ยวชาญจากวงการสตาร์ทอัพมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งได้แชร์ข้อคิดดีๆ ไว้

                โดย นายนันทพงษ์ จิระเลิศพงษ์ ผู้อำนวยการ NEA กล่าวว่า ภายใต้นโยบายส่งเสริมสตาร์ทอัพ NEA ไม่เพียงแต่จะสนับสนุนในด้านองค์ความรู้ และการฝึกปฏิบัติการเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อให้กลุ่มดังกล่าวเติบโตได้อย่างเต็มที่ ทั้งด้วยการสนับสนุนเรื่องการระดมทุน การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ การพัฒนานวัตกรรม งานวิจัย และเทคโนโลยี การต่อยอดสู่เวทีต่างๆ ที่สามารถผลักดันให้สตาร์ทอัพก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้น

                และถือว่าเป็นโครงการที่ออกมาในช่วงประเทศต้องการการพัฒนาอย่างแท้จริง และยังถือว่าไม่ล่าช้าไปหากมีเป้าหมายจะคว้าโอกาสช่วงนาทีทอง เพื่อให้ผู้ประกอบการของไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ในตลาดโลก.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"