ไพรินทร์ สั่งแก้ปัญหาออกแบบแทรมภูเก็ต


เพิ่มเพื่อน    

 

7 มิ.ย. 2562 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต(แทรม) ว่าในที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นเรื่องการออกแบบบริเวณที่มีชุมชนหนาแน่นและมีเส้นทางอยู่เส้นเดียวจากสนามบินเข้าสู่ตัวเมือง ในพื้นที่ไม่ต้องการให้มีการยกระดับและขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาประมาณ 3-4 จุดที่ยังเป็นปัญหาอยู่

สำหรับแนวทางการก่อสร้างนั้นเบื้องต้นมีทั้งแบบบนดินและใต้ดินแต่ยังคงช่องทางจราจรบนทางหลวงยังเท่าเดิม ซึ่งอาจจะใช้วิธีวิ่งบนถนนด้วยกันไม่ได้แยกเป็นช่องจราจรของรางรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) จะไปดำเนินการออกแบบให้ครบคลุมในหลายรูปแบบในทุกจุดที่คาดจะเป็นปัญหาก็จะดำเนินการออกแบบมาโดยในทุกที่มีปัญหาจะมีเส้นทางถนนเข้าหมดแล้วจึงต้องให้ทางกรมทางหลวง(ทล.)เข้าไปศึกษา ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจำเป็นจะต้องใช้เวลามากเนื่องจากโครงการอื่นๆที่ได้มีการออกพระราชกฤษฎีการเวนคืน(พ.ร.ฎ.เวนคืน)เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น และนครราชสีมา ก็จะเจอปัญหาเช่นเดียวกันเพราะในหลายส่วนมีการใช้พื้นที่เขตทาง อย่างไรก็ตามคาดว่าจะในสัปดาห์หน้าจะสรุปเรื่องดังกล่าวได้ สำหรับการออกแบบเดิมทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้ออกแบบไว้โดยใช้เกาะกลางถนนจึงจำเป็นต้องให้ ทล.เลือกแบบ

“หากก่อสร้างเป็นแบบยกระดับได้ก็จบ จะเป็นบนถนนและใต้ดิน ในการประชุมในครั้งนี้มีข้อพิจารณาครบหมดแล้วอาจต้องรอ ทล. เลือกเส้นทางที่มีทั้งบนดินใต้ดิน ใช้ระบบไฟฟ้า หรือวิธีการออกแบบสถานีเพื่อให้ช่องจราจรของทางหลวงยังครบอยู่เหมือนเดิม ทาง รฟม.จะเป้น คนออกแบบทั้งหมดและให้ ทล.เป็นคนเลือกก่อนหน้านี้ทาง ทล.ได้มีการยื่นคัดค้านเรื่องไปที่ทางสิ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แต่ไม่มีความคืบหน้าและกลายเป็นว่าเรื่อง EIA ใกล้หมดอายุแล้ว กลายเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคัดค้านกันเองจึงต้องมีการหารือร่วมกันถ้าในการประชุมครั้งหน้าจบเรื่องก็ไม่มีอะไรแล้ว และจะเอาเรื่องนี้ไปใช้ที่ขอนแก่น เชียงใหม่ ฯและพื้นที่อื่น พ.ร.ฎ.ออกไปแล้วต่อไป ”นายไพรินทร์ กล่าว

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่าสำหรับปัญหาการใช้พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาภูมิภาคนั้นเป็นสิ่งที่ต้องพูดคุยกันก่อนดำเนินโครงการในทุกจังหวัดไม่ใช่เฉพาะแค่ภูเก็ต แต่ยังรวมถึง จ.นครราชสีมา จ.ขอนแก่นและจ.เชียงใหม่อีกด้วย หากใช้พื้นที่ก่อสร้างในเขตทางของกรมทางหลวงจะต้องวิเคราะห์ผลกระทบจราจรที่จะเกิดขึ้นรวมถึงแบบก่อสร้างไม่ให้กระทบต่อความปลอดภัยเพราะถนนแต่ละเส้นมีขอบทางที่ไม่เท่ากัน ส่งผลให้ต้องออกแบบโครงการแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามหากออกแบบโครงการให้เป็นแบบทางยกระดับได้ก็จะเป็นการดี แม้ค่าก่อสร้างจะสูงไปบ้าง เพื่อลดปัญหาในการใช้พื้นที่ และบางช่วงสามารถใช้พื้นที่เกาะกลางของกรมทางหลวงได้ ปัญหาของรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ตอยู่ที่การก่อสร้างรางระดับดินตลอดเส้นทางตามแผนเดิม ซึ่งพบว่ามีบางจุดนั้นเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาจึงได้มีการหารือร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคม ระบุว่า สำหรับหลักการออกแบบนั้น จะใช้แนวเส้นทางบนถนนทางหลวง (ทล.) หมายเลข 402 สายโคกกลอย–เมืองภูเก็ต หรือ ถนนเทพกระษัตรี ซึ่งจะใช้พื้นที่เกาะกลางถนน โดยจะก่อสร้างเป็นทางระดับพื้นดิน ทางยกระดับ และทางลอด และจะคงจำนวนช่องจราจร 6 ช่อง เท่ากับช่องจราจรก่อนการก่อสร้างแทรม ขณะที่ การแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณทางแยกเข้าสนามบินระหว่าง ทล.หมายเลข 402 ตัดกับ ทล. หมายเลข 4026 (แยกเข้าสนามบินภูเก็ต) หลัง ทล. มีข้อคิดเห็น เรื่องความเสี่ยงด้านความปลอดภัย รวมถึงมีอุโมงค์รถยนต์ด้วย จึงเสนอให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทาง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"